NASAพบโมเลกุลคาร์บอนซับซ้อนในอวกาศอยู่ห่างจากโลกไปเพียง 1,350 ปีแสง โมเลกุลหลักของชีวิต ชี้ได้ว่าชีวิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
NASAตรวจพบโมเลกุลคาร์บอนซับซ้อนในอวกาศอยู่ห่างจากโลกไปเพียง 1,350 ปีแสงโมเลกุลหลักของชีวิต ชี้ได้ว่าชีวิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
นี่ก็เป็นข่าวข้อมูลอีกข่าวหนึ่งที่ว่าตรวจพบโมเลกุลคาร์บอนซับซ้อนในอวกาศอยู่ห่างจากโลกไปเพียง 1,350 ปีแสงในทิศเนบิวลานายพราน NASA ระบุว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าชีวิตเกิดขึ้นได้ยังไงตั้งแต่กระบวนสร้างระบบดาว
และข่าวนี้ข้อมูลนี้มันก็จะไปหักล้างกับความเชื่อของพวกอนุรักษ์นิยมหรือพวกคลั่งศาสนานับถือพระเจ้าที่อ้างว่าพระเจ้าสร้างจักรวาลสร้างชีวิตและสรรพสิ่งต่างๆขึ้นมา แต่ข้อมูลเหตุผลทางวิทยาศาสตร์จากการตรวจพบนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นได้อย่างไรและมีที่มาที่ไปอย่างไร
ไม่ใช่เอะอะเอะอะพระเจ้าสร้างๆทั้งๆที่หาตัวตนของพระเจ้ายังไม่เจอเลย
กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เวบบ์ เอาอีก! ตรวจพบโมเลกุลคาร์บอนซับซ้อนในอวกาศได้เป็นครั้งแรก
อยู่ห่างจากโลกไปเพียง 1,350 ปีแสงในทิศเนบิวลานายพราน NASA ระบุว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าชีวิตเกิดขึ้นได้ยังไงตั้งแต่กระบวนสร้างระบบดาว
โมเลกุลที่ว่าคือ CH3+ รู้จักกันในชื่อ เมทิลไอออนบวก มันประกอบด้วย คาร์บอน (C) 1 ตัวและไฮโดรเจน (H) 3 ตัวที่มีจำนวนอิเล็กตรอนน้อยกว่าปกติ ความสำคัญของมันก็คือ มันเป็นเหมือนรากฐานของสารประกอบอินทรีย์ต่าง ๆ ที่อยู่ในเซลล์เราทุกเซลล์
ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยคุณสมบัติทางเคมีของคาร์บอนทำให้มันจับกับตัวอื่น ๆ ได้ง่าย ถ้าใครเรียนเคมีมาจะรู้ว่าคาร์บอนนั้นไม่เรื่องมาก เอาได้หมดทุกตัว
นักดาราศาสตร์จึงถึงว่า CH3+ เป็นส่วนประกอบสำคัญของเคมีอินทรีย์ระหว่างดวงดาวมาช้านาน แต่ไม่เคยพบเมทิลไอออนตัวนี้เลยแม้แต่ครั้งเดียว
นี่จึงทำให้พวกเขาตื่นเต้นเมื่อ เจมส์ เวบบ์ ตรวจพบได้เป็นครั้งแรกในระบบดาวที่ชื่อว่า ‘d203-506’ ที่มีดาวฤกษ์เป็นดาวแคระแดง (Red dwarf Stars) ที่กำลังเปล่งแสงรังสี UV มันเล็กและเย็นกว่าดวงอาทิตย์พอสมควร แต่ก็ยังถือว่าเป็นดาวฤกษ์
“การตรวจพบนี้ไม่เพียงแต่ตรวจสอบความไวที่น่าเหลือเชื่อของ เวบบ์ เท่านั้น แต่ยังยืนยันถึงความสำคัญของ CH3+ ในเคมีระหว่างดวงดาวด้วย” Marie-Aline Martin-Drumel จากมหาวิทยาลัยปารีสซาคลาย (University of Paris-Saclay) กล่าว
NASA บอกว่าโดยทั่วไปแล้วรังสี UV นี้จะทำลายโมเลกุลที่ซับซ้อน (บนโลกก็เช่นกัน ถ้าไม่มีชั้นโอโซนและชั้นบรรยากาศช่วยกรอง รังสีนี้จะฉีก DNA ของเราเป็นชิ้น ๆ) ซึ่งทำให้การพบนี้เป็นเรื่องน่าประหลาดใจ เป็นไปได้ว่าแท้จริงแล้ว รังสี UV กลับช่วยให้เกิดปฏิกิริยาเคมีเพื่อสร้างโมเลกุลซับซ้อนขึ้นมา
“สิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารังสีอัลตราไวโอเลตสามารถเปลี่ยนคุณสมบัติทางเคมีของดิสก์(แผ่นฝุ่น)ก่อกำเนิดดาวเคราะห์ได้อย่างสิ้นเชิง จริง ๆ แล้วมันอาจมีบทบาทสำคัญในขั้นตอนทางเคมีเริ่มต้นของการกำเนิดชีวิต” Olivier Berné จากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศสบอก
ขณะเดียวกันก็น่าเสียดายว่า กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ไม่ได้พบน้ำอยู่แถวนั้นด้วย ซึ่งต่างจากระบบดาวที่กำลังเกิดดาวเคราะห์ทั่วไปที่มีโมเลกุลของน้ำอยู่
ที่มา: nasa.gov/feature/goddard