ทำไม!!เราต้องตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง โดยการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ โดยวิธี FIT test
มะเร็งลำไส้เป็น 1 ใน 5 มะเร็งที่พบมากในประเทศไทย พบในเพศชายมากเป็นอันดับ 1 และความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงจะเพิ่มมากขึ้นหลังอายุ 50 - 70 ปี สำหรับประชาชนอายุ 50 - 70 ปีควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยวิธีFecal immunochemical test (FIT) เป็นการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ การตรวจพบเลือดในอุจจาระ ไม่ได้หมายความว่า ผู้รับบริการจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง เนื่องจากยังมีความผิดปกติอื่นๆที่อาจทำให้มี อาการเลือดออกปนมาในอุจจาระได้ เช่น polyp, colitis, diverticulitis, hemorrhoid รวมถึงการปนเปื้อนจาก เลือดขณะมีรอบเดือนด้วย สำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติที่ลำไส้ เช่น มีมูกเลือดปนหรือเลือดดำปนออกมากับ อุจจาระหรือมีอุจจาระผิดปกติ และผู้ที่มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง แนะนำให้ไปพบ แพทย์ได้เลยโดยที่ไม่ต้องทำการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีชุดตรวจให้กับโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) ประชาชนในพื้นที่จะได้รับการตรวจคัดกรองตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด และถ้ามีผลผิดปกติจะได้รับการส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อพบแพทย์ตรวจวินิจฉัยด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เพื่อตรวจยืนยันอีกครั้ง
อ้างอิงจาก: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์