หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ปูนาขาเก

โพสท์โดย pannipha

ปูนาบนท่องทุ่

 

คำอธิบาย

ปูนา (อังกฤษ: Ricefield crabs) เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทปูน้ำจืดในวงศ์ Parathelphusidae ในสกุล Somanniathelphusa แหล่งที่อยู่มักจะอยู่ในนาข้าวจึงเรียกว่าปูนา

ปูนาแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงบางพื้นที่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เกษรกรผู้ปลูกข้าวในไทย ถือว่าปูนาเป็นศัตรูพืชของข้าว เพราะปูจะกัดกินต้นข้าวที่ปักดำใหม่ ๆ ทำให้ชาวนาต้องปักดำซ้ำหลายครั้ง นอกจากนี้ ปูยังขุดรูตามคันนา ทำให้คันนาไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ แต่ปูนาก็เป็นอาหารราคาถูกและหาง่ายโดยเฉพาะกับวิถีชีวิตผู้คนในชนบท และเป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ส้มตำ

ในประเทศไทยพบมี 8 ชนิด ในภาคต่าง ๆ ดังนี้

1. Somanniathelphusa germaini พบใน 27 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 22 จังหวัด ภาคตะวันตก 2 จังหวัด ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ภาคใต้ 1 จังหวัดและภาคเหนือ 1 จังหวัด

2. Somanniathelphusa bangkokensis พบใน 18 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 8 จังหวัด ภาคตะวันตก 4 จังหวัด ภาคตะวันออก 2 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด

3. Somanniathelphusa sexpunetata พบใน 19 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 1 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ภาคตะวันออก 4 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด

4. Somanniathelphusa maehongsonensis เป็นปูชนิดใหม่ ที่พบในแห่งเดียวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

5. Somanniathelphusa fangensis เป็นปูชนิดใหม่ที่พบในจังหวัดลำปางและเชียงใหม่

6. Somanniathelphusa denchaii เป็นปูชนิดใหม่ที่พบในจังหวัดแพร่

7. Somanniathelphusa nani เป็นปูชนิดใหม่ล่าสุดที่พบในจังหวัดน่าน

8. Somanniathelphusa dugasti (หรือ Esanthelphusa dugasti ในอดีต) พบใน ภาคกลาง 10 จังหวัด ภาคตะวันตก 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 3 จังหวัด และภาคเหนือ 9 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด

ปูนาบางชนิดเช่น S. dugasti มีอาณาเขตการแพร่กระจายกว้างมากถึง 40 จังหวัด ในภาคกลางมีปูอยู่ถึง 3 ชนิด ในภาคใต้พบมี 2 ชนิด ทางภาคเหนือบางจังหวัดพบมีชนิดเดียว 

ปูนาจะพบมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูที่อุดมสมบูรณ์ เพราะวิถีชีวิตของปูนาจะผูกพันกับน้ำ โดยผสมพันธุ์และวางไข่เพียงปีละครั้ง ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม ปูนาตัวเมียเมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูให้สูงกว่าระดับน้ำ เพื่อเตรียมอุ้มไข่และจะไม่ลอกคราบจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว ปูนาส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางคืน ใช้การลอกคราบราว 13-15 ครั้ง หลังจากฟักเป็นตัว ใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือนจึงโตเต็มวัย ปูนาจะไม่มีช่วงเดือนมกราคมและช่วงฤดูร้อน นอกจากนี้แล้วจากการศึกษาพบว่าเปลือกของปูนามีสารไคตินสูงถึงร้อยละ 19.27 ในสภาพน้ำหนักแห้ง ในขณะที่เปลือกของปูทะเลมีเพียงร้อยละ 14.14 เท่านั้น ดังนั้นเปลือกของปูนาจึงมีประโยชน์ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตไคโตซานได้เป็นอย่างดีกว่าสัตว์จำพวกครัสเตเชียนอย่างอื่น 

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
อันดับฐาน: Brachyura
วงศ์: Parathelphusidae
สกุล: Somanniathelphusa
Bott, 1968

ปูนา ที่สำคัญ ปูนายังมีสรรพคุณกระจายโลหิต แก้ช้ำใน บำรุงกำลัง และฤทธิ์กระจายโลหิตของปูนาก็เหมือนฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตของถั่งเช่า และเขากวาง คือช่วยให้โลหิตไปหล่อเลี้ยงที่อวัยวะเพศมากขึ้น จึงช่วยแก้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมได้เช่นกัน

ปูนาจัดเป็นแหล่งอาหารโปรตีนราคาถูกและหาได้ง่ายในธรรมชาติ มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่เกษตรกรทุกคนรู้จักและคุ้นเคยเพราะมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ เพราะปูนาเป็นทั้งอาหารคน สัตว์ และพืช

ปูนาชอบขุดรูอาศัยอยู่ตามทุ่งนา คันนา บริเวณชายคลอง คันคู และคันคลอง โดยมีแหล่งอาหารและน้ำเป็นปัจจัยหลัก เมื่อเข้าฤดูฝน ปูจะออกจากรูเพื่อหาอาหารตามแหล่งน้ำ และผสมพันธุ์ โดยจะวางไข่ปีละครั้ง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม โดยมีน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ ปูเพศเมียเมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูสูงจากระดับน้ำ เพื่อเตรียมอุ้มไข่ และจะไม่ลอกคราบจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว

ปูนากินอาหารทุกชนิด ตั้งแต่สารอินทรีย์ในดินจนกระทั้งพืชหรือสัตว์ที่มีชีวิตและตายแล้ว มีบทบาทสำคัญและมีส่วนช่วยทำให้ระบบนิเวศเกิดความสมบูรณ์ เพราะมีระบบย่อยอาหารที่สามารถดูดซึมสารอินทรีย์จากดินได้ จึงกินดินที่มีสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยได้โดยตรง ปูนาส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางคืน มีการเจริญเติบโตโดยการลอกคราบเช่นเดียวกับปูชนิดอื่น ๆ หลังจากฟักเป็นตัวแล้วจะลอกคราบประมาณ 13-15 ครั้ง และโตเป็นปูเต็มวัย โดยใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน

เป็นสัตว์ที่มีรสชาติดี มีเอกลักษณ์ เป็นแหล่งอาหารโปรตีนราคาถูกที่หาจากธรรมชาติ ไม่ต้องซื้อได้ สามารถทำอาหารได้หลายชนิด เป็นสัตว์ที่มีไคตินที่สามารถนำไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตไคโตซานได้เช่นเดียวกับเปลือกกุ้ง เปลือกปูม้าและเปลือกปูทะเล โดยปูนาหนึ่งตัวจะมีปริมาณไคตินสูงถึงร้อยละ 19.27 ในสภาพน้ำหนักแห้ง ในขณะที่ปูทะเลมีเพียงร้อยละ 14.14 เท่านั้น

ไคโตซานที่ได้จากเปลือกกุ้งและปูนั้นมีการนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เช่นในวงการอุตสาหกรรม จะนำไปใช้ในขบวนการบำบัดน้ำเสียในโรงฆ่าสัตว์ โรงงานผลิตเครื่องสำอาง ที่มีปริมาณอินทรียสารที่มีโลหะหนักพวก ทองแดง นิกเกิล สังกะสี โครเมียม เหล็ก และแคดเมียม ในน้ำทิ้ง ทางด้านโภชนาการ มีการนำไปใช้เป็นองค์ประกอบของอาหารเสริมเพื่อลดปริมาณไขมันและคอเลสเตอรอล บำรุงกระดูก นำไปใช้ในการตกตะกอนของไวน์ขาว ไวน์แดง ทำเป็นฟิล์มสำหรับเคลือบอาหารและผลไม้ ช่วยลดจำนวนแบคทีเรียและยืดอายุในการเก็บให้ยาวนานขึ้น ใช้เป็นสารปรุงแต่งผลิตภัณฑ์อาหารทะเลต่าง ๆ ให้มีกลิ่นกุ้ง หรือปู เช่น ผลิตภัณฑ์ซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ

มีการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น สบู่ ยาสีฟัน แป้งฝุ่น โลชั่นบำรุงผิว บำรุงผม นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพดินเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน และนำไปผสมอาหารสำหรับสัตว์ปีก เช่น กุ้ง ปู และปลา เพื่อให้สัตว์ที่เลี้ยงโตเร็ว แข็งแรง มีความต้านทานโรค ในการปลูกพืชมีการนำไปใช้เพื่อกำจัดเชื้อรา ที่ทำให้เกิดโรคโคนเน่าในพืชตระกูลถั่ว ช่วยกระตุ้นการงอกของเมล็ดผักและการเจริญเติบโตของกล้วยไม้อีกด้วย

แต่เนื่องจากที่ผ่านมาการได้มาซึ่งปูนาจะมาจากธรรมชาติเป็นสำคัญ ยังไม่มีการส่งเสริมการเลี้ยงอย่างจริงจังแบบครบวงจรเพื่อการใช้ประโยชน์ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไปโอกาสที่ปูนาในธรรมชาติหมดไปอาจจะเกิดขึ้นได้ในแผ่นดินไทย.

นักโภชนาการเตือนกินเมนูดิบเสี่ยงพยาะเพียบ ชี้เปิบ "ปูนาเป็นๆ" เสี่ยงพยาธิใบไม้ปอด พยาธิปอดหนู อันตรายถึงขั้นตาบอด ส่วน "หมึกช็อต" เสี่ยงรับเชื้ออหิวาต์เทียม พยาธิสัตว์น้ำเค็ม ย้ำพยาธิไชถึงสมองได้

ปูนาที่ใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์

 


  3. ให้อาหารปูสัปดาห์ละ 3 ครั้ง อาหารที่ใช้เลี้ยงปู ได้แก่ ข้าวสุก (ข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวก็ได้) ปลาที่สับเป็นชิ้นเล็กๆ กุ้งฝอย ผักบุ้ง ผักกาด ข้อควรระวังก็คืออย่าให้อาหารปูมากเกินไปและต้องคอยหมั่นสังเกตดูว่าให้อาหารแค่ไหนปูถึงจะกินหมดเพราะถ้ามีอาหารเหลือก็จะบูดเน่า ดังนั้นจึงต้องเก็บออกจากบ่อเพราะหากทิ้งไว้ให้เน่าจะทำให้น้ำสกปรกทำให้ปูเป็นโรค สำหรับการระบายน้ำนั้นต้องระบายน้ำออกจากบ่อและเปลี่ยนน้ำใหม่ประมาณเดือนละ 2-3 ครั้ง


  4. ปูนาจะผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูฝน แม่ปู 1 ตัว มีไข่ประมาณ 500-700 ฟอง ดังนั้นปูนา 1 ตัว จะออกลูกได้ประมาณ 500-700 ตัว และปูนาใช้เวลาในการเจริญประมาณ 6-8 เดือนจึงจะโตเต็มที่

การพัฒนาการจากไข่จนกลายเป็นลูกปูนา

 


  5. การจับปูนานั้นควรจับในช่วงฤดูหนาวเพราะเป็นเวลาที่ปูมีรสชาติอร่อยที่สุด ถ้าหากจะนำไปขายก็จะสามารถขายได้ในราคาที่สูงกว่าเวลาอื่นเพราะเป็นช่วงที่ปูขาดแคลน โดยจะขายได้ราคาตัวละ 2-5 บาท

การจับปูนาในบ่อเลี้ยง



อาหารที่ทำจากปูนา

เนื้อหาโดย: pannipha
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
pannipha's profile


โพสท์โดย: pannipha
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ชายบราซิลถูกยิงเข้าที่ศีรษะ แต่กระสุนกลับติดอยู่ที่หน้าผากของเขาข้อความสุดท้าย อ๋อม อรรคพันธ์ ก่อนเสีย ถึงแฟนคลับ เศร้า ยังไม่ทันสำเร็จปฏิรูปครั้งใหญ่! ยกเลิกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สู่ยุคภาษีเงินได้ติดลบ (Negative Income Tax)เจ้าสาวสุดแสนดีใจ..ได้ผู้ชายในฝันมาเป็นสามีสุดยอด 5 อันดับประเทศเอเชียระบบขนส่งเจ๋งสุด พร้อมไทยติดอันดับด้วยเจ้าหญิงเวียงชื่น เทพวงศ์ ไม่ยอมถูกจับกุมคุมขัง ยอมปลิดชีพตน ด้วยการดื่มยาพิษหญิงอินเดียฟ้องหย่าสามี เพราะอาบน้ำเพียงเดือนละ 1-2 ครั้งชาวเน็ตกระหน่ำวิจารณ์ น้ำปั่นแก้วละ 465 บาท คุ้มจริงไหม? ทำไมถึงแพงได้ขนาดนั้นปรากฏการณ์ดวงจันทร์ใหญ่มากในโตเกียวคู่รักชาวมาเลย์ถูกจับ หลังขโมยที่ปัดน้ำฝนในลานจอดรถของห้างสรรพสินค้าแห่ชื่นชม “ครูอัสนี” ครูเกษียณจิตอาสายืนโบกรถหน้าโรงเรียนเมื่อหมูเด้ง ต้องไปแคสติ้งเป็นนักแสดงซูปเปอร์ฮีโร่
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เมื่อรู้สึกผิดทุกครั้งที่ว่างงาน ทำงานเท่าไหร่ก็รู้สึกว่ายังทำไม่มากพอ Productivity Shameแห่ชื่นชม “ครูอัสนี” ครูเกษียณจิตอาสายืนโบกรถหน้าโรงเรียนfluffy: ปุย ฟูข่าวดี! ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เตรียมรับเงินเพิ่ม 10,000 บาท ในปี 2567วิธีใช้แอป “รัฐจ่าย” เช็กสิทธิ์ รับเงินดิจิทัล 10000 บาท
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
จักรพรรดินีเสี้ยวเค่อหมิน จักรพรรดินีองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงรถสองคันกับคนเกษียณ•สิบปีต่อมา.หมดไปกับ•!!!ตำนานเมืองลับแล
ตั้งกระทู้ใหม่