เปรียบเทียบค่าเเรงขั้นต่ำ ประเทศยอดฮิตที่คนไทยมักสนใจและนำมาเปรียบเทียบ
ประเทศยอดฮิตที่คนไทยมักสนใจและนำมาเปรียบเทียบ เช่น
อเมริกา
ดินแดนประเทศมหาอำนาจที่ใครๆก็ต้องอยากอาศัยไปอยู่และทำงาน โดยค่าแรงขั้นต่ำนั้นอยู่ที่ 240.88 บาท/ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับแต่ละรัฐ ทำงานได้ไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง ขณะที่เรื่องภาษีบุคคลธรรมดา ขึ้นอยู่กับรัฐ มีเก็บตั้งแต่ 3-12% และแยกออกเป็นสองส่วน ทั้งรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น แต่ในบางรัฐอาจไม่มีการจัดเก็บ
ออสเตรเลีย
ประเทศที่คนไทยหลายคนมักไปเรียนต่อ หรือไป Work&Travel ซึ่งประเทศออสเตรเลียมีค่าแรงขั้นต่ำมีการปรับขึ้นมาสูงถึง 493.25 บาท/ชั่วโมง และสามารถทำงานได้ 38-40 ชม./สัปดาห์
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บในประเทศออสเตรเลียเป็นภาษีในรูปแบบของภาษีก้าวหน้า 0-45%เกณฑ์การเสียภาษีในปัจจุบันคือหากมีรายได้ 18,200$ หรือประมาณ 623,213 บาทจะต้องเสียภาษีทุกคนและหากไม่เกินจากนี้จะไม่ต้องเสียภาษี
ซึ่งเชื่อว่าจากรายได้ขั้นต่ำ พลเมืองออสเตรเลียทุกคนได้เสียภาษีแน่นอน ซึ่งส่วนนั้นจะนำไปใช้พัฒนาประเทศและอำนวยความสะดวกด้วยสวัสดิการต่างๆ
ญี่ปุ่น
ประเทศท่องเที่ยวที่ใครหลายคนชื่นชอบไป แต่หากจะทำงานที่ญี่ปุ่น คุณจะได้ค่าแรงงานขั้นต่ำอยู่ที่ 302.40 บาท/ชั่วโมง และทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการเก็บภาษีที่สูงมาก ถึง 55.95% แบ่งเป็นภาษี ในอัตราก้าวหน้า 5-45% และอาจต้องโดนกับภาษีท้องถิ่นอีก 10 %
ไต้หวัน
ประเทศไต้หวันที่ซึ่งเป็นเกาะอากาศดี หลายๆคนอยากไปอยู่ ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นมาสูงจากปีที่แล้ว ขณะนี้ค่าแรงขั้นต่ำคือ 224.94 บาท/ชั่วโมง โดยทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง ส่วนการเก็บภาษี อยู่ที่ 5-40% เป็นอัตราก้าวหน้า ขณะที่ รายได้ตั้งแต่ 20,359.48 บาท/เดือน ขึ้นนั้น ไปเสีย 5.1% เป็นค่าประกันสังคม
สวีเดน
ประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องอากาศหนาวเย็นในแถบสแกนดิเนเวีย แต่ก็ขึ้นชื่อเรื่องการเก็บภาษีพลเมืองเช่นกัน เพราะภาษีนั้นจะถูกนำกลับคืนในการอำนวยความสะดวกในชีวิตของชาวสวีดิช ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 418.79 บาท/ชั่วโมง ตามรายงานอ้างว่า สวีเดน เก็บภาษีบุคคลธรรมดา ในอัตราสูงถึง 57.19% อย่างไรก็ตาม ถ้าหากรายได้ไม่เกิน 1.9 ล้านบาท เสียแต่ภาษีท้องถิ่น 32% หากเกินต้องเสียภาษีรัฐบาลกลางเพิ่ม 20% ส่วนอัตราแรงงานขั้นต่ำต่อชั่วโมง อยู่ที่ 461 บาท ทำงาน 8 ชั่วโมง เท่าๆกับค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นๆ
เยอรมนี
จากสถิติปี 2563 กระทรวงต่างประเทศ ได้ระบุไว้ว่าประเทศเยอรมนีปัจจุบันมีคนไทยอยู่ถึง 59,130 คน
แม้เยอรมนีจะมีกฎที่เข้มตามรูปแบบเยอรมนี ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 374.13 บาท/ชั่วโมง ขณะที่อัตราการเก็บภาษี มีตั้งแต่ 0-45 % แต่ถ้าหากรายได้ไม่เกิน 3.6 แสนบาทต่อปี ไม่ต้องเสียภาษีเลย
สหราชอาณาจักร หรือประเทศอังกฤษ
นับว่าเป็นประเทศหลักของคนไทย หากต้องการไปเรียนต่อ ในประเทศต่างๆในสหราชอาณาจักรเช่น อังกฤษ,สกอตแลนด์,เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ 424.90 บาท/ชั่วโมง สามารถทำงานได้ 8 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่ประเด็นการเก็บภาษี เป็นไปในแบบ อัตราก้าวหน้า 0-45% แต่หากรายได้ไม่เกิน 544,522.94 บาทต่อปี ไม่ต้องเสียภาษี โดยภาษีนั้นทั้งหมดจะรีเทิร์นโดยถูกนำไปใช้ในระบบสาธารณสุขต่างๆ
เกาหลีใต้
ประเทศที่มีดราม่ากันสำหรับคนที่ไปทำงานที่เกาหลีใต้ เรียกสั้นๆว่า “ผีน้อย” แต่จริงๆแล้วส่วนใหญ่ที่ได้ไปทำงานมักเป็นงานที่คนเกาหลีเองไม่อยากทำ เช่น แรงงาน ทำกิมจิ หมักโซจูต่างๆ ค่าแรงขั้นต่ำจริงแล้วอยู่ที่ 256.78 บาท/ชั่วโมง จัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า 6-45% อย่างไรก็ตาม ที่เกาหลีใต้ มีภาษีท้องถิ่น หากรายได้ไม่เกินไม่ต้องเสีย แต่หากต้องเสียอัตราคือ 10% ของภาษีนิติบุคคลธรรมดาที่ต้องเสีย
นอรเวย์
ประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่รายได้สูงและมีคนไทยอยู่เยอะพอสมควร ซึ่งค่าแรงขั้นต่ำปัจจุบันอยู่ที่ 572.90 บาท/ชั่วโมง โดยปกติอยู่ที่ 37.5 ชั่วโมง/สัปดาห์ ขณะที่การจัดเก็บภาษี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 22 เปอร์เซนต์ และมีการเก็บ 1.9-16.2% อัตราก้าวหน้าตามแต่ละบุคคลหารายได้ด้วย
อิสราเอล
ประเทศที่คนไทยนิยมไปทำงานกันเป็นจำนวนมาก เพราะสำหรับที่อิสราเอลนั้น ประเทศไทยมี โควตาจัดส่งแรงงานไปยังอิสราเอล ปีละ 5,000 คน โดยแรงงานที่เดินทางไปขายแรงที่อิสราเอลนั้น งานจะได้รับเงินเดือนขั้นต่ำก่อนหักภาษี เดือนละ 5,300 เชคเกลอิสราเอล หรือประมาณ 48,073 บาทต่อเดือน ส่วนการจัดเก็บภาษี ถ้าหากใครที่มีรายได้ ไม่ถึง 6,330₪ (เชคเกลอิสราเอล) ต่อเดือน หรือราวๆ 57, 000 บาท ไม่ต้องเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดาเลย แต่จริงแล้วรายได้ขั้นต่ำนั้นอยู่ที่ 337.57 บาท/ชั่วโมง
แต่โดยปกติแล้ว มีการเก็บภาษีในรูปแบบอื่นๆ และอยู่ในอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ 0-50% ขณะที่ภาษีนิติบุคคล โดนเก็บ 23 %
ข้อมูลชุดนี้ยังเป็นเพียงข้อมูลมาตรฐาน ที่อาจไม่ครบถ้วนในทุกประเภทของค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐานที่ต้องจ่ายให้แก่รัฐ เช่น ในบางประเทศอาจมีค่าภาษีวิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น
สรุปการขยับขึ้นของรายได้ในปีที่แล้วและปีนี้ในแต่ละประเทศ
นอร์เวย์ รายได้คงที่ ยังไม่มีการปรับขึ้น อยู่ที่ 572.90 บาท/ชั่วโมง
ออสเตรเลีย รายได้ขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 478 เป็น 493.25 บาท/ชั่วโมง
สหราชอาณาจักร รายได้ขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 385 เป็น 424.90 บาท/ชั่วโมง
สวีเดน รายได้ขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 461 เป็น 418.79 บาท/ชั่วโมง
เยอรมนี รายได้ขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 356 เป็น 374.13 บาท/ชั่วโมง
อิสราเอล รายได้ขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 309.43 เป็น 337.57 บาท/ชั่วโมง
ญี่ปุ่น รายได้ขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 257 เป็น 302.40 บาท/ชั่วโมง
อเมริกา รายได้ขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 217.47 เป็น 240.88 บาท/ชั่วโมง
เกาหลีใต้ รายได้ขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 242 เป็น 256.78 บาท/ชั่วโมง
ไต้หวัน รายได้ขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 178 เป็น 224.94 บาท/ชั่วโมง
ประเทศไทยรายได้ขั้นต่ำอยู่ที่ 331 ถึง 336 บาท/วัน หรือ 41.37 บาท/ชั่วโมง
ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยอยู่ที่ 331 ถึง 336 บาท/วัน หรือ 41.37 บาท/ชั่วโมง
และหากมีรายได้ไม่เกิน 120,000 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน จะไม่ต้องเสียภาษี