ความเป็นมาของ "ยักษ์ไทย"
"ยักษ์" จะมีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ ทั้งที่เป็นพุทธ และพราหมณ์
โดยได้พรรณนาให้ทราบว่า "ยักษ์" นั้น เป็นพวกอมนุษย์ (คือไม่ใช่ทั้งมนุษย์และเทวดา) บางครั้งเรียกว่า "อสูร" (หรือ "รากษส")
การเป็นพวกอมนุษย์นั้น ทำให้ "ยักษ์" ถูกมองว่าเป็นพวกที่ใจดำอำมหิต ดุร้าย (ซึ่งจริงๆ แล้วยักษ์นั้นมีทั้งยักษ์ดี และยักษ์ที่ดุร้าย)
- "ยักษ์ดี" (ฝ่ายธรรมะ) จะมี "ท้าวกุเวร" หนึ่งในสี่จตุโลกบาล เป็นหัวหน้า
- "ยักษ์ร้าย" (ฝ่ายอธรรม) จะมี "ทศกัณฐ์" เป็นหัวหน้า
เดิมประติมากรรมรูป "ยักษ์" นั้น ได้ปรากฏมานานแล้ว แต่สันนิษฐานว่าเพิ่งจะมาแพร่หลายเด่นชัด และเป็นศิลปะอยู่ตามวัดวาอารามในช่วงยุค "ต้นรัตนโกสินทร์"
ทั้งนี้ อาจเนื่องจากอิทธิพลของพระราชนิพนธ์เรื่อง "รามเกียรติ์" (และภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) มีส่วนทำให้เกิดจินตนาการ ในการสร้างศิลปกรรมขึ้นมา
การที่ "ยักษ์" (ยืนถือกระบอง) เฝ้าประตูนั้น กล่าวกันว่า "ยักษ์" จะทำหน้าที่ช่วยปกป้องรักษา ขับไล่ภูติผี ความชั่วร้ายต่างๆ และช่วยปกป้องพระพุทธศาสนา
ศิลปกรรมรูปปั้นยักษ์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี อาทิเช่น..
- "ยักษ์วัดพระแก้ว" วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- "ยักษ์วัดโพธิ์" วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- "ยักษ์วัดแจ้ง" วัดอรุณราชวราราม
"ช่างฝีมือ" ในการปั้นรูปยักษ์สมัยรัชกาลที่ ๓ นั้นก็คือ "หลวงเทพรจนา" (กัน) ซึ่งเป็นผู้ปั้นรูปยักษ์สองตัวบริเวณซุ้มประตู หน้าพระอุโบสถ "วัดอรุณราชวราราม"
............................................
(*ขอบพระคุณภาพและข้อมูล)
: pinterest com
: nectec.or th