มารู้จักกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายในขณะตั้งครรภ์กันเถอะ
สังเกตไหมว่าเวลาตั้งครรภ์ทำไมหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ถึงได้มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด โมโหง่าย อารมณ์ขึ้นๆลงๆ สาเหตุก็เพราะว่าเวลาตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ทั้งหลายจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายหลายระบบมากมายเพื่อที่จะให้ร่างกายมีความพร้อม มีพลังงานเพียงพอเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และเพื่อการปรับตัวของมารดาระหว่างคลอด โดยการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายในช่วงครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ และจากการเปลี่ยนแปลงขนาดมดลูกในช่วงระยะครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จึงต้องอดทนต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น ทำให้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจร่วมด้วย
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของระบบต่างๆในหญิงตั้งครรภ์
1. หัวใจและระบบไหลเวียนเลือด
หัวใจ
การขยายตัวของมดลูกจะเบียดดันกระบังลม ทำให้ หัวใจถูกดันขึ้นและเอียงไปทางซ้ายภาพรังสีทรวงอกจะพบหัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้นอัตราการเต้นจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10 ถึง 20 ครั้งต่อนาที และกล้ามเนื้อหัวใจหนาเพื่อปรับสภาพปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นและสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจ
การไหลเวียนเลือด
ภาวะเมตาบอลิซึมเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ทำให้การสูบฉีดเลือดที่ออกจากหัวใจเพิ่มขึ้น โดยจะเพิ่มสูงสุดในขณะเบ่งคลอดและทันทีหลังคลอดแล้วจึงกลับมาปกติสองสัปดาห์หลังคลอด
ปริมาณเลือดในร่างกายหญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ถึง 30 โดยปริมาณน้ำเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 24 ถึง 48 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์และเพิ่มสูงถึงร้อยละ 35 ถึง 50 ในขณะที่ปริมาณเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยกว่าทำให้เกิดภาวะซีดได้ แล้วจึงกลับสู่ปกติประมาณหนึ่งถึงสองสัปดาห์หลังคลอด
ค่าความดันเลือดโดยรวมจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเนื่องจากผลของฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ เช่น progesterone และprostacyclin ที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดร่วมกับทำให้แรงต้านทานในหลอดเลือดส่วนปลายและหลอดเลือดปอดลดลง
เมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มดลูกจะเริ่มโตสูงขึ้นมาในช่องท้อง โดยขณะในท่านอนหงายขนาดมดลูกโตขึ้นจึงอาจเกิดการกดทับหลอดเลือดแดง และ/หรือ หลอดเลือดดำใหญ่ที่นำเลือกจากส่วนล่างของลำตัวกลับเข้าสู่หัวใจ ทำให้การสูบซีดเลือดออกจากหัวใจลดลง เกิดภาวะความดันเลือดต่ำ หญิงตั้งครรภ์อาจจะมีอาการเวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็วเหงื่อแตกและเป็นลมร่วมด้วยได้ ซึ่งเกิดได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20 ถึง 24 สัปดาห์ขึ้นกับขนาดของมดลูก ดังนั้นเวลานอนหงายควรเบี่ยงมดลูกไปทางซ้ายเพื่อลดแรงกดทับต่อหลอดเลือดโดยการหนุนสะโพกด้านขวาหรือนอนตะแคงขวา
2.ระบบหายใจ
หญิงตั้งครรภ์มีความต้องการออกซิเจนที่มากขึ้นตามอายุครรภ์จากขนาดมดลูกและทารกที่โตขึ้นอีกและเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเสียเลือดขนาดคลอด ทำให้ปริมาณการหายใจและอัตราการหายใจเพิ่มขึ้น
แต่ด้วยผลจากฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีเยื่อเบื่ทางเดินหายใจบวมจากการขยายตัวของหลอดเลือดฝอย จึงทำให้ทางเดินหายใจแคบลง ลักษณะคล้ายมีการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนบนผู้ป่วยจะมีอาการแน่นจมูก น้ำมูกไหล เสียงที่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์ อีกทั้งขนาดมดลูกที่มีการขยายตัวดันกระบังลมให้สูงขึ้นทำให้อากาศสำรองที่อยู่ในปอดลดลงหญิงตั้งครรภ์จึงมีความเสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจน โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ที่อ้วนสูบบุหรี่หรือมีประวัติโรคปอด เป็นต้น
3.ไต
หลอดเลือดในไตขยายตัวทำให้ปริมาณเลือดไปเลี้ยงไตเพิ่มขึ้น ไตขยายขนาดขึ้นและเพิ่มอัตราการกรองถึงร้อยละ50 และอาจตรวจพบโปรตีน และน้ำตาลในปัสสาวะได้เนื่องจากหลอดเลือดฝอยดูดกลับสารต่างๆได้ไม่ทัน อีกทั้งระดับฮอร์โมน progesterone และ estrogen เพิ่มขึ้นจึงเพิ่มการดูดกลับของน้ำและโซเดียมเกิดมีโซเดียมข้างและเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกายจึงอาจทำให้บวมในช่วงใกล้คลอด นอกจากนี้จะพบการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะบ่อยเนื่องจากแรงกดทับของมดลูกที่ขยายโตขึ้น
4. ระบบทางเดินอาหาร
มดลูกที่ขยายขนาดขึ้นจะเบียดแน่นกระเพาะทำให้แรงดันในกระเพาะอาหารสูงขึ้นและผลจากฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหารทำงานลดลงและจากผลของมดลูกที่โตดันกระเพาะอาหารขึ้นด้านบนและไปด้านหน้าทำให้เกิดกดไหลย้อยได้ จึงมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่หรือแสบยอดอกได้
5.ระบบอวัยวะสืบพันธ์
อวัยวะสืบพันธ์มีเส้นเลือดมาเลี้ยงเพิ่มขึ้นทำให้บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกบวมมีเส้นเลือดขอดได้แต่สามารถหายได้เองหลังคอดช่องคลอด
ช่องคลอด เยื่อเบื่ผิวมีสีคล้ำขึ้น นุ่มมีสารคัดหลั่งหรือตกขาวใส่เพิ่มขึ้น
ปากมดลูกมีสีคล้ำ นุ่มขึ้นมีมูกปากมดลูกเยอะ
มดลูก ขยายใหญ่ขึ้นเส้นเลือดไปเลี้ยงเพิ่มขึ้นเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกจะขยายใหญ่ขึ้นและยืดยาวออก
ท่อนำไข่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นหนังไข่จะไม่ตกไข่ตลอดการตั้งครรภ์
6. กระดูกและกล้ามเนื้อ
กระดูกไขสันหลังส่วนบั้นเอวโค้งเว้ามากขึ้นเพื่อรักษาสมดุลย์ที่เปลี่ยนแปลงจากมดลูกที่โตขึ้นผลจากฮอร์โมนrelaxin จากรกทำให้เพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อประสาทและข้อต่อต่างๆโดยเฉพาะบริเวณเชิงกรานเพื่อรองรับการขยายตัวขณะเบ่งคลอด
7.ผิวหนัง
ผิวหนังจะทำขึ้นเป็นผลจากการกระตุ้นของฮอร์โมนทำให้มีการสร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้น พบบ่อยบริเวณรอบสะดืออวัยวะเพศและข้อพับต่างๆ ถ้าสะสมบริเวณใบหน้าเป็นฝ้าสีน้ำตาลดูจะเห็นชัดขึ้นเมื่อถูกแดด
ผิวหนังลายพบบ่อยมากกว่าครึ่งหนึ่งของสตรีตั้งครรภ์มักเกิดบริเวณท้องเต้านมก้นและต้นขาลักษณะเป็นแนวเส้นสีแดงและจะเปลี่ยนเป็นสีเงินจังจางตอนหลังคลอดเป็นลักษณะที่เรียกว่าท้องลาย
ลักษณะอื่นๆ เช่น ผิวที่นูนขึ้นมาคล้ายใยแมงมุม สีแดง มักเกิดบ่อยที่ใบหน้า แขน ขาซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงและจะหายได้เองหลังคลอด นอกจากนี้การขยายของเส้นเลือดดำบริเวณขาร่วมกับเส้นเลือดดำใหญ่ที่นำเลือกจากส่วนล่างของลำตัวกลับเข้าสู่หัวใจถูกกดทับทำให้เกิดเส้นเลือดขอด และริดสีดวงทวารได้ง่าย
สิว จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีต่อมเหงื่อและต่อมไขมันบริเวณหน้าเพิ่มขึ้น
การเปลี่ยนแปลงที่เต้านม
เต้านมขยายขนาดโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 8 สัปดาห์แรกอาจโตขึ้นถึงร้อยละ 25 ถึง 50
หัวนมและลานนมโตขึ้นสีคล้ำขึ้น และผิวของลานนมจะมีตุ่มนูนเป็นทางเปิดของท่อไขมันทำหน้าที่สร้างไขมันมาเคลือบหัวนมและลานนมไม่ให้แห้งและแตกง่าย ซึ่งจะเห็นเป็นตุ่มเล็กๆบริเวณลานนมอาจรู้สึกตึงหรือเจ็บในช่วงตั้งครรภ์บางรายมีน้ำนมไหลเพราะในช่วงนี้ฮอร์โมน estrogen จะกระตุ้นท่อน้ำนมให้เจริญมากขึ้น ในขนาดที่ฮอร์โมนprogesterone ไปกระตุ้นต่อมน้ำนมให้โตขึ้น
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาในขณะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์เป็นผลจากระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นร่วมกับขนาดมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นโดยการเปลี่ยนแปลงมีผลต่อการทำงานของระบบต่างๆทั่วร่างกาย ดังนั้นถ้าเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะสามารถทำให้ดูแลหญิงตั้งครรภ์ให้มีคุณภาพและเฝ้าระวังป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
อ้างอิงจาก: ตำราวิสัญญีวิทยาคลินิก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
: ตำราวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
: ตำราวิสัญญีพื้นฐานและหน่วยงานปฏิบัติ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล