กระบะฝีมือคนไทยที่ไม่ได้ใช้งาน
ราวปี 1992-1994 ได้มีนักธุรกิจจากกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์มารวมตัวกันเพื่อผลิตรถกระบะ ขนาดหนึ่งตันภายชื่อ บริษัท สยาม วิ.เอ็ม.ซี.ยานยนต์ จำกัด ภายใต้โลโก้ V.M.C ใช้สัญลักษณ์เป็นวงกลมและมีตัว M อยู่ตรงกลาง
เปิดโชว์ตัว V.M.Cในปี 1995 รถกระบะของไทยนาม V.M.C ก็ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ
เครื่องยนต์ ดีเซลรุ่น VM425SLTRS /แบบ 4 สูบ Turbocharger/ ขนาด 2498cc แรงม้าสูงสุด117 แรงม้าที่ 4200 รอบ/ แรงบิดสูงสุด 24 กก-ม.ที่ 2200 รอบ/ ความกว้างกระบอกสูบ 92 ม.ม.ระยะชัก 94 ม.ม/ อัตราส่วนกำลังอัด 22:1/ ความเร็วสูงสุด 173 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
* มิติ ยาว 4870 ม.ม. / กว้าง 1690 ม.ม. / สูง 1608 ม.ม. / ความยาวฐานล้อ 2950 ม.ม. / ความกว้างล้อหน้า 1395 ม.ม.และหลัง 1385 ม.ม. / ระยะต่ำสุด 200 ม.ม. / น้ำหนักรถ 1400 กก / น้ำหนักบรรทุกรวม 2700 กก.
* ระบบส่งกำลัง คลัทช์แบบแห้งแผ่นเดียวทำงานด้วยไฮโดรลิค / ระบบเกียร์ GT5AM-:GRAZIANO / อัตราทดเกียร์ 1=3.54; 2=1.96; 3=1.36; 4=1.00; 5=0.79; R=3.21
* ระบบกันสะเทือน หน้าแบบดับเบิลวิชโบน ทอร์ชั่นบาร์ ช็อคอัพ / หลังแบบเพลาแข็ง แหนบ ช็อคอัพ
* ระบบเบรค หน้าเป็นดิสค์เบรค / หลังดรัมเบรคปรับระยะผ้าเบรคอัตโนมัติ
* ยาง ขนาด 195 R 14 C-8 PR
เนื่อง จากความรีบร้อนในการเปิดตัวจึงทำให้มีจุดพกพร่องค่อนข้างมากในเรื่องของตัว ถังที่ประกอบไม่ค่อยเรียบร้อยและหน้าตาดูแปลกตาจึงไม่เป็นที่นิยมของคนไทย ทั้งที่ถ้าจะว่ากันไปแล้วไอ้รูปทรงเหลี่ยมที่ดูเทอะทะและรูปร่างหญ่โตในตอน นั้นมันพึ่งจะมาได้รับความนิยมเมื่อไม่นานนี้เอง อีกอย่างก็คือเครื่องยนต์ของ วีเอ็มซี ที่จ้างบริษัทชั้นนำในอิตาลีออกแบบและประกอบซึ่งดัดแปรงมาจากเครื่องยนต์ที่ วางในรถเก๋งซีดานยี่ห้อหรูของอิตาลีเลยทีเดียว ถ้าเทียบกับรถกระบะยี่ห้ออื่นๆในยุคนั้น วีเอ็มซี เหนือกว่าทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นด้านความแรง อัตราการบริโภคน้ำมัน
ที่เด่นที่สุดเห็นจะเป็นเรื่องควันดำที่ไม่ว่าจะเร่งเครื่องขนาดไหนก็ไม่มี ควันให้เห็นเพราะใช้ปั๊มแรงดันสูงควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นระบบ ที่ใช้หลักการเดียวกันกับที่เรารู้จักในนามคอมมอนเรียวในปัจจุบันซ้ำตัว เรือนของเครื่องยนต์ยังเป็นเนื้อเดียวกับเสื้อสูบจึงสามารถรับแรงบิดได้ มากกว่าและทนทานกว่าทุกยี่ห้อในยุคนั้น อีกอย่างก็คือเครื่องเดินเรียบและเงียบกว่ายี่ห้ออื่นๆ อีกทั้งมีช่วงล่างที่บึกบึนแกร่งเหนือกว่าใครทั้งหมดแต่แฝงไว้ด้วยการยึด เกาะที่หนึบหนับแถมนุ่มนวล ห้องโดยสารก็ถูกออกแบบให้มีขนาดกว้างนั่งสบายในแบบเก๋งไม่ว่าจะเป็นรุ่น มาตรฐาน รุ่นมีแค็ปหรือแม้แต่รุ่น4 ประตูที่ยี่ห้ออื่นๆต้องทำตามหลังจากนั้นอีก 2 ปีเลยทีเดียว และที่ประทับใจอีกอย่างก็คือวัสดุทุกชิ้นที่ใช้ประกอบล้วนเป็นวัสดุชั้นดี ทั้งสิ้นที่แม้แต่ทุกวันนี้ยังไม่มีรถกระบะยี่ห้อไหนที่ขายในเมืองไทยจะใช้ วัสดุเกรดดีขนาดนั้น
น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง!
น่า เสียดายและน่าเสียใจที่รถกระบะที่คิดค้นและลุงทุนโดยคนไทย ออกแบบเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ ถ้าเทียบกับยี่ห้อของต่างชาติในยุคนั้นแล้ว วี.เอ็ม.ซี มีคุณภาพก็เหนือกว่า ทนทานกว่า แบกน้ำหนักได้มากว่า ซึ่งถ้านำมาเทียบกับปัจจุบันแล้วยังเหนือกว่าหลายๆยี่ห้อด้วยซ้ำไป แถมเคาะราคาไว้ก็ถูกกว่ายี่ห้ออื่นเกือบแสนเลยทีเดียว แต่เนื่องจากความรีบร้อนหรืออาจจะเรียกได้ว่าการวางแผนที่ผิดพราดที่เร่ง เปิดตัวในสภาพที่ไม่เรียบร้อยดีและความพร้อมของศูนย์บริการก็ยังไม่มี แถมการประชาสัมพันธ์ก็อ่อน จึงทำให้เกิดภาพลบในสายตาคนไทยตั้งแต่เริ่มต้น ในที่สุดโลโก้นี้ก็เลือนหายไปภายในระยะเวลาแค่ปีเดียว บางครั้งก็เห็นมีวิ่งบ้างตามถนนแต่ก็ไม่มีใครรู้เลยว่ามันเป็นรถของคนไทย ยังคิดว่าเป็นรถนำเข้าเลย ซึ่งถ้าใครเห็นทุกวันนี้ล้วนถามไถ่ว่าเป็นกระบะยี่ห้อหรูจากชาติไหน? เพราะมันถูกมองว่าแปลกตายากต่อการยอมรับในยุค 1995 แต่ในลักษณะเดียวกันมันกับถูกยอมรับในภาพลักษณ์นี้หลังปี 2000 แสดงว่า วี.เอ็ม.ซี ล้ำหน้ากว่าชาวบ้านเขาทุกยี่ห้อเกือบ 10 ปี นี่ซิ! ฝีมือคนไทย.