ประวัติ"พลายศักดิ์สุรินทร์"
ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ หรือ “มธุราชา” (Muthu Raja) เป็นหนึ่งในช้าง 3 เชือกที่รัฐบาลไทยมอบให้รัฐบาลศรีลังกา ตั้งแต่ปี 2544 โดยรัฐบาลศรีลังกาได้มอบพลายศักดิ์สุรินทร์ให้แก่วัด Kande Vihara เป็นผู้ดูแล เพื่อเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในงานแห่พระธาตุประจำปีของศรีลังกา (พระธาตุเขี้ยวแก้ว) ซึ่งจัดมานานนับ 270 ปี
ทั้งนี้พลายศักดิ์สุรินทร์เดินทางจากเมืองไทยไปอยู่ที่ประเทศศรีลังกาตั้งแต่เป็นลูกช้างอายุไม่ถึง 10 ปี จนวันนี้มีอายุราว 30 ปี ถือเป็นช้างที่มีงาสวยงามมีคชลักษณ์โดดเด่นตรงตามความต้องการของศรีลังกา โดยตอนที่อยู่ประเทศไทยไทย มีนายทองสุก มะลิงาม ควาญช้างไทยเป็นเจ้าของผู้ดูแล
นายสมโรจน์ กล่าวว่า มองถึงความเป็นไปเป็นเรื่องของธรรมชาติ จะดีใจหรือเสียใจ ต้องแยกประเด็น เขาอยู่กับเราตั้งแต่เกิดจนถึง 10 ปี มีความผูกพันกันในระดับหนึ่ง แต่ว่า ด้วยภารกิจ วันนั้นเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ศรีลังกา ประธานาธิบดี ขอมา ให้เข้าใจถึงความรู้สึกแนวทางจะได้ไม่สับสน ที่กลับมาเราก็เห็น แต่ก็ติดในข้อจำกัดต่างๆ ในความเป็นจริง ช้างตัวนี้วันไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ผมบริจาคในนามประชาชนชาวจังหวัดสุรินทร์ ให้ทุกคนมีส่วนรู้เห็นอย่างเปิดเผย และทุกคนก็ดีใจขึ้นป้ายจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญส่งอำลาเดินทางอย่างปลอดภัย และเมื่อไปถึงที่นั่นได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่ง แล้วช้างที่จะไปอยู่ดีที่สุด ทางรัฐบาลศรีลังกา เขาก็มองแล้วว่าอยู่ที่วัดตรงตามสายที่จะมาปฏิบัติภารกิจเพื่อฝึกและอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุในวันนั้น และก็เป็นไปด้วยความสมประสงค์กัน พอใจกัน ทุกคนแฮปปี้หมด
ถามว่างานหนักมั้ย เขาไม่ได้แห่พระธาตุเขี้ยวแก้วเป็นประจำทุกวัน ก็มีวาระสำคัญ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ผมก็ได้มีโอกาสไปสังเกตการณ์และร่วมงาน ก็มีแต่งองค์ทรงเครื่อง เป็นผ้าคลุมตัวช้าง ซึ่งวัฒนนธรรมการแห่ การแต่งตัว นำเสนอแตกต่างจากบ้านเรา น้ำหนักก็ไม่ได้เยอะอะไร แล้วก็มีเครื่องไฟกระพริบ หลังจากเสร็จภารกิจวันนั้น พักยาว ทางวัดเขาก็เลี้ยงดูแลอย่างดี เจ้าอาวาสท่านก็เป็นพระที่มีความเมตตา เอาใจใส่เป็นอย่างดี
แต่เหตุการณนี้ที่เกิดปัญหา ผมก็ให้นายตะวัน มะลิงามและนายทองสุข มะลิงาม ซึ่งเป็นควาญช้างของเรา ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการดูแลรักษาแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับช้าง ไปอยู่ที่นั่นหลายเดือน ไปสืบความเป็นมา ทำไมเขาถึงเจ็บขา มีบาดแผลอะไรอย่างไรเราก็รู้หมดแล้ว
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้น พบว่า พลายศักดิ์สุรินทร์มีสุขภาพและสภาพความเป็นอยู่ไม่ดีนัก จึงได้ร่วมกับคณะสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญไทยจากกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เดินทางไปตรวจสุขภาพและความเป็นอยู่ของพลายศักดิ์สุรินทร์อีกครั้ง โดยเรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนในวงกว้าง
หลังจากการตรวจสอบคณะสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ควรให้พลายศักดิ์สุรินทร์หยุดการทำงานและส่งตัวกลับมารักษาอาการป่วยที่ประเทศไทย ซึ่งตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 พลายศักดิ์สุรินทร์ถูกนำตัวไปรักษาและฟื้นฟูสุขภาพเบื้องต้นที่สวนสัตว์ Dehiwala โดยมีคณะผู้เชี่ยวชาญไทยและศรีลังกาให้การดูแล
จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 รัฐบาลศรีลังกาเห็นชอบ ว่าพลายศักดิ์สุรินทร์ ควรได้รับการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมโดยเร่งด่วน และเห็นชอบให้นำพลายศักดิ์สุรินทร์กลับมามารักษาอาการป่วยที่ประเทศไทย