หน้าที่ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง)
เนื้อหาโดย Seed
องค์กร
เป็นองค์กรตรวจสอบอิสระและเป็นกลาง ประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยมีการรายงานผลปฏิบัติงานดังนี้
- สตง. จัดทำรายงานผลปฏิบัติงานประจำปีเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี
- สตง. จัดทำรายงานผลปฏิบัติงานระหว่างปีเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีตามความจำเป็นและเหมาะสม (ม.49)
- รายงานที่ผ่านการพิจารณาตาม (1) และ (2) ให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ (ม.48 ว.3)
อำนาจหน้าที่
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)
- วางนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (ม.15 ว.แรก)
- ให้คำปรึกษาแก่ประธานรัฐสภาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ คตง. (ม.15 (1))
- ให้คำแนะนำแก่ผ่ายบริหารในการแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการควบคุมเงินของรัฐ (ม.15(2))
- กำหนดมาตฐานหรือมาตรการเกี่ยวกับการตรวจสอบการบริหารงบประมาณ สำหรับหน่วยรับตรวจ (ม.15(3))
- เป็นองค์กรชี้ขาดสูงสุดในกระบวนการทางวินัยทางงบประมาณและการคลัง (ม.15(5))
- พิจารณาคัดเลือกผู้ว่าการ (ม.15(6))
- แต่งตั้งกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลังหรือนุกรรมการ (ม.15(11)(12))
- พิจารณาคำร้องขอของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะรัฐมนตรีที่ขอให้ตรวจสอบ (ม.15(13))
- ออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศตามอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน (ม.15(14))
- เสนอข้อสังเกตและความเห็นต่อคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามมาตรา 16
- ออกระเบียบ ประกาศเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและการคลัง และการดำเนินการอื่น ตามมาตรา 52
คณะกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลัง
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาและกำหนดโทษปรับทางปกครองเบื้องต้น แก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของหน่วยรับตรวจที่ฝ่าฝืนมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมการเงินของรัฐที่คณะกรรมการกำหนด (ม.19)
ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
- เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการปฏิบัติงานของ สตง. (ม.26)
- ออกคำสั่งหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ สตง. (ม.37(1))
- กำหนดแผนการตรวจสอบ (ม.37(2))
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ (ม.37(3))
- ให้คำปรึกษา ความเห็น หรือข้อมูลแก่ คตง. (ม.37(5))
- จัดจ้างที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือสำนักงานเอกชน (ม.37 (6))
- กำหนดค่าสอบบัญชี ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทนอื่น (ม.37(7))
- รายงานผลการตรวจสอบต่อ คตง. และคณะกรรมการวินัยฯ (ม.37(8)(9))
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
- รับผิดชอบงานธุรการของ คตง. (ม.39(1))
- ตรวจสอบการเงินแผ่นดิน (ม.39(2))
- ตรวจสอบการรับจ่าย การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สิน รวมทั้งตรวจสอบผลการดำเนินงาน
- ตรวจสอบรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีและงบแสดงฐานะการเงินแผ่นดิน
- ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจำปี
- ตรวจสอบการจัดเก็บและการประเมินภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น
- จัดทำรายงานและติดตามผลการปฏิบัติงาน (ม.39(3)(4))
- ตรวจสอบเงินราชการลับหรือเงินที่มีลักษณะคล้ายกัน (ม.40)
เนื้อหาโดย: การเวลา
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: Judsee, การเวลา
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ทบ.มีคำสั่งให้ พล.ท.ณรงค์ สวนแก้ว เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ถูกย้ายจากตำแหน่ง หลังเกิดกรณีซ้อมที่รุนแรง6 วิธีเติมพลังใจในวันศุกร์ เพื่อเตรียมพร้อมรับวันหยุดสุดสัปดาห์แอฟ ทักษอร และ นนกุล คู่รักสุดอบอุ่น รับบทช่างภาพคู่ เฝ้ากองเชียร์ น้องปีใหม่ โชว์ความสามารถบนเวที"ผู้บริหารมาม่าไขปริศนา ยอดขายพุ่งเพราะเศรษฐกิจแย่ หรือแค่คิดไปเอง?"ดวงประจำสัปดาห์ 25 พ.ย.-1 ธ.ค. 67 by ภูริดา พยากรณ์Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"วิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าหมอเหรียญทองกำลังมองหาสถานที่เช่าสำหรับตั้งซูเปอร์คลินิก เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีบัตรทองจากโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ