ต้นไม้แพงในไทย
พะยูง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dalbergia cochinchinensis) เป็นต้นไม้เนื้อแข็งที่เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามชนิดหนึ่ง จัดเป็นไม้เศรษฐกิจที่มีราคาสูงอย่างหนึ่งและมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคล มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกคือ ขะยุง, พยุง, แดงจีน และประดู่เสน
ชิงชัน เป็นชื่อของไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ประเภทไม้ผลัดใบที่อยู่ในวงศ์ Leguminosae ชนิดหนึ่ง (อยู่ในวงศ์เดียวกับประดู่)
กระพี้เขาควายชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cultrata Graham ex Benth.
ชื่อเรียกอื่น : กำพี้ (เพชรบูรณ์) เก็ดเขาควาย เก็ดดำ (เหนือ) กระพี้ (กลาง) อีเม็งใบมน (อุดรธานี) เวียด จักจัน (ฉาน เชียงใหม่)
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-25 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 7-13 ใบ เรียงสลับ รูปไข่กลับหรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง
สาธร
สาธร (ชื่อวิทยาศาสตร์: Millettia leucantha) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว พบในประเทศลาว พม่า และไทย[1] เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดนครราชสีมาและต้นไม้ประจำมหาวิิิิิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
มะเกลือ
มะเกลือ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Ebenaceae พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มกลมกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ผลดิบของมะเกลือมีสรรพคุณเป็นยา
สักทอง
เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น ขึ้นเป็็นหมู่ในป่าเบญจวรรณทางภาคเหนือ
มะค่า
ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Afzelia xylocarpa Craib ในวงศ์ Leguminosae ใบคล้ายใบประดู่ ฝักแบน หนา แข็ง เนื้อไม้สีนํ้าตาลอมแดง ใช้ในการก่อสร้าง มะค่าโมง หรือ มะค่าใหญ่ ก็เรียก.
ประดู่
ประดู่หรือ ประดู่ป่า (อังกฤษ: Burma padauk) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus macrocarpus เป็นไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae