รู้ไหม ‘ฆาตกรตัวจริง’ ของ ‘คดีซีอุย’ อาจยังลอยนวลอยู่
อย่าดื้อ “เดี๋ยวซีอุยจะมากินตับ”
ถ้าใครอายุ 30 ปีขึ้นไป ในวัยเด็กน่าจะเคยได้ยิน ‘ผู้ใหญ่’ ขู่แบบนี้แน่ๆ
คนทั่วไปก็คงจะจำมาตลอดว่า ชายไทยเชื้อสายจีนนามว่า ‘ซีอุย’ คือฆาตกรต่อเนื่องระดับคลาสสิคของเมืองไทยที่ฆ่าเด็กแล้วกินตับ
หลังจากเสียชีวิต ศพของเขาถูกสตัฟฟ์ไว้ที่พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช เรื่องเล่าและศพของเขาก็โดดเด่นจนผู้คนเรียกพิพิธภัณฑ์แห่งนี้อย่างลำลองว่า “พิพิธภัณฑ์ซีอุย”
ถ้าใครตามข่าวในช่วงปี 2019 จะทราบว่า ทางพิพิธภัณฑ์ได้นำศพซีอุยออกจากการจัดแสดง หลังมีการล่ารายชื่อให้ ‘คืนความยุติธรรม’ และ ‘ความเป็นมนุษย์’ ให้ซีอุยบน
Topics
Channels
Shop
People
รู้ไหม ‘ฆาตกรตัวจริง’ ของ ‘คดีซีอุย’ อาจยังลอยนวลอยู่
5 Min
06 Aug 2020
The Attention
พระจันทร์ เอี่ยมชื่น
อย่าดื้อ “เดี๋ยวซีอุยจะมากินตับ”
ถ้าใครอายุ 30 ปีขึ้นไป ในวัยเด็กน่าจะเคยได้ยิน ‘ผู้ใหญ่’ ขู่แบบนี้แน่ๆ
คนทั่วไปก็คงจะจำมาตลอดว่า ชายไทยเชื้อสายจีนนามว่า ‘ซีอุย’ คือฆาตกรต่อเนื่องระดับคลาสสิคของเมืองไทยที่ฆ่าเด็กแล้วกินตับ
หลังจากเสียชีวิต ศพของเขาถูกสตัฟฟ์ไว้ที่พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช เรื่องเล่าและศพของเขาก็โดดเด่นจนผู้คนเรียกพิพิธภัณฑ์แห่งนี้อย่างลำลองว่า “พิพิธภัณฑ์ซีอุย”
ถ้าใครตามข่าวในช่วงปี 2019 จะทราบว่า ทางพิพิธภัณฑ์ได้นำศพซีอุยออกจากการจัดแสดง หลังมีการล่ารายชื่อให้ ‘คืนความยุติธรรม’ และ ‘ความเป็นมนุษย์’ ให้ซีอุยบนเว็บไซต์ change.org
ล่าสุด หลังจากหาญาติไม่พบ ในที่สุดเรือนจำบางขวางได้เป็นเจ้าภาพฌาปนกิจศพซีอุยในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2563
เรื่องที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากความตระหนักใน ‘สิทธิมนุษยชน’ และ ‘ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์’ ของคนรุ่นใหม่ที่มองว่า ไม่ว่าฆาตกรต่อเนื่องหรือใครก็ตาม ถ้าตายไปแล้ว ก็ควรจะได้รับการจัดพิธีศพให้สมกับมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ใช่สตัฟฟ์โชว์ให้คนมาดู
แต่ปัญหาที่ลึกกว่านั้นคือ ในความเป็นจริง ซีอุยอาจไม่ใช่ ‘ฆาตกรต่อเนื่อง’ หรือกระทั่ง ‘ฆาตกร’ เลยก็ได้
และความผิดที่ซีอุยได้รับจนถูกประหารอาจเกิดจาก ‘ความผิดพลาดของระบบยุติธรรมของไทย’
แต่นี่คือสิ่งที่คนไม่ค่อยพูดถึง…
BrandThink
Topics
Channels
Shop
People
รู้ไหม ‘ฆาตกรตัวจริง’ ของ ‘คดีซีอุย’ อาจยังลอยนวลอยู่
5 Min
06 Aug 2020
The Attention
พระจันทร์ เอี่ยมชื่น
อย่าดื้อ “เดี๋ยวซีอุยจะมากินตับ”
ถ้าใครอายุ 30 ปีขึ้นไป ในวัยเด็กน่าจะเคยได้ยิน ‘ผู้ใหญ่’ ขู่แบบนี้แน่ๆ
คนทั่วไปก็คงจะจำมาตลอดว่า ชายไทยเชื้อสายจีนนามว่า ‘ซีอุย’ คือฆาตกรต่อเนื่องระดับคลาสสิคของเมืองไทยที่ฆ่าเด็กแล้วกินตับ
หลังจากเสียชีวิต ศพของเขาถูกสตัฟฟ์ไว้ที่พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช เรื่องเล่าและศพของเขาก็โดดเด่นจนผู้คนเรียกพิพิธภัณฑ์แห่งนี้อย่างลำลองว่า “พิพิธภัณฑ์ซีอุย”
ถ้าใครตามข่าวในช่วงปี 2019 จะทราบว่า ทางพิพิธภัณฑ์ได้นำศพซีอุยออกจากการจัดแสดง หลังมีการล่ารายชื่อให้ ‘คืนความยุติธรรม’ และ ‘ความเป็นมนุษย์’ ให้ซีอุยบนเว็บไซต์ change.org
ล่าสุด หลังจากหาญาติไม่พบ ในที่สุดเรือนจำบางขวางได้เป็นเจ้าภาพฌาปนกิจศพซีอุยในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2563
เรื่องที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากความตระหนักใน ‘สิทธิมนุษยชน’ และ ‘ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์’ ของคนรุ่นใหม่ที่มองว่า ไม่ว่าฆาตกรต่อเนื่องหรือใครก็ตาม ถ้าตายไปแล้ว ก็ควรจะได้รับการจัดพิธีศพให้สมกับมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ใช่สตัฟฟ์โชว์ให้คนมาดู
แต่ปัญหาที่ลึกกว่านั้นคือ ในความเป็นจริง ซีอุยอาจไม่ใช่ ‘ฆาตกรต่อเนื่อง’ หรือกระทั่ง ‘ฆาตกร’ เลยก็ได้
และความผิดที่ซีอุยได้รับจนถูกประหารอาจเกิดจาก ‘ความผิดพลาดของระบบยุติธรรมของไทย’
แต่นี่คือสิ่งที่คนไม่ค่อยพูดถึง…
1.
‘หลักฐาน’ ที่ใช้เอาผิดซีอุยจนถูกประหารชีวิตในวัย 32 ปีเมื่อ พ.ศ.2502 ถ้ามองตามกระบวนการสืบสวนในวันนี้ เรียกว่า ไม่มีทางใช้เอาผิดใครได้เลย เพราะ “หลักฐานอ่อนมาก”
แล้วทำไมซีอุยถึงโดนตัดสินว่าผิด?
อธิบายง่ายๆ เลยคือ ซีอุย ‘สารภาพ’ ในทุกข้อกล่าวหา
แต่ปัญหาคือ ‘คำสารภาพ’ ของซีอุยส่วนใหญ่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง โดยเฉพาะในคดีฆาตกรรมเด็กระทึกขวัญต่างๆ ในช่วงพ.ศ. 2497-2501 ที่ถูกจับมา “ยัด” ให้เขา
2.
เรื่องราวทั้งหมด เริ่มต้นจากชายชาวจีนวัย 31 ปีถูกจับขณะทำลายศพเด็กชายคนหนึ่งในปีพ.ศ.2501 ที่จังหวัดระยอง
ขณะนั้นพ่อของเด็กไปเจอเข้าพอดี เลยวิ่งเข้ามากระทืบชายคนนั้น เสร็จแล้วจับมัดและส่งตำรวจ แต่สิ่งที่กลายเป็นประเด็นต่อมาคือ พ่อของเด็กพบว่าศพลูกชายไม่มีตับและหัวใจ
ชายเชื้อสายจีนที่สังคมไทยในเวลาต่อมารู้จักในนาม ‘ซีอุย’ คงไม่ได้จินตนาการว่า การถูกจับในคราวนั้นจะทำให้เขาถูกประหารชีวิต และกลายเป็นตำนานฆาตกรต่อเนื่องของไทย
3.
ซีอุยเป็นคนจีนที่หนีมาทำงานในไทย เขาพูดและเขียนภาษาไทยไม่ได้ ตำรวจต้องใช้ล่ามในการสืบสวน ช่องว่างตรงนี้สะกิดใจนักประวัติศาสตร์ในยุคหลังให้เกิดคำถามว่า “ซีอุยถูกหลอกให้รับสารภาพหรือเปล่า?”
เพราะในคำให้การณ์มีหลายจุดที่ดูเหมือนเจ้าหน้าที่ถามซีอุย แล้วให้เขาตอบ “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” มากกว่าที่ถ้อยคำเหล่านั้นจะออกมาจากปากของซีอุยเอง
ความอีรุงตุงตังของคดีซีอุยไม่ใช่แค่เขาถูกสืบสวนอย่างงงๆ กับคดีที่เขาโดนจับได้ แต่ตำรวจไทยมีคดีฆาตกรรมเด็กสะเทือนขวัญหลายคดีที่ปิดไม่ได้มาหลายปี โดยคดีพวกนี้มาจากหลายจังหวัด ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพฯ และนครปฐม ซึ่งตำรวจก็ดูจะพยายามให้ซีอุยรับสารภาพคดีเหล่านี้ เนื่องจากมีความคล้ายกับคดีที่ซีอุยเพิ่งถูกจับแบบ ‘คาหนังคาเขา’ แม้ว่ามันจะเกิดขึ้นคนละจังหวัด
เหตุที่ต้องเน้นว่า ‘คาหนังคาเขา’ เพราะตำรวจไม่ได้ตาม ‘หลักฐาน’ ไปเจอเอง แต่เป็นหลักฐานที่พ่อเด็กผู้เคราะห์ร้ายเป็นคนนำส่งตำรวจ
โดย ‘หลักฐาน’ สมัยนั้นไม่ได้มีกระบวนการพิสูจน์หลักฐานแบบสมัยนี้ เพราะแม้แต่การเช็คลายนิ้วมือบนอาวุธสังหารที่เริ่มใช้บ้างแล้วในตำรวจฝรั่งยุคนั้น ทางตำรวจไทยก็ยังไม่มีใช้เลย (ไม่ต้องพูดถึงการตรวจดีเอ็นเอที่เพิ่งเริ่มใช้ในการสืบสวนคดีช่วง 1980’s)
ดังนั้น ‘กระบวนการยุติธรรม’ สมัยก่อนจึงไม่ได้พึ่ง ‘หลักฐาน’ อะไรมากนัก เพราะไม่มีการ ‘พิสูจน์หลักฐาน’ แต่พึ่ง ‘พยาน’ เป็นหลัก
และในกรณีของคดีซีอุยไม่มี ‘พยาน’ ดังนั้น สิ่งเดียวที่ตำรวจต้องการก็คือ ‘คำสารภาพ
และตำรวจก็ได้มาในที่สุด
Topics
Channels
Shop
People
รู้ไหม ‘ฆาตกรตัวจริง’ ของ ‘คดีซีอุย’ อาจยังลอยนวลอยู่
5 Min
06 Aug 2020
The Attention
พระจันทร์ เอี่ยมชื่น
อย่าดื้อ “เดี๋ยวซีอุยจะมากินตับ”
ถ้าใครอายุ 30 ปีขึ้นไป ในวัยเด็กน่าจะเคยได้ยิน ‘ผู้ใหญ่’ ขู่แบบนี้แน่ๆ
คนทั่วไปก็คงจะจำมาตลอดว่า ชายไทยเชื้อสายจีนนามว่า ‘ซีอุย’ คือฆาตกรต่อเนื่องระดับคลาสสิคของเมืองไทยที่ฆ่าเด็กแล้วกินตับ
หลังจากเสียชีวิต ศพของเขาถูกสตัฟฟ์ไว้ที่พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช เรื่องเล่าและศพของเขาก็โดดเด่นจนผู้คนเรียกพิพิธภัณฑ์แห่งนี้อย่างลำลองว่า “พิพิธภัณฑ์ซีอุย”
ถ้าใครตามข่าวในช่วงปี 2019 จะทราบว่า ทางพิพิธภัณฑ์ได้นำศพซีอุยออกจากการจัดแสดง หลังมีการล่ารายชื่อให้ ‘คืนความยุติธรรม’ และ ‘ความเป็นมนุษย์’ ให้ซีอุยบนเว็บไซต์ change.org
ล่าสุด หลังจากหาญาติไม่พบ ในที่สุดเรือนจำบางขวางได้เป็นเจ้าภาพฌาปนกิจศพซีอุยในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2563
เรื่องที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากความตระหนักใน ‘สิทธิมนุษยชน’ และ ‘ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์’ ของคนรุ่นใหม่ที่มองว่า ไม่ว่าฆาตกรต่อเนื่องหรือใครก็ตาม ถ้าตายไปแล้ว ก็ควรจะได้รับการจัดพิธีศพให้สมกับมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ใช่สตัฟฟ์โชว์ให้คนมาดู
แต่ปัญหาที่ลึกกว่านั้นคือ ในความเป็นจริง ซีอุยอาจไม่ใช่ ‘ฆาตกรต่อเนื่อง’ หรือกระทั่ง ‘ฆาตกร’ เลยก็ได้
และความผิดที่ซีอุยได้รับจนถูกประหารอาจเกิดจาก ‘ความผิดพลาดของระบบยุติธรรมของไทย’
แต่นี่คือสิ่งที่คนไม่ค่อยพูดถึง…
1.
‘หลักฐาน’ ที่ใช้เอาผิดซีอุยจนถูกประหารชีวิตในวัย 32 ปีเมื่อ พ.ศ.2502 ถ้ามองตามกระบวนการสืบสวนในวันนี้ เรียกว่า ไม่มีทางใช้เอาผิดใครได้เลย เพราะ “หลักฐานอ่อนมาก”
แล้วทำไมซีอุยถึงโดนตัดสินว่าผิด?
อธิบายง่ายๆ เลยคือ ซีอุย ‘สารภาพ’ ในทุกข้อกล่าวหา
แต่ปัญหาคือ ‘คำสารภาพ’ ของซีอุยส่วนใหญ่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง โดยเฉพาะในคดีฆาตกรรมเด็กระทึกขวัญต่างๆ ในช่วงพ.ศ. 2497-2501 ที่ถูกจับมา “ยัด” ให้เขา
2.
เรื่องราวทั้งหมด เริ่มต้นจากชายชาวจีนวัย 31 ปีถูกจับขณะทำลายศพเด็กชายคนหนึ่งในปีพ.ศ.2501 ที่จังหวัดระยอง
ขณะนั้นพ่อของเด็กไปเจอเข้าพอดี เลยวิ่งเข้ามากระทืบชายคนนั้น เสร็จแล้วจับมัดและส่งตำรวจ แต่สิ่งที่กลายเป็นประเด็นต่อมาคือ พ่อของเด็กพบว่าศพลูกชายไม่มีตับและหัวใจ
ชายเชื้อสายจีนที่สังคมไทยในเวลาต่อมารู้จักในนาม ‘ซีอุย’ คงไม่ได้จินตนาการว่า การถูกจับในคราวนั้นจะทำให้เขาถูกประหารชีวิต และกลายเป็นตำนานฆาตกรต่อเนื่องของไทย
3.
ซีอุยเป็นคนจีนที่หนีมาทำงานในไทย เขาพูดและเขียนภาษาไทยไม่ได้ ตำรวจต้องใช้ล่ามในการสืบสวน ช่องว่างตรงนี้สะกิดใจนักประวัติศาสตร์ในยุคหลังให้เกิดคำถามว่า “ซีอุยถูกหลอกให้รับสารภาพหรือเปล่า?”
เพราะในคำให้การณ์มีหลายจุดที่ดูเหมือนเจ้าหน้าที่ถามซีอุย แล้วให้เขาตอบ “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” มากกว่าที่ถ้อยคำเหล่านั้นจะออกมาจากปากของซีอุยเอง
ความอีรุงตุงตังของคดีซีอุยไม่ใช่แค่เขาถูกสืบสวนอย่างงงๆ กับคดีที่เขาโดนจับได้ แต่ตำรวจไทยมีคดีฆาตกรรมเด็กสะเทือนขวัญหลายคดีที่ปิดไม่ได้มาหลายปี โดยคดีพวกนี้มาจากหลายจังหวัด ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพฯ และนครปฐม ซึ่งตำรวจก็ดูจะพยายามให้ซีอุยรับสารภาพคดีเหล่านี้ เนื่องจากมีความคล้ายกับคดีที่ซีอุยเพิ่งถูกจับแบบ ‘คาหนังคาเขา’ แม้ว่ามันจะเกิดขึ้นคนละจังหวัด
เหตุที่ต้องเน้นว่า ‘คาหนังคาเขา’ เพราะตำรวจไม่ได้ตาม ‘หลักฐาน’ ไปเจอเอง แต่เป็นหลักฐานที่พ่อเด็กผู้เคราะห์ร้ายเป็นคนนำส่งตำรวจ
โดย ‘หลักฐาน’ สมัยนั้นไม่ได้มีกระบวนการพิสูจน์หลักฐานแบบสมัยนี้ เพราะแม้แต่การเช็คลายนิ้วมือบนอาวุธสังหารที่เริ่มใช้บ้างแล้วในตำรวจฝรั่งยุคนั้น ทางตำรวจไทยก็ยังไม่มีใช้เลย (ไม่ต้องพูดถึงการตรวจดีเอ็นเอที่เพิ่งเริ่มใช้ในการสืบสวนคดีช่วง 1980’s)
ดังนั้น ‘กระบวนการยุติธรรม’ สมัยก่อนจึงไม่ได้พึ่ง ‘หลักฐาน’ อะไรมากนัก เพราะไม่มีการ ‘พิสูจน์หลักฐาน’ แต่พึ่ง ‘พยาน’ เป็นหลัก
และในกรณีของคดีซีอุยไม่มี ‘พยาน’ ดังนั้น สิ่งเดียวที่ตำรวจต้องการก็คือ ‘คำสารภาพ
และตำรวจก็ได้มาในที่สุด
4.
ถึงแม้ตอนแรกซีอุยจะปฏิเสธข้อกล่าวหาต่างๆ แทบทั้งหมด แต่สุดท้ายซีอุยก็เปลี่ยนใจไปรับสารภาพทุกข้อกล่าวหา
สิ่งที่สร้างความฉงนคือคำสารภาพของเขานั้นผิดกับข้อเท็จจริงหลายคดี
นั่นคือเขาให้สารภาพว่าฆ่าเด็กและควักหัวใจและตับกินแทบทุกคดีที่ถูกเอามา “ยัด” ให้เขา ทั้งๆ ที่ คดีเหล่านั้นแทบทั้งหมด เด็กตายจริง แต่อวัยวะภายในไม่ได้หายไปไหน
กล่าวคือซีอุยรับสารภาพว่า เขากิน ‘เครื่องใน’ เด็กหลายคนทั้งๆ ที่เขาไม่ได้กินแน่ๆ และทุกวันนี้คนที่กลับไปตรวจเช็คเรื่องราวซีอุยก็ดูจะยืนยันตรงกัน
ซีอุยรับสารภาพไม่ตรงกับข้อเท็จจริง แต่ตำรวจก็ยังถูไถดำเนินคดีต่อ นี่ทำให้เห็นและเกิดข้อสงสัยว่า หรือตำรวจต้องการจะรีบปิดคดีให้จบ โดยไม่สนใจว่าคนที่ต้องรับความผิดจะเป็น ‘แพะ’ หรือไม่
5.
หลังจากมีการเผยแพร่คำสารภาพของคดีซีอุย หนังสือพิมพ์ก็ลงข่าวกันอย่างสนุกสนานว่า เขาเป็น ‘มนุษย์กินคน’ และมีการแต่งเติมเสริมเรื่องที่นอกเหนือจากคำสารภาพ เช่น ซีอุยไม่ได้เล่าประวัติของเขาตอนเด็กละเอียดแน่ๆ และข้อมูลที่ซีอุยได้เข้าร่วมกับกองทัพจีนรบกับญี่ปุ่นก็เป็นข้อมูลที่เขาเล่าผ่านๆ เท่านั้น แต่พอหนังสือพิมพ์เล่าประวัติซีอุย กลับมีเรื่องราวว่า ซีอุยตอนเด็กๆ ชอบโดนแกล้ง และข้อมูลว่าซีอุยได้กินเครื่องในมนุษย์เป็นครั้งแรกโดยบังเอิญในช่วงสงคราม
แน่นอน เรื่องที่ ‘มันส์’ แบบนี้ แม้จะไม่จริง แต่ก็ชวนให้จดจำและเล่าขานต่อไป ไม่ได้ต่างจากเรื่องราวเกินจริงบนอินเทอร์เน็ตสมัยนี้ เพียงแต่สมัยโน้น สื่อกระแสหลักเป็นผู้ปล่อย ‘Fake News’ เสียเอง
อีกทั้งคนส่วนใหญ่ก็สนใจความน่าขนพองสยองเกล้าของคดีซีอุยเพื่อปั่นเป็นกระแส แต่ไม่มีใครสนใจเลยว่า คำให้การแบบกลับไปมา และคำให้การที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงของซีอุยนั้น “โคตรมีพิรุธ” และ “พิรุธ” พวกนี้ก็เป็นสิ่งที่ผู้คนหลงลืมไปหลายสิบปี ก่อนที่คนในยุคหลังจะพยายามรื้อ ‘คดีซีอุย’ มาเพื่อพิสูจน์ว่า เขาไม่น่าจะผิดดังที่เขา ‘สารภาพ’ จนต้องโทษประหาร
อย่างไรก็ดี ถ้าซีอุยไม่ได้ฆ่าเด็กเหล่านั้นจริง คำถามคือใครฆ่าเด็กพวกนั้น?
แล้วซีอุยจะ ‘สารภาพ’ ทำไม