สะพานรากไม้กลางป่าดงดิบ ที่สร้างจากชาวกาสิ สามารถรับมือกับสภาพอากาศแบบนี้ได้กว่า 500 ปี!!
ชาวกาสิ(Khasi)ชนพื้นเมืองแห่งรัฐเมฆาลัย ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย มีสิ่งก่อสร้างที่น่าทึ่ง ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างธรรมชาติกับงานสร้างของมนุษย์ได้อย่างลงตัว
รัฐเมฆาลัย มีป่าดงดิบปกคลุมพื้นที่อยู่ถึงหนึ่งในสาม มีฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง และส่งผลให้สิ่งก่อสร้างจากไม้ ผุพังได้ง่าย ทว่าชาวกาสิได้คิดค้นวิธีการก่อสร้าง ที่สามารถรับมือกับสภาพอากาศแบบนี้ได้ สำเร็จ
สะพานรากไม้เป็นสิ่งก่อสร้าง ที่ใช้เชื่อมเส้นทางข้ามลำน้ำและหุบเหวในป่าดงดิบ มันถูกสร้างจากต้นยางอินเดีย ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีอยู่มากในป่าแถบนี้ โดยชาวกาสิจะเลือกต้นยางที่ขึ้นอยู่บริเวณสองฝั่งของลำน้ำหรือหุบเหว แล้วเอาไม้ไผ่ยาวๆสองลำ มาวางพาดอยู่ระหว่างต้นยางทั้งสองฝั่ง จากนั้นก็นำรากอากาศของต้นยางพันกับไม้และปล่อยให้รากไม้พันเกาะเกี่ยวไปตามลำไผ่จนเชื่อมกัน เมื่อเวลาผ่านไป รากไม้จะหนาแน่นจนกลายเป็นสะพาน โดยจะใช้เวลาประมาณ 15 - 20 ปี
พวกาสิได้เรียนรู้วิธีสร้างสะพานแบบนี้ มานานกว่า 500 ปีแล้ว ซึ่งแม้จะใช้เวลาอดทนรอนานกว่าจะเสร็จ แต่สะพานแบบนี้ ก็ทนทาน และจะแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป ทั้งยังไม่ต้องกังวลเรื่องการผุพังด้วย