วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย
สมัยสุโขทัย
การแสดงระบำ รำ ฟ้อน ที่พัฒนามาจากการละเล่นของชาวบ้าน
สมัยอยุธยา
การแสดงระบำ รำ ฟ้อน ได้ถูกพัฒนาขึ้นและนำมาใช้แสดงในรูปแบบของละคร ทำให้เกิดละครรำต่างๆ
สมัยธนบุรี
ทรงส่งเสริมฟื้นฟูการละครขึ้นใหม่และรวบรวมศิลปินตลอดทั้งหมดละครเก่าๆที่กระจัดกระจายไปให้มาอยู่รวมกัน ทำให้มีคณะละครหลวงและละครเอกชนเกิดขึ้นหลายโรง
สมัยรัตนโกสินทร์
เกิดการประดิษฐ์ท่ารำต่างๆ ที่พัฒนารูปแบบขึ้นมาจากสมัยอยุธยา
รัชกาลที่ 1
มีการปรับปรุงระบำ 4 บท และมีการพัฒนาโขนให้มีรูปแบบการแสดงเหมือนละครใน
รัชกาลที่ 2
มีการฝึกหัดรำ ระบำ โขน ละคร รวมถึงปรับปรุงการแต่งกายในการแสดงเป็นการแต่งกายยืนเครื่อง
รัชกาลที่ 3
ส่งให้มีการยกเลิกละครหลวง ทำให้การแสดงนาฏศิลป์ไทยมีมากขึ้นในประชาชนทั่วไป ก่อให้เกิดศิลปินที่มีความสามารถและเป็นผู้สืบทอดการแสดงให้เป็นแบบแผนต่อมา...
รัชกาลที่ 4
ให้มีการแสดงละครได้ทั้งชายและหญิง ก่อให้เกิดละครประเภทใหม่ๆ
รัชกาลที่ 5
เกิดการพัฒนารูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ไทยให้มีความทันสมัยมากขึ้น เริ่มรับวัฒนธรรมจากตะวันตกมาพัฒนารูปแบบการแสดงของละครไทย รูปแบบการแสดงมีความสมจริง มีการนำฉาก แสง สี เสียง มาประยุกต์ใช้ในการแสดง
รัชกาลที่ 6
ให้ตั้งกรมมหรสพขึ้น ให้มีการทำนุบำรุงศิลปะการแสดง และดนตรีไทยให้มีระเบียบแบบแผนยิ่งขึ้น
รัชกาลที่ 7
ให้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นแทนกรมมหรสพ เพื่อให้ศิลปะการแสดงไทยคงอยู่สืบต่อไป
รัชกาลที่ 8
ก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ และปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นวิทยาลัยนาฏศิลป์เพื่อให้เป็นสถานศึกษา และเป็นที่สืบทอดเผยแพร่ด้านนาฏศิลป์ไทย
รัชกาลที่ 9
การแสดงนาฏศิลป์มีรูปแบบการแสดงที่พัฒนามากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบการแสดงเพื่อให้สวยงามขึ้นหรือมีการประดิษฐ์ท่ารำต่างๆ เพื่อให้เข้ากับเหตุการณ์ในปัจจุบัน
อ้างอิงจาก: https://youtu.be/E5EIrQDsVYY
อ้างอิงจาก:https://th.m.wikipedia.org/wiki/นาฏศิลป์ไทย