ส่องโลก นวัตกรรมใหม่ ผลิตรางรถไฟโซล่าเซลล์ ใช่ที่ว่างผลิตพลังงาน เพื่อลดมลภาวะโลกร้อน
ส่องโลก นวัตกรรมใหม่ ผลิตรางรถไฟโซล่าเซลล์ใช่ที่ว่างผลิตพลังงานเพื่อลดมลภาวะโลกร้อน
วิกฤติภาวะโลกรวน สภาวะอากาศโลกปั่นป่วนส่งผล ให้หลายๆประเทศในทวีปยุโรปตเล็งเห็นผลเสียและสภาพความเป็นอยู่ที่ยากลำบากขึ้น ต่างแข่งกันตามหาแหล่งพลังงานทางเลือกที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโลก นั่นคือพลังงานแสงแดด หรือ พลังงานแสงอาทิตย์โซล่าเซลล์นั่นเอง
โซล่าเซลล์นี้เหมาะสมที่จะใช้มานานแล้ว แต่ไม่มีการพัฒนาที่ต่อเนื่อวจริงๆเพราะมนุษย์ต้องการความสะดวกสบายใช้น้ำมันใช้พลังงานฟอสซิล ไฟฟ้าพลังงานอย่างเผาผลาญ สุดท้ายผลกระทบทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษต่อโลก จนโลกรวนร้อนผิดปกติยากที่จะแก้ไข
สภาวะโลกร้อน ตอนนี้เริ่มส่งผลกระทบรุนแรงก็เลยมาทุรนทุรายอยากจะมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์กันแล้วเพราะว่ามันหมดหนทางที่จะหาพลังงานทดแทนทางด้านอื่นนั้นเอง
บริษัทสตาร์ทอัพ Sun-Ways ในสวิตเซอร์แลนด์ผุดไอเดียใช้พื้นที่ว่างในรางรถไฟติดโซลาร์เซลล์เพื่อสร้างพลังงานทดแทน!
วิกฤติภาวะโลกรวนส่งผลให้ประเทศในทวีปยุโรปต่างแข่งกันตามหาแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนเพื่อทดแทนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
โดยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นหนึ่งในพลังงานที่กำลังเป็นที่นิยม เห็นได้จากแผงโซลาร์เซลล์ตามถนนข้างทาง อ่างเก็บน้ำ และพื้นที่การเกษตรในยุโรป
ระบบรางรถไฟโซลาร์เซลล์มีการคิดค้นอยู่ก่อนแล้วในประเทศเยอรมนี อิตาลี และอังกฤษ แต่ความพิเศษของรางรถไฟโซลาร์เซลล์จากทางบริษัท Sun-Ways นี้อยู่ตรงที่แผงโซลาร์เซลล์สามารถถอดออกได้ ถือเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาล้ำไปอีกขั้น เพราะแผงโซลาร์เซลล์บนรางรถไฟจำเป็นต้องถอดออกเพื่อตรวจดูความเสถียรของระบบอยู่เสมอ
เพียงวางแผงโซลาร์เซลล์ขนาดกว้าง 1 เมตรลงในช่องว่างระหว่างรางคู่ขนานของทางรถไฟ คล้ายกับปูพรมแดงให้รถไฟวิ่งไปด้านบน เท่านี้ก็สำเร็จแล้ว ระบบกลไกลูกสูบจะยึดแผงโซลาร์เซลล์ไว้กับรางรถไฟ และจะมีการสร้างตู้รถไฟพิเศษเพื่อไว้ใช้กับระบบรางรถไฟนี้โดยเฉพาะ
โดยระบบโซลาร์เซลล์จะส่งพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้เข้าสู่กริดไฟฟ้าและแจกจ่ายไปตามที่อยู่อาศัย นักพัฒนาคาดว่าหากวางแผงโซลาร์เซลล์ได้ตลอดเส้นทางรถไฟทั่วสวิตเซอร์แลนด์ เป็นระยะทาง 5,317 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่เทียบกับสนามฟุตบอล 760 สนาม จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 1 เทราวัตต์ชั่วโมงต่อปี คิดเป็น 2 เปอร์เซ็นต์จากพลังงานที่ใช้ทั้งหมดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ทางบริษัทตั้งเป้าว่าจะขยายธุรกิจไปประเทศใกล้เคียงอย่างเยอรมนี ออสเตรียและอิตาลีในอนาคต “ในโลกนี้มีเส้นทางรถไฟอยู่เป็นล้านกิโลเมตร เราเชื่อว่ากว่าครึ่งของเส้นทางรถไฟทั้งหมดในโลกสามารถใช้ระบบโซลาร์เซลล์ของเราได้” Baptiste Danichert ผู้ร่วมก่อตั้ง Sun-Ways กล่าว
ยังมีปัญหาอีกหลายจุดที่ทางบริษัทต้องพิสูจน์เพื่อที่จะก้าวเป็นหนึ่งในบริษัทรางรถไฟชั้นนำของโลก อาทิ หากมีรอยแตกเล็กๆ เกิดขึ้น อาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ แสงสะท้อนจากแผงโซลาร์เซลล์อาจทำให้ทัศนวิสัยของผู้ขับรถไฟแย่ลง รวมถึงปัญหาที่อาจตามมาจากน้ำแข็งและหิมะในฤดูหนาว
โดยทาง Sun-Ways ชี้แจงว่าแผงโซลาร์เซลล์ของทางบริษัทมีความแข็งแรงกว่าแผงโซลาร์เซลล์ทั่วไป ปัญหาเงาสะท้อนแก้โดยใส่ฟิลเตอร์กันเงาสะท้อนได้ ส่วนปัญหาเรื่องหิมะ ทางบริษัทสามารถสร้างระบบละลายน้ำแข็งได้
อ้างอิงจาก: euronews/green,interestingengineering,YouTube