นักวิทยาศาสตร์ค้นพบฟอสซิลบรรพบุรุษรุ่นแรกของมนุษย์บนก้อนหินอายุราว 1,600 ล้านปีที่ก้นทะเลลึกในประเทศออสเตรเลียตอนเหนือ
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบฟอสซิลบรรพบุรุษรุ่นแรกของมนุษย์บนก้อนหินอายุราว 1,600 ล้านปีที่ก้นทะเลลึกในประเทศออสเตรเลียตอนเหนือ
นี่ก็เป็นข้อมูลหักล้างของความเชื่อหลายศาสนาที่ว่าพระเจ้าสร้างชีวิต สร้างโลก
เมื่อนักวิทยาศาสตร์ค้นพบฟอสซิลบรรพบุรุษรุ่นแรกของมนุษย์บนก้อนหินอายุราว 1,600 ล้านปีที่ก้นทะเลลึกในประเทศออสเตรเลียสิ่งมีชีวิตที่ค้นพบนี้มีชื่อว่า Protosterol Biota เผยให้เห็นถึงโลกยุคโบราณที่สาบสูญไปแล้ว
นี่จึงเป็นข้อยืนยันได้ว่าชีวิตเกิดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ มากกว่าความเพ้อฝันจินตนาการที่ว่าพระเจ้าสร้างชีวิต สร้างโลก สร้างมนุษย์
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติค้นพบฟอสซิลบรรพบุรุษรุ่นแรกของมนุษย์บนก้อนหินอายุราว 1,600 ล้านปีที่ก้นทะเลลึกในประเทศออสเตรเลียตอนเหนือ สิ่งมีชีวิตที่ค้นพบนี้มีชื่อว่า Protosterol Biota เผยให้เห็นถึงโลกยุคโบราณที่สาบสูญไปแล้ว
แต่เดิมนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าบรรพบุรุษของมนุษย์คือ LECA (Last Eukaryotic Common Ancestor) เซลล์ยูคาริโอตที่อาศัยอยู่บนโลกเมื่อ 1,200 ล้านปีก่อน แต่งานวิจัยใหม่ฉบับนี้ได้ค้นพบ Protosterol Biota เซลล์ยูคาริโอตที่มีโครงสร้างทางเคมีที่เก่าแก่และดำรงอยู่บนโลกมาก่อน LECA การค้นพบครั้งนี้จึงพลิกวงการวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่ เพราะมนุษย์เราสามารถตามรอยบรรพบุรุษของตัวเองได้คืบหน้ามากขึ้นสู่ยุคที่เก่าแก่กว่าเดิม
เซลล์ยูคาริโอต คือ สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งบนโลกใบนี้ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มของโพรทิสตา ฟังไจ(รา) พืช และกลุ่มของสัตว์ มนุษย์เราจึงถือเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเซลล์ยูคาริโอตเช่นกัน ดังนั้น เราจึงสามารถมีบรรพบุรุษเป็น Protosterol Biota ได้
จะเห็นได้ว่าประเภทของเซลล์ยูคาริโอตในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นพืช หรือสัตว์ล้วนแข็งแกร่ง และดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ทั่วโลกมาจนถึงปัจจุบัน แต่แทนที่การตามหาฟอสซิลเก่าแก่ของเซลล์ยูคาริโอตจะเป็นเรื่องง่าย กลับกลายเป็นเรื่องโหดหินสุดๆ นักวิทยาศาสตร์ยังฉงนใจกันมากว่าทำไมถึงหาไม่เจอ สำรวจทีไรก็พบเจอแต่แบคทีเรีย จนคิดแล้วว่าหรือแบคทีเรียจะครองยุคโบราณกันแน่
จากการค้นพบครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงสรุปได้ว่าตัวเองแค่ยังไม่เข้าใจวิถีของ Protosterol Biota เท่านั้นเอง ตามจริงสามารถพบเจอได้โดยไม่ต้องตามหายากเย็นเลย แต่วิธีที่เคยใช้หามันผิด หลังจากทำโครงการวิจัยมา 10 ปีจึงได้พบวิธีที่ถูกต้องแล้วคือ ต้องศึกษาจากโมเลกุลไขมันที่พบในฟอสซิลบนหินอายุพันล้านปีแล้ววิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีของมัน
ศาสตราจารย์ Jochen Brocks นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย ANU (Australia National University) หนึ่งในผู้ค้นพบ Protosterol Biota กล่าวว่า “หลังจากมองข้ามโมเลกุลลักษณะนี้มามากกว่า 40 ปี ตอนนี้เรารู้แล้วว่าหินก้อนอื่นๆ ที่มีอายุมากกว่าพันล้านปีที่วางเรียงอยู่ตามทางที่น้ำไหลผ่านทั้งในมหาสมุทรและทะเลสาบล้วนมีโอกาสที่จะพบโครงสร้างฟอสซิลลักษณะเดียวกันกับ Protosterol Biota”
ยังไม่มีใครรู้หน้าตาที่แท้จริงของ Protosterol Biota แต่มีการคาดการณ์ว่ามันเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่าแบคทีเรียและอาจเป็นนักล่าชนิดแรกของโลกโดยล่าแบคทีเรียเป็นอาหาร เซลล์ยูคาริโอตตัวนี้พบได้ทั่วไปในระบบนิเวศทางทะเล และเป็นสิ่งมีชีวิตที่ก่อร่างระบบนิเวศของโลกเลยก็ว่าได้ มันอาศัยอยู่บนโลกเมื่อ 1,600 ล้านปีที่แล้วจนถึง 800 ล้านปีก่อน ตรงกับช่วงยุค Tonian Transformation ที่โลกเริ่มพัฒนาเข้าสู่ยุคที่สาหร่ายกับฟังไจเริ่มแพร่พันธุ์ Protosterol Biota เลยสูญพันธุ์ไปในที่สุด
“เหมือนกับที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีขนาดตัวใหญ่ขึ้นและขยายจำนวนมากขึ้น Protosterol Biota อาจหายไปเพื่อที่จะให้พื้นที่ยูคาริโอตเวอร์ชันปัจจุบันเช่น พืช และ สัตว์ ได้เติบโตขยายเผ่าพันธุ์ต่อไปก็เป็นได้” ศาสตราจารย์ Jochen Brocks กล่าว
ที่มา: all-stories/scientists-discover,reporter.anu.edu.au,YouTube