หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ต้นลูกปืนใหญ่ ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ที่มีผลคล้ายกับลูกปืนใหญ่สมัยโบราณ

โพสท์โดย Man

ต้นลูกปืนใหญ่ ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ที่มีผลคล้ายกับลูกปืนใหญ่สมัยโบราณ

ลูกปืนใหญ่ หรือ สาละลังกา (อังกฤษ: Cannonball tree) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่

ข้อมูลเบื้องต้น ลูกปืนใหญ่, สถานะการอนุรักษ์ ... เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ ผลลูกปืนใหญ่ ลักษณะทางพฤษศาสตร์ ลูกปืนใหญ่เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลแกมเทา แตกเป็นร่องและสะเก็ด ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว12-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักตื้น ใบหนา ดอกสีชมพูอมเหลืองหรือแดง ด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะขนาดใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร

ปลายช่อโน้มลง กลีบดอกหนา 4-6 กลีบ กลางดอกนูน สีขนสั้นสีเหลืองคล้ายแปรง เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีชมพูแกมเหลืองจำนวนมาก ทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ นานเป็นเดือน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-10 เซนติเมตร ผลแห้ง ทรงกลมใหญ่ ขนาด 10-20 เซนติเมตร เปลือกแข็ง สีน้ำตาลปนแดง ผลสุกมีกลิ่นเหม็นมีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่

ประวัติ ลูกปืนใหญ่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้ในประเทศเปรู, โคลัมเบีย, บราซิล และประเทศใกล้เคียง ในปี พ.ศ. 2424 สวนพฤกษศาสตร์ศรีลังกาได้นำเข้าลูกปืนใหญ่จากตรินิแดดและโตเบโก ต่อมาได้ขยายพันธุ์ไปทั่วศรีลังกา แต่ชาวศรีลังกากลับเรียกต้นลูกปืนใหญ่นี้ว่า ซาล (Sal) โดยไม่ปรากฏเหตุผลและไม่ทราบความเป็นมาของลูกปืนใหญ่ ส่วนมากอ้างว่านำมาจากอินเดีย และที่เรียกเพราะซาลเพราะเชื่อว่าก้านชูอับเรณูที่เชื่อมกันเป็นรูปผืนผ้าตัวงอเป็นตัว U นอน ปุ่มตรงกลางเปรียบเสมือนพระแท่นที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน มีเกสรสีเหลืองรายล้อมเปรียบเสมือนพระสงฆ์สาวกห้อมล้อมอยู่ ส่วนด้านบนเป็นที่บังแดดและน้ำค้างประดับด้วยดอกไม้ เนื่องจากมีดอกตลอดปีประกอบกับกลิ่นหอมที่ทนนาน ชาวศรีลังกาจึงนิยมใช้บูชาพระเช่นดอกไม้อื่นๆ

ลูกปืนใหญ่มิใช่พืชพื้นเมืองของศรีลังกาและอินเดีย และต่างจากสาละอย่างสิ้นเชิงทั้งถิ่นกำเนิดและพฤกษศาสตร์ จึงได้มีการจำแนกชื่อที่พ้องกันเพื่อเรียกให้ถูกต้องว่าสาละ (Sal Tree) หรือสาละอินเดีย (Sal of India) และลูกปืนใหญ่ (Cannonball Tree)

อนึ่ง ลูกปืนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติแต่อย่างใด เนื่องจากลูกปืนใหญ่มีดอกและผลตลอดปี ออกเป็นงวงยาวตามลำต้นตั้งแต่โคนขึ้นไป ซึ่งผลของของลูกปืนใหญ่มีเปลือกแข็งขนาดส้มโอย่อม ๆ ซึ่งไม่เหมาะแก่การนั่งพักหรือทำกิจได้ หากตกใส่ก็อาจทำให้บาดเจ็บได้

ต้นไม้ประจำสถาบัน เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยชินวัตรและในอดีตเคยเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นต้นราชพฤกษ์แล้ว) เป็นต้นไม้ประจำ โรงเรียนสารวิทยา เป็นต้นไม้ประจำ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้นไม้ประจำ วิทยาลัยพยาบาลบรมมราชชนนี แพร่ เก็บถาวร 2018-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

โพสท์โดย: Man
อ้างอิงจาก: สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ,YouTube
https://th.wikipedia.org/wiki/ลูกปืนใหญ่_(%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A)
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Man's profile


โพสท์โดย: Man
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: Lady Gagun
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เภสัชกรเผย!..อาหารเสริมวิตามิน 3 ชนิดที่คุณควรหยุดกิน!นักท่องเที่ยวถูกขโมยกระเป๋าในห้างไทย ต้องตามคนร้ายจากสัญญาณไอพอด ก่อนตำรวจจะจับตัวได้ พบเป็นชาวอินโดฯ ที่มาทำงานในไทย 😏20 แคปชั่นกวางเรนเดียร์ ฮาๆ น่ารักๆ แคปชั่นกวางน้อย กวางเหลียวหลัง อ่อยๆเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568เพื่อนเจ้าสาวจูบเจ้าบ่าวกลางเวที..งานนี้ช็อกกันทั้งงานกินเลี้ยงสุดพัง! ลูกค้าเจอลูกแม็กซ์ปนในจานผลไม้ที่โรงแรม10 ฉายาดารา 2567 เชยจนต้องขยี้ตา หรือเสน่ห์ย้อนยุคที่ยากจะปฏิเสธ?ผักที่มีแคลเซียมมากกว่านม 4 เท่า! ค้นพบแหล่งแคลเซียมธรรมชาติที่ขายดีตามตลาดแต่ยังน้อยคนรู้จัก
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
“มนุษย์เกิดมาทำไม?” คำถามที่ปลดล็อกความหมายของการมีชีวิต
กระทู้อื่นๆในบอร์ด รวมสาระบทความแบ่งปั่นกัน
หาดทรายแปลกๆแหวกธรรมชาติ หาดแก้วมหัศจรรย์แห่งอ่าว Ussuri รัสเซียดอกไม้ที่ชื่อว่า Puya berteroniana เป็น ดอกไม้สีแปลก เท่าที่เคยพบเห็นมารถตักดินยักษ์KRUPP BAGGER 288 รถตักดินขนาดใหญ่ที่สามารถขุดดินได้วันละ 240,000 ตันปรากฏการณ์ธรรมชาติแปลกๆครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยอัตราการตกของดาวตกที่ถี่มาก เฉลี่ยแล้วมากถึง 100,000 ดวงต่อชั่วโมง!
ตั้งกระทู้ใหม่