หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. จัดเต็มคาราเบลโชว์ศักยภาพความเป็นผู้นำโครงการวิจัยระดับนานาชาติ

โพสท์โดย pimdawan2017

 

 

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เดินหน้าจัดเต็มร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (NICT) ประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งสถาบันชั้นนำของโลกกว่า 9 สถาบัน สร้างผลงานวิจัยด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม ร่วมพัฒนาโครงการวิจัยชั้นนำระดับนานาชาติเกี่ยวกับผลกระทบปรากฏการณ์ “พลาสมาบับเบิล” ที่ส่งผลต่อระบบการสื่อสารและระบบการนำทาง

สจล.จับมือกับ NICT พัฒนาโครงการวิจัยชั้นนำระดับนานาชาติเพิ่มศักยภาพระบบการสื่อสารและการนำทางด้วยดาวเทียม มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาศึกษาสภาพอวกาศในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของดวงอาทิตย์ และวิจัยพัฒนาการตรวจจับ “พลาสมาบับเบิล” โดยเริ่มต้นติดตั้งระบบเรดาร์ที่วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพรเพื่อการตรวจจับพลาสมาบับเบิล และเปิดใช้งานตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 2020 เนื่องจากพื้นที่จังหวัดชุมพรอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีการคาดการณ์ทางทฤษฎีว่าพลาสมาบับเบิลจะก่อตัวขึ้น และเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุดเพื่อตรวจจับพลาสมาบับเบิลได้ทันที

          รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดีของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า “สถาบันฯ มีนโยบายเพื่อเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมระดับโลก โดยเฉพาะด้านอวกาศ ซึ่งมีการตั้งหน่วยงานต่างๆ ในสถาบัน เพื่อสนับสนุนกิจการอวกาศโลก โดยภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานนั้น ที่สร้างนักวิจัยชั้นแนวหน้าระดับโลกจำนวนมาก รวมถึงการสร้างเครือข่ายและงานวิจัยระดับโลก เพื่อมุ่งสู่ความเป็น The World Master of Innovation” ตามนโยบายของสถาบันฯ”

รองศาสตราจารย์ดร. สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า “ความร่วมมือนี้มาจากทีมนักวิจัยระดับแนวหน้าของวิศวลาดกระบัง ซึ่งเป็นแกนหลักของเครือข่ายในการใช้ข้อมูลระหว่างประเทศอาเซียนและเอเชียมามากกว่า 6 ปี รวมถึงได้รับทุนวิจัยระดับแนวหน้าของประเทศและของนานาชาติร่วมกับทีมวิจัยจากเครือข่ายทั่วโลกโดยได้รับทุนและตีพิมพ์งานวิจัยในวารสารชั้นนำระดับโลกทางด้านเทคโนโลยีอวกาศมาอย่างยาวนานอีกด้วย”

ศาสตราจารย์ ดร.พรชัย ทรัพย์นิธิ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า “กว่า 2 ปีที่โครงการวิจัยชั้นนำระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบปรากฏการณ์พลาสมาบับเบิลต่อระบบการสื่อสาร ระบบการนำทางที่มาจากปรากฎการณ์ชั้นบรรยากาศที่ผิดปกติ ต้นเหตุปัญหาต่อระบบการสื่อสารและการนำทาง การให้ข้อมูล พัฒนาระบบตรวจจับ ระบบทำลายการเคลื่อนตัวของบับเบิล การคาดคะเนในอนาคต และการช่วยแก้ปัญหาล่วงหน้า เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาแจ้งเตือนสภาพสถานการณ์และสถานภาพ เนื่องจากประเทศไทศเป็นหนึ่งในไม่กี่จุดที่เกิดปรากฎการณ์แบบนี้ เราจึงเริ่มทำการวิจัย ต่อยอดองค์ความรู้จนเข้าใจมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถพัฒนาวิจัยจนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ให้ทั่วโลกเห็นและยอมรับ อาทิ ความร่วมมือกับอุตสาหกรรมการบินเพื่อศึกษาผลกระทบการใช้งานจริงเมื่อเครื่องบินลงจอด หรือการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการความแม่นยำของตำแหน่ง เช่น รถอัจฉริยะ เกษตรอัจฉริยะ ซึ่งหากมี Bubble จะทำให้คลาดเคลื่อน เกิดการขัดข้องเสียหายได้

จากความสำเร็จของโครงการนี้ ประเทศไทยจึงถือเป็นแกนหลักในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องในหลายๆ ด้าน อาทิ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี นอกจากจะสร้างนวัตกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนตัวของบับเบิลแล้ว ยังมี Software สำหรับการวิเคราะห์ ซึ่ง Software วิเคราะห์นี้ ได้มีมากกว่า 10 ประเทศขอนำไปใช้ เนื่องจากเป็น Software ที่ใช้งานง่าย ปรับแต่งเพื่อการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น มากกว่า Software ที่อื่นๆ ในโลกที่มีอยู่ ด้านผู้นำ ประเทศไทยยังคงเป็นหลักในด้านการพัฒนาวิจัยโครงการระดับนานาชาติเพื่อรับมือกับพลาสมาบับเบิล พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ โดยเฉพาะ ด้านบุคคลากร เพื่อให้การพัฒนาการวิจัยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เราจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ๆ ให้คนรุ่นใหม่สานต่อความเป็นผู้นำการทำงานวิจัยระดับโลก ปัจจุบันเราสร้างทีมร่วมกับ 9 สถาบันจาก 4 ประเทศ ระดับอาเซียน อาทิ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศกัมพูชา ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม ด้านอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ การบิน ยานยนตร์อัจฉริยะ เกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น หน่วยงานที่ต้องการความแม่นยำสูง ลดผลเสียหายจากพลาสมาบับเบิล ด้านการท่องเที่ยวยุคใหม่  โดยต้องการให้สถานีเรด้าที่ สจล. วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เป็นศูนย์การท่องเที่ยวยุคใหม่ในเชิงความรู้ ให้คนในชุมชนและเยาวชนรุ่นใหม่ ได้มีความเข้าใจ ภูมิใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่าเป็นเอกลักษณ์ซึ่งที่แห่งอื่นๆ ไม่มี

ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ความเป็นผู้นำโดยได้มีส่วนร่วมกับโครงการระดับนานาชาติในหลายๆ ด้าน

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ยังคงเดินหน้ามุ่งมั่นพัฒนา สร้างงานวิจัยที่เกิดประโยชน์ มีประสิทธิภาพต่อเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม วีถีความเป็นอยู่ ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมระดับชาติ ระดับนานาชาติและในระดับโลก

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : 

ศาสตราจารย์ ดร.พรชัย ทรัพย์นิธิ ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.

อีเมล์ telecom@kmitl.ac.th 

 

ประชาสัมพันธ์ : PIMDAWAN

ลงวันที่ 17-08-66

เนื้อหาโดย: pimdawan2017
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
pimdawan2017's profile


โพสท์โดย: pimdawan2017
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สวนสัตว์จีน จับหมามาย้อมสี ก่อนขึ้นป้ายหมาแพนด้าชายวัย 61 วิ่งชนรถไฟ รอดตายหวุดหวิดเพราะเขาวิ่งได้ช้าเกินไปรวมความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการอาบน้ำ บางอย่างเพื่อนๆอาจจะเข้าใจผิดอยู่ก็ได้นะ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ฮือฮาทั้งโซเชียล พระเอกเกาหลีพูดชื่อเต็มกรุงเทพฯ ชัดมาก "Frankly Speaking พูดตรงๆ คงต้องรัก""แสวง" เลขาฯ กกต. ไม่ห้ามสื่อเสนอข่าว-จัดเวทีฯ ขู่จับตาดูผู้สมัคร ชี้ "ธนาธร" ทำได้ชวนลง สว."แจ็คแฟนฉัน" แจกพัดลมให้พี่น้องชาวไทย300ตัว"ลุงดอนใจดี" ย้ำอาหารที่ร้านไม่แพง และยังคงขายราคาเดิมหนุ่มสงสัย? ทำไมฝรั่งถึงไม่นิยมใส่ทองคำ และของมีค่าเวลาไปเที่ยว!!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เงินดิจิตอล 10,000 บาท ช้อปปิ้งอะไรคุ้ม? เตรียมตัวให้พร้อมก่อนใช้Google rewardsวิธีต้มไข่แบบประหยัดไฟและน้ำ"ฉบับญี่ปุ่น"สุดอัศจรรย์! ถ้ำใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ใกล้ประเทศไทย
ตั้งกระทู้ใหม่