ประกาศราชกิจจานุเบกษา บังคับกำแพงกันคลื่นทุกขนาดต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ประกาศราชกิจจานุเบกษา บังคับกำเเพงกันคลื่นทุกขนาดต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม
ตัวอย่างของสภาวะแวดล้อมที่ปั่นป่วนคลื่นทะเลสัดสาดแนวชายฝั่งแผ่นดินถูกกัดเซาะด้วยน้ำทะเลจึงเป็นที่มาของกำแพงกันคลื่นและจะส่งผลกระทบสภาพแวดล้อมนั่นเอง
จึงมีประกาศราชกิจจานุเบกษา บังคับกำเเพงกันคลื่นทุกขนาดต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม (EIA) หลังจากภาคประชาชนทวงคืนชายหาดเรียกร้อง
EIA (Environmental Impact Assessment) หรือ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม คือ กระบวนการศึกษาและประเมินผลกระทบของการดำเนินโครงการหรือกิจการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต
.
เมื่อปี 2556 สำนักงานนโยบายและแผนฯ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีมติว่ากำแพงริมชายฝั่งความยาวตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไปไม่ต้องจัดทำ EIA ทำให้หลังจากนั้นในช่วงปี 2557-2562 หลังยกเลิกการทำ EIA พบว่ามีโครงการเพิ่มขึ้นกว่า 74 โครงการ งบประมาณรวมราว 6.9 พันล้าน
หน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งภาคประชาชน อย่างเช่น Beach for Life จึงเรียกร้องให้ #กำแพงกันคลื่นต้องทำEIA ให้ทุกโครงการจะต้องผ่านการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการประเมินและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของพวกเขา
แม้ว่ากำแพงกันคลื่นนั้นอาจถูกสร้างขึ้นมาด้วยจุดประสงค์การแก้ไขปัญหาในพื้นที่ แต่บางพื้นที่ก็ไม่จำเป็น เมื่อเข้ามาอาจเกิดปัญหาต่อความเป็นอยู่รวมถึงสิ่งมีชีวิตในพื้นที่มากกว่า เช่นปัญหา
ผลกระทบต่อทุกสิ่งมีชีวิตบริเวณชายหาด ทั้งเต่าที่วางไข่ริมชายหาด นกชนิดต่าง ๆ, #ประมงชุมชนเสียหาย เพราะกระแสคลื่นรุนแรงกว่าเดิม ส่งผลให้สัตว์ที่จะเข้ามาวางไข่หรืออาศัยใกล้ชายฝั่งนั้นหายไปหมด และ #ทำลายการท่องเที่ยว เพราะสูญเสียภูมิทัศน์ของชายหาด พ่อค้าแม่ค้าริมหาดเสียรายได้
.
กลุ่ม Beach for life - เครือข่ายทวงคืนชายหาด จึงเรียกร้องให้โครงการกำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 กลุ่ม Beach for life และเครือข่ายประชาชนทวงคืนชายหาด 94 องค์กรทั่วทั้งภาคใต้และภาคตะวันออกเคยรวมตัวกัน
#ทวงคืนชายหาดเคลื่อนพลมาปักหลักประท้วงที่หน้ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ดังนี้
1. ยกเลิกมติ ครม. ให้อำนาจกรมโยธาฯ ป้องกันชายฝั่ง
2. เรียกร้องให้รัฐให้โครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นต้องกลับมาทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
3. ฟื้นฟูชายหาดที่เสียหายจากกำแพงกันคลื่น
จึงเป็นการดีอย่างยิ่งที่ล่าสุด ประกาศราชกิจจานุเบกษาประกาศให้กำเเพงกันคลื่นทุกขนาดต้องทำ EIA ให้เกิดการพิจารณาเป็นเคส ๆ ไป และเกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่มากขึ้น หลังจาก 9 ปีที่ถูกเพิกถอน
อ้างอิงจาก: Facebook,ratchakitcha.soc.go.th/documents/, YouTube