ก้าวไกล vs เพื่อไทย ศึกชิงประธานสภา
สองพรรคเสียงข้างมากจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ที่ผ่านมา ซึ่งมีเสียงห่างกันเพียงแค่ 10 เสียง ในสภา
ทำให้ทั้งสองพรรคต่างออกมาโต้แย้งถึงตำแหน่ง "ประธานสภา" หรือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร์ ซึ่งเป็นประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติ และเป็นประธานรัฐสภาในการประชุมร่วมของทั้งสองสภา (ส.ส.+ส.ว.) เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย
นอกจากที่เหล่าบรรดาสมาชิกพรรคและแกนนำของพรรคทั้งสองพรรคโต้เถียงกันแล้ว บนหน้าบัญชีทางการบนโซเชียลมีเดียของทั้งสองพรรคก็ออกมาโพสต์เนื้อหาเพื่อย้ำถึงหลักการและเหตุผลที่ตำแหน่งนี้ควรเป็นของพรรคตน แม้ว่าทั้งสองพรรคจะบรรลุข้อตกลงในการทำ MOU แล้วก็ตาม
วันที่ 24 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา บัญชีทางการของพรรคก้าวไกลได้โพสต์ถึงเหตุผลที่ตำแหน่งนี้ควรเป็นของก้าวไกลไว้ว่าต้องการตำแหน่งนี้เพื่อผลักดัน 3 วาระหลัก คือ 1.เพื่อผลักดันกฎหมายที่ก้าวหน้า 2.เพื่อผลักดันให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเดินหน้าอย่างราบรื่น 3.ผลักดันหลักการ “รัฐสภาโปร่งใส” และ “ประชาชนมีส่วนร่วม” ให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย พร้อมกับย้ำว่าพรรคก้าวไกลต้องการตำแหน่งประธานสภา ไม่ใช่เพื่อตำแหน่ง แต่ต้องการอำนาจเข้าไปเปลี่ยนแปลงรัฐสภาไทยให้สามารถออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ สามารถแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้จริง และเป็นรัฐสภาที่เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ทำให้ระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็ง
[ 3 วาระที่พรรคก้าวไกลต้องการผลักดันในฐานะ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ]
พรรคก้าวไกลเดินทางบนเส้นทางการเมืองไม่ใช่เพื่อตำแหน่งหรืออำนาจ แต่เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง มี 3 วาระที่สำคัญมากของพรรคก้าวไกลที่เราจำเป็นต้องใช้สถานะ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ในการผลักดัน
📌 วาระแรก:… pic.twitter.com/l33REH7yjA
— พรรคก้าวไกล - V🍊TE #31 (@MFPThailand) May 24, 2023
ต่อมาในวันที่ 25 พ.ค. 2566 บัญชีทางการของพรรคเพื่อไทยก็ได้โพสต์ว่าหน้าที่ของประธานสภานั้นจะต้องเปิดทางให้กับทุกนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาลไม่ใช่แค่วาระของพรรคใดเท่านั้น อีกทั้งยังย้ำว่าประธานสภาต้องทำหน้าที่อย่างเป็นกลางตามรัฐธรรมนูญกำหนด
ประธานสภา ควรเปิดทางผลักดัน 'ทุกนโยบาย' ของ 'พรรคร่วมรัฐบาล' ให้สำเร็จ ไม่ใช่ผลักดันวาระของพรรคใดพรรคหนึ่งเท่านั้น
ปัจจุบันที่เป็น 'รัฐบาลผสม' มีภารกิจสำคัญใน MOU ร่วมกัน ไม่ว่าประธานสภาจะเป็นใคร มาจากพรรคใด ก็ต้องทำภารกิจร่วมกันให้บรรลุเป้าหมาย…
— พรรคเพื่อไทย Pheu Thai Party (@PheuThaiParty) May 25, 2023
สุดท้ายนี้ตำแหน่งประธานสภาซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในฐานะผู้ควบคุมการประชุมและประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติที่มีผลต่อทั้งการออกกฎหมาย การตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหาร และการเลือกนายกรัฐมนตรี จะตกเป็นของใครต้องติดตามกันต่อไป













