หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ปล่อยให้ลูกติดมือถือ ทำให้เสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง

โพสท์โดย jameji

อุปกรณ์อย่างมือถือได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของใครหลายๆ คน เช่นเดียวกับการเลี้ยงลูกในยุคนี้ เป็นเรื่องปกติมากๆ ที่เราจะเห็นเด็กๆ เล่นมือถือในขณะทำกิจกรรมต่างๆ ไปด้วย เช่น กินข้าวก็ต้องเล่นมือถือ นอนก็ยังต้องดูมือถืออีก

พ่อแม่บางคนอาจจะคิดว่า การให้ลูกได้เล่น ได้จับ จะทำให้เขาพูดตาม และช่วยให้เขาเก่งขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้วหากใช้อย่างถูกต้องก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ถ้าเป็นเด็กที่เล็กอยู่ล่ะ คุณพ่อคุณแม่คิดว่าจะมีผลเสียอะไรกับลูกได้บ้าง

 

การที่เด็กๆ ติดมือถือหรือใช้เวลาอยู่หน้าจอทั้งวันนั้น มันส่งผลร้ายกว่าที่คุณพ่อคุณแม่คิดไว้มากเลยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของร่างกายหรือจิตใจ  ทาง Parents One จึงแบ่งความเสี่ยงของโรคที่เด็กต้องเจอเป็นดังนี้

โรคสมาธิสั้น

ในเด็กเล็กโดยเฉพาะช่วงก่อนเรียน เป็นช่วงที่เขามีภาวะสมาธิสั้นติตตัวกันอยู่แล้ว เช่น การอยู่ไม่นิ่ง หรือไม่สามารถอดทนกับอะไรนานๆ ได้ แต่สิ่งที่จะทำให้สมาธิของเด็กนั้นดีขึ้นหรือแย่ลงนั้น ก็อยู่ที่สิ่งรอบตัวและปัจจัยหลายอย่าง

อย่างการเล่นมือถือ ทั้งแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน โทรทัศน์ ในช่วงก่อน 2 ขวบ ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะเด็กๆ จะจดจ่ออยู่กับการเคลื่อนไหวบนจอภาพตลอดเวลา ทำให้เกิดสมาธิสั้นได้นั่นเอง ผลกระทบที่ตามมานั้นก็คือ เวลาเราจะสอนหรือเสริมพัฒนาการต่างๆ ให้เขา เด็กๆ ก็จะให้ความสนใจน้อยลง และความจำลดลงได้อีกด้วยค่ะ

สังเกตอาการคือ

วิธีการแก้ไข คือ

ซึ่งข้อนี้พ่อแม่เองก็ให้ความร่วมมือกันกับลูก ไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยการใช้การสื่อสารที่สั้น กระชับ ตรงไปตรงมา ทำตารางเวลาให้ลูกที่ชัดเจน ปรับบรรยากาศการทำการบ้านของลูกให้สงบ หากิจกรรมให้ทำที่ปลดปล่อยพลังได้เยอะๆ จำกัดเวลาในการใช้มือถือต่างๆ ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง ที่สำคัญเลยก็อย่าลืมชื่นชมลูก และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกด้วยนะคะ

ซึ่งก็มียาหลากหลายชนิด ซึ่งทุกชนิดก็ต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ที่พิจารณาในการสั่งใช้ยาในแต่ละครั้ง และติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เด็กๆ แต่ละคนก็มีอาการและการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและอาการของเด็กด้วยนั่นเอง แต่หากเด็กมีอาการสมาธิสั้นแบบไม่มาก ไม่ได้รบกวนการเรียนหรือชีวิตประจำวันมาก ก็อาจจะเป็นการให้เขาได้ลองปรับพฤติกรรมเบื้องต้นเสียมากกว่าค่ะ

 

สายตาสั้นเทียม

เนื่องจากขณะที่เด็กๆ เล่นมือถือนั้น เขาต้องจ้องมองแบบใกล้ๆ ทำให้เกิดทั้งการเพ่ง รูม่านตาหดเล็กลง อีกทั้งแสงในมือถือที่เป็นแสงสีฟ้าที่มีความยาวคลื่นที่สูงกว่าแสงแดดทั่วไป พอเด็กๆ ได้รับแสงดังกล่าวก็อาจจะส่งผลในระยะยาวได้ ซึ่งมันจะทำให้เกิดจอประสาทตาเสื่อมเร็วกว่าที่ควรนั่นเองค่ะ

ซึ่งจะบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าการให้ลูกเล่นมือถือตั้งแต่เด็กๆ จะทำให้เขามีลักษณะการใช้สายตาในการเพ่งมองใกล้มากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์อีกนะคะ ทำให้เด็กๆ เกิดภาวะที่เรียกว่า “ตาเพ่งค้าง” ซึ่งจะทำให้เขามีอาการปวดหัว ตาพร่าได้ หรือที่เรียกว่า “สายตาสั้นเทียม” นั่นเอง และสายตาสั้นเทียมของเด็กบางคนนั้น ก็เกิดขึ้นไม่กี่นาทีก็หายค่ะ พ่อแม่บางคนอาจจะเข้าใจผิดว่าลูกสายตาสั้น และพาไปตัดแว่น สุดท้ายเด็กๆ ก็อาจจะปวดสายตาและส่งผลเสียต่อตาของเขาในที่สุดค่ะ

สังเกตอาการ คือ

วิธีการแก้ไข คือ

ทั้งการอ่านหนังสือ ทำการบ้าน รวมไปถึงการใช้สื่อหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ห้ามใช้แสงในที่มืด เพราะจะต้องใช้สายตามากในการเพ่งนั่นเอง นอกจากนี้เรื่องแสงหน้าจอก็สำคัญนะคะ ไม่ควรใช้แสงที่จ้าเกินไป

คุณพ่อคุณแม่อาจจะมีความสงสัยว่า 20 เนี่ยคืออะไร เพื่อลดการเพ่งสายตานั้นหมายความว่า ให้ใช้งานเพ่ง 20 นาที จากนั้นมองไกล 20 ฟุต นาน 20 วินาที ซึ่งมันจะช่วยให้กล้ามเนื้อในดวงตาผ่อนคลายได้นั่นเองค่ะ

หากอยากให้ลูกได้ใช้มือถือ คุณพ่อคุณแม่ควรกำหนดเวลาในการเล่นอย่างเหมาะสมนะคะ เพื่อให้เขาใช้สายที่ไม่มากเกินไป หากิจกรรมที่ทำนอกบ้านบ้าง หรือทำเป็นครอบครัวก็ได้ค่ะ หลีกเลี่ยงการใช้สมาร์ทโฟนในเด็กเล็กยิ่งดีค่ะ

พ่อแม่ควรสังเกตลูก หากลูกเริ่มเคืองตา ตาแห้ง การมองเห็นพล่าเบลอ ควรให้เขาหยุดเล่นหรือใช้มือถือ และการดื่มน้ำจะช่วยให้ดวงตามีความชุ่มชื้นได้ และดีต่อสุขภาพเด็กๆ อีกด้วยค่ะ

ควรพาเด็กๆ ไปตรวจสายตากับจักษุเเพทย์ เพราะการตรวจสุขภาพในโรงเรียนเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เเละอาจมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งการพาลูกมาตรวจตากับจักษุเเพทย์จะได้ตรวจสอบระบบประสาทตา เเละสายตาโดยรวมอย่างเเม่นยำ โดยครั้งเเรกควรเป็นเมื่ออายุ 3-5 ขวบ ถึงเเม้จะไม่มีอาการผิดปกติทางสายตา เเละมาบ่อยๆ ทุก 1-2 ปี

 

เด็กเจ้าอารมณ์

เมื่อไหร่ที่คุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่า ทำไมลูกของเราหงุดหงิดทุกครั้ง เมื่อเราขัดขวาง หรือห้ามไม่ให้ลูกเล่นมือถือ เขาจะมีการแสดงอาการก้าวร้าว อารมณ์เสียง่าย และหงุดหงิดทุกครั้งเมื่อไม่ได้เล่น นั้นแสดงว่าลูกของเรานั้นเป็นเด็กติดมือถือแล้วล่ะค่ะ ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าในโลกความเป็นจริงกับในมือถือนั้นมันแตกต่างกัน ทุกอย่างบนโลกออนไลน์มันรวดเร็วไปหมด แม้แต่มือถือเอง แค่จิ้มๆ ปัดๆ ก็ทำให้เด็กรู้และเข้าถึงอะไรง่ายมากๆ เมื่อไหร่ที่มาใช้ชีวิตจริงแล้วไม่ได้รับการตอบสนองที่รวดเร็วดั่งใจ ก็จะทำให้เด็กๆ หงุดหงิดนั่นเอง

นอกจากอารมณ์ที่หงุดหงิดแล้ว ยังทำให้เด็กแยกตัวออกจากสังคมด้วย เนื่องจากเมื่อมีมือถือแล้วก็เหมือนมีทางเลือกที่ง่ายและชื่นชอบมากกว่า เด็กๆ จึงไม่พยายามไม่ปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นๆ ซึ่งทำให้การเข้าสังคมของเด็กนั้นยากขึ้นนั่นเอง บางรายอาจจะมีโลกส่วนตัวสูงหรือคบหาเฉพาะเพื่อนในอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

สังเกตอาการคือ

วิธีการแก้ไข คือ

เพราะเด็กๆ มักจะมีการเลียนแบบจากสื่อที่ดู และเขาไม่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีและไม่ดี หรือสิ่งที่ควรหรือไม่ควรทำ หากพ่อแม่ปล่อยไปอาจจะทำให้เขากลายเป็นเด็กก้าวร้าว วีนเหวี่ยง เหมือนในละครก็ได้นะคะ ดังนั้นหากจะดูก็ต้องมีผู้ปกครองอยู่ด้วยจะดีที่สุดค่ะ

พ่อแม่บางคนเข้าใจนะคะว่าก็อยากให้ลูกรับแต่สิ่งดีๆ ทำให้พอมีอะไรที่ลูกอยากได้ก็ตามใจ และยอมให้เขาไปหมดซะทุกอย่าง แต่รู้ไหมคะว่าหากทำบ่อยๆ เขาก็อาจจะเป็นคนเอาแต่ใจมากขึ้นได้ เพราะเขารู้แล้วว่ายังไงพ่อแม่ก็จะทำตามใจเขาในที่สุด เช่นเดียวกับมือถือค่ะ

ยิ่งควบคุมอารมณ์ตั้งแต่ยังเด็กยิ่งดีเลยค่ะ เพราะจะทำให้ความโมโห หงุดหงิด อาละวาดลดลงได้ อย่างเช่น หากลูกเกิดอารมณ์โมโหขึ้นมา ให้เขาสูดหายใจลึกๆ 10 ครั้งในใจ หรือสอนให้เขาเข้าใจถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละคน และสอนการให้อภัยต่อกันและกัน ก็ถือเป็นการควบคุมอารมณ์ได้เช่นกันนะคะ

 

พัฒนาการช้า

คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่า เด็กๆ หากยิ่งใช้เวลาหน้าจอมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เขามีพัฒนาการด้านต่างๆ แย่ลงได้เมื่อเทียบกับเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยเฉพาะในเด็กวัย 2-3 ขวบ ที่สมองอยู่ในช่วงพัฒนามากที่สุด

โดยทางสถาบันกุมารเวชศาสตร์ของอเมริกา ได้สรุปผลการวิจัยว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 เดือนไม่ควรที่จะดูโทรศัพท์ และเด็กที่มีอายุระหว่าง 18 – 24 เดือนนั้น หากต้องการดูโทรศัพท์ควรมีผู้ปกครองให้คำแนะนำระหว่างการดูด้วย ในส่วนของเด็กที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไปนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรกำหนดเวลาในการเล่นหรือดูอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมงอีกด้วย

ซึ่งการพัฒนาการช้านั้นก็ได้แก่

วิธีแก้ไข คือ

 

โรคอ้วน

อาการติดมือถือในเด็ก นอกจากจะส่งผลดังข้างต้นที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังส่งผลต่อสุขภาพของเด็กอีกด้วยนะคะ โดยเฉพาะโรคอ้วนในเด็ก เพราะการเล่นมือถือเป็นการที่เด็กๆ ไม่ได้ลุกเดิน มีเพียงแค่การนั่งอยู่กับที่เฉยๆ จึงทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้นั่นเองค่ะ

เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้เขาเปลี่ยนท่าทางในการนั่งบ่อยๆ เพื่อผ่อนคลายอิริยาบถ อาจจะขยับร่างกาย เดินบ้าง ลุกบ้างถ้ารู้สึกว่าร่างกายเมื่อยล้า หรือหาสถานที่ทำงานหรือเล่นที่เหมาะสม ไม่ควรก้มหน้าเล่น หรือเงยหน้านอนเล่น เพราะจะทำให้เขาเพลินไม่รู้เวลา ยิ่งมีอาหารจากคุณพ่อคุณแม่มาวางให้ตลอดเวลา รับรองได้เลยว่าจะกลายเป็นเด็กอ้วนโดยไม่รู้ตัวก็ได้นะคะ

วิธีแก้ไข คือ

          

 

คำแนะนำ เด็กเล็กอยู่หน้าจอได้นานแค่ไหน

          ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดคู่มือแนะนำใหม่ขึ้นสำหรับพ่อแม่และผู้ปกครอง ในการควบคุมเวลาหน้าจอสำหรับเด็กเป็นครั้งแรก โดยระบุว่า

เด็กทารกอายุต่ำกว่า 1 ขวบที่ยังเดินไม่ได้

          - ควรมีกิจกรรมทางกาย ซึ่งรวมถึงการนอนคว่ำอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน

          - ไม่ควรอยู่ในรถเข็น หรือผูกติดบนหลังใครนานกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง

          - ควรนอนหลับให้ได้ 12-17 ชั่วโมงต่อวัน

          - ไม่ควรอยู่หน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เลย

เด็กอายุ 1-2 ขวบ

          - ควรมีกิจกรรมทางกายวันละ 3 ชั่วโมง

          - ควรนอนหลับอย่างน้อย 11-14 ชั่วโมง

          - ไม่ควรใช้เวลาอยู่หน้าจอเกิน 1 ชั่วโมง

เด็กอายุ 3-4 ขวบ

          - ควรทำกิจกรรมทางกายวันละ 3 ชั่วโมง ซึ่งรวมถึงการเคลื่อนไหวปานกลางถึงแข็งแรงอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

          - ควรนอนหลับพักผ่อน 10-13 ชั่วโมง

          - ไม่ควรใช้เวลาอยู่หน้าจอเกิน 1 ชั่วโมง



เด็กเล็กสามารถคุย Video Chat กับเราได้ไหม

          นอกจากนี้ สถาบันกุมารศาสตร์แห่งสหรัฐฯ (The American Academy of Pediatrics) ก็ไม่ส่งเสริมให้มีการใช้สื่อหน้าจอในเด็กเช่นเดียวกันค่ะ ยกเว้นการคุยกันผ่านวิดีโอ (Video chat) สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 1 ขวบครึ่ง - 2 ขวบ สามารถทำได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับคนในครอบครัว ส่วนเด็กอายุระหว่าง 2-5 ขวบนั้น ควรรับชมรายการที่มีคุณภาพเป็นเวลา 1 ชั่วโมงต่อวัน

          ทั้งนี้ ในการให้ลูกใช้เวลาอยู่หน้าจอ คุณพ่อและคุณแม่ควรจะสกรีนเนื้อหาของรายการที่ลูกดูก่อนทุกครั้ง และควรดูไปพร้อมกับลูก ๆ เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจ มอบความรักความอบอุ่นแก่ลูกค่ะ

          แต่ทางที่ดี Dr.Juana Willumsen ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก แนะนำเพิ่มเติมว่า ผู้ปกครองควรนำการเล่นที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ๆ กลับมา ไม่ว่าจะเป็นการได้เคลื่อนไหวร่างกาย การวิ่งเล่น การร้องเพลง การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง การต่อจิ๊กซอว์ เพื่อที่จะเปลี่ยนจากเวลาที่เด็กอยู่กับที่ไปเป็นเวลาเล่น ซึ่งจะช่วยทำให้พวกเขานอนหลับพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ ได้ออกกำลังกายและเสี่ยงต่อโรคอ้วนน้อยลงด้วยนั่นเองค่ะ

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
jameji's profile


โพสท์โดย: jameji
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: Thorsten
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
โลกการ์ตูนโศกเศร้า "โนบุโยะ โอยามะ" เสียง "โดราเอมอน" ในความทรงจำ ลาลับในวัย 90 ปี'แหม่ม จินตหรา'ซัด'ว็อชด๊อก'หยุดบิดเบือนเรื่องช้าง!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สคบ.แจง 6 คุณสมบัติ “บริษัทขายตรง” ต้องมี ก่อนตกเป็นเหยื่อธุรกิจฉาวลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปี '68 รับเงินช่วยเหลือ 1,545 บาท ใครมีสิทธิ์บ้าง?หวาง หมิน ท่ง (ผู้ที่หลงรักจักรพรรดิ​ผู่อี๋จนวันสุดท้าย...)จริงหรือมั่ว? “กินแคร์รอต” เป็นประจำจะทำให้ตัวเหลืองปิดฉากเจ้าหญิงองค์สุดท้าย แห่งจักรวรรดิออตโตมัน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
กาแฟดำ! ตัวช่วยลดน้ำหนัก จริงหรือ? ไขข้อข้องใจ พร้อมเผยเคล็ดลับหุ่นสวยทำไมดัมเบิลดอร์ยังคงจ้างฟิลช์ ทั้งๆ ที่ฮอกวอตส์ก็มีเอลฟ์ประจำบ้านประโยชน์ของการมีเซ็ก และมีเซ็กกี่ครั้งต่อสัปดาห์ดีที่สุด?ดราม่าหนัก ชาวกัมพูชาวิจารณ์เดือด หลังถูกยกเลิกเป็นเจ้าภาพ Miss Grand International 2024
ตั้งกระทู้ใหม่