ลามัสซู เทพเจ้าลึกลับชาวอัสซีเรีย เป็นสัตว์ครึ่งคนครึ่งนกครึ่งกระทิง สิงโต มีหัวเป็นมนุษย์ ตัวเป็นสิงโตหรือกระทิง และปีกนก
ลามัสซู เทพเจ้า ลึกลับของชาวอัสซีเรีย เป็นสัตว์ครึ่งคนครึ่งนกครึ่งกระทิง สิงโต มีหัวเป็นมนุษย์ ตัวเป็นสิงโตหรือกระทิง และปีกนก
ลามา, ลัมมา หรือ ลามัสซู (คูนิฟอร์ม: 𒀭𒆗, an.kal; ซูเมอร์: dlammař; ต่อมาในอัคคาเดีย: lamassu; หรือบางครั้งเรียก ลามัสซูส) เป็นเทพารักษ์ในคติชาวอัสซีเรีย แรกเริ่มเป็นเทวีในคติซูเมเรียในชื่อ "ลัมมา" (Lamma) หรือ "ลามา" (Lama) และต่อมาในคติอัสซีเรียกลายเป็นสัตว์ครึ่งคนครึ่งนกครึ่งกระทิงหรือสิงโต โดยมีหัวเป็นมนุษย์ คัวเป็นสิงโตหรือกระทิง และปีกนก รู้จักในชื่อ "ลามัสซู" (Lamassu) ในบางบทความถูกระบุเป็นตัวแทนของเทพี อีกชื่อหนึ่งแต่ไม่
ปรากฏมากนักคือ เชดู (คูนิฟอร์ม: 𒀭𒆘, an.kal×bad; ซูเมอร์: dalad; อัคคาเดีย, šēdu) ซึ่งเป็นคำเรียกคู่ตัวผู้ของลามัสซู ลามัสซูเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของจักรราศี, ดวงดาว หรือกลุ่มดาว
ภาพวาดแสดงลามัสซู จากพจนานุกรมความรู้ศาสนา (1875)
เทพี ลามา
เทพี ลามา (Lama) หรือ ลัมมา (Lamma) ปรากฏแรกเริ่มเป็นเทพีสื่อกลาง โดยนำคำภาวนาของมนุษย์ส่งต่อให้เทพเจ้าองค์อื่น ๆ ส่วนเทพเจ้าที่เป็นผู้พิทักษ์ (เทพารักษ์) นั้นปรากฏเรียกชัดเจนในชื่อ "ลัมมา" หรือ "ลามา" (Lam(m)a)
ในจารึกคัสไซต์ที่ขุดพบในอูรุก ในวิหารของเทพีอีชตาร์ เทพีลัมมามีลักษณะเป็นเทพีสวมชุดที่มีรอยพับจีบ และเครื่องประดับศีรษะเป็นมงกุฏหนาม สองมือยกขึ้นในลักษณะขอพร เอ. สปิชเกต (A. Spycket) เสนอว่าภาพสตรีที่พบในยุคอัคคาเดียในลักษณะเดียวกันนี้ควรจะถือว่าเป็นลัมมาทั้งหมด ความเห็นที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง จนต่อมานิยมเรียกลักษณะสตรีแบบดังกล่าวในงานศิลปะยุคนี้ว่าลัมมา และนับตั้งแต่สมัยอัสซีเรียมา ลามัสซูกลายเป็นครึ่งคน ครึ่งนก และครึ่งสิงโตหรือกระทิง
ลัมมา, น่าจะมาจากมาริ, สมัยอีซิน-ลาร์ซา (2000-1800 ก่อน ค.ศ.), พิพิธภัณฑ์หลวงศิลปะและประวัติศาสตร์ บรัสเซลส์
ผู้ภาวนา (กลาง), เทพีบัมมา (ซ้าย), อิชตาร์ (ขวา). บาบีโลน, ราว 1800-1700 ปีก่อน ค.ศ., พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน
จารึกแสดงภาพเทพารักษ์ลัมมาถูกถวายโดยกษัตริย์นาจีมารุตตัชให้กับอิชตาร์, อูรุค (1307-1282 ปี ก่อน ค.ศ.), พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน
อ้างอิงจาก: wikipedia.org/wiki, Google,YouTube