18 บทเรียนจาก...จิตวิทยาสายดาร์ก
หนังสือ “จิตวิทยาสายดาร์ก” เล่มนี้ถูกดองไว้นานกว่าผมจะมีเวลาหยิบมาอ่าน เมื่ออ่านก็พอรู้ว่าหนังสือเล่มนี้พูดถึงวิธีการล้างสมอง...โดยใช้คำพูดควบคุมจิตใจผู้ฟัง
เป็นหนังสือที่พูดถึง 2 เรื่องสำคัญ คือ “การพัฒนาทักษะการสื่อสาร” และ “การไม่ถูกหลอกง่ายๆ” ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านสามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารเป็นและไม่ถูกคนอื่นหลอก แต่หากจะให้ลงรายละเอียดผมก็พอสรุปได้อยู่ 18 บทเรียน ดังนี้
1. ทักษะที่จำเป็นในการสื่อสารถึงใจอีกฝ่าย ไม่ใช่วิธีใช้คำพูดที่เหมาะสม แต่เป็นวิธีสร้างความประทับใจที่เหมาะสมต่างหาก
- คนที่เถียงชนะคือคนที่ขาดทุน หากคุณเถียงชนะก็เท่ากับว่าคุณได้ทำลายความประทับใจที่อีกฝ่ายมีต่อตัวคุณจนป่นปี้
- การพูดเก่งไม่ใช่การพูดตามหลักไวยากรณ์ที่ถูกต้อง แต่เป็นการพูดที่จูงใจอีกฝ่ายได้ต่างหาก
- การสร้างภาพลักษณ์สำคัญมาก เช่น ถ้าคุณอยากเล่นมายากลในงานเลี้ยงของบริษัท แต่คุณกลับ
ใส่เสื้อธรรมดา แม้คุณจะเล่นกลได้สำเร็จ...แต่คนดูก็จะไม่เชื่อว่าคุณเป็นนักมายากล แต่ถ้าคุณใส่ชุด
นักมายากล บุคลิกของคุณจะเปลี่ยนไป แม้คุณจะเล่นกลได้ไม่ดีนัก แต่คนก็จะเชื่อว่าคุณเป็นนักมายา
กลจริงๆ
5. การพูดหรือบรรยายข้อมูลอาจสำคัญ แต่หากคุณไม่มีการนำเสนอที่ดีข้อมูลนั้นก็ไปไม่ถึงผู้รับสาร
สิ่งที่ควรมีคือ รูปลักษณ์ภายนอกที่ดี, ท่าทางที่ดี, น้ำเสียงการพูดที่ดี
- คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าผู้คนมักให้ความสำคัญที่รูปลักษณ์ภายนอกเมื่อแรกเจอ ไม่จำเป็นว่าคุณ
ต้องสวยหล่อมาแต่เกิด หากคุณแต่งกายดูดี ไม่ขี้เหนียว ไม่มักง่าย พิถีพิถันกับการแต่งกาย ปรับปรุงรูปลักษณ์ภายนอกให้ดูดี บุคลิกภาพที่สง่ามั่นใจ เชื่อว่าคุณจะมีแต้มต่อในความสำเร็จเสมอ
- เวลาเจรจาทางธุรกิจ ถ้าจำเป็นต้องคุยนอกสถานที่ ให้คุณเลือกสถานที่ที่ดูดี ดูหรูหร ดูแพงไว้ก่อน
เพราะมันจะช่วยยกระดับภาพลักษณ์คุณให้ดีขึ้นไปอีก
- พยายามชื่นชมคู่สนทนาอยู่เสมอเพราะจะช่วยให้เขาไว้ใจคุณและเปิดใจในการสนทนากับคุณ
- ถ้าคิดคำชมไม่ออก ให้นึกถึงสามคำนี้ "หัวดีจัง!" "อัจฉริยะ" "ต้องสำเร็จแน่!"
- แม้บางครั้งคุณจะใช้คำพูดที่รุนแรง แต่ถ้าพูดด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้ม ความรุนแรงนั้นจะลดลง
11. ถ้าไม่รู้ว่าจะคุยเรื่องอะไร ให้พยายามคุยเรื่องของอีกฝ่ายหรือที่อีกฝ่ายชื่นชอบ เช่น หากรู้ว่าเขาชอบอ่านหนังสือ เราก็อาจจะสื่อสารว่า "ได้ยินว่าคุณชอบอ่านหนังสือ ผมก็ชอบนะ ส่วนใหญ่ผมจะอ่านแนวธุรกิจ แล้วคุณชอบหนังสือแนวไหนหรือครับ”
- หากไม่รู้ว่าคนที่คุยด้วยชื่นชอบอะไร รสนิยมแบบไหน ให้คุณสังเกตดูสิ่งแวดล้อมภายนอกของเขา
คุณต้องพยายามหาข้อมูลพวก เสื้อผ้า สูท นาฬิกา เครื่องประดับ และสังเกตจากสิ่งต่างๆ ที่เขาสวมใส่
ให้คุณนำสิ่งเหล่านั้นมาเป็นประเด็นในการสนทนา
- เวลาพูดอะไรก็ตามหากมีประโยคไฮไลท์เพิ่มเติมว่า "พูดง่ายๆ ก็คือ... " เมื่อคู่สนทนาได้ยินคำนี้
เขาจะตั้งใจฟังและรู้สึกว่าข้อความหลังจากนี้สำคัญและเป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย
- การยกตัวอย่างเปรียบเทียบ อุปมาอุปไมยทำให้มองเห็นภาพจะทำให้อีกฝ่ายจดจำเรื่องราวได้ดีขึ้น
- หากคู่สนทนาปรึกษาคุณ วิธีที่ดีคือให้คุณพูดถึงประเด็นดังกล่าวแบบกว้างๆ อย่าไปตัดสินใจชี้ชัด
หรือสรุปแทนเขาเป็นอันขาด เช่น หากมีคนมาปรึกษาคุณว่า “เบื่องาน ลาออกจากบริษัทดีไหม” ถ้าคุณ
พูดหรือตัดสินใจแทนเขาว่า "อืม..ถ้าเบื่อมากก็ลาออกเลย" ประโยคแบบนี้จะทำให้เขาต่อต้านคุณ แต่
ถ้าคุณพูดว่า "ลาออกจากบริษัท...อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีก็ได้นะ" แบบนี้เขาจะคิดและคล้อยตาม
- การจะทำให้คนอื่นตั้งใจฟังคุณ...คุณต้องใช้คำพูดที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย ไม่ควรกำกวมหรือร่ายไป
เรื่อย ต้องตัดข้อมูลให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และฝึกใช้คำถามกับอีกฝ่าย เช่น "คุณคิดยังไงกับ
เรื่องนี้"
17. หากคุณกำลังบรรยายอะไรสักเรื่องอยู่ แล้วพบว่าผู้ฟังคนเริ่มหลุดโฟกัสจากคุณ ให้คุณหยุดหรือ
เว้นจังหวะในการพูดสักพัก เดี๋ยวคนฟังจะกลับมาสนใจการบรรยายของคุณเอง
- อยากคุยเก่ง ต้องเป็นคนที่ฟังเก่งด้วย เปิดโอกาสให้คู่สนทนาได้พูดบ้าง มันจะทำให้วงสนทนาสนุก
มากขึ้น เมื่อต่างคนก็ได้แสดงทัศนคติของตัวเอง.