อนาคตไทยอาจมีหนี้สาธารณะเพิ่ม7.7แสนล้านบาท
หนี้กว่า 1.2 ล้านล้านบาทที่เป็นภาระต่อการคลังแล้ว ‘หนี้สาธารณะที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต’ โดยหนี้สินเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การอุดหนุนราคาพลังงานที่ยืดเยื้อ รัฐวิสาหกิจที่ฟื้นฟูกิจการไม่สามารถปฏิรูปองค์กรได้สำเร็จและต้องประสบปัญหาทางการเงิน รวมถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทยที่จะสร้างภาระรายจ่ายด้านสวัสดิการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยหนี้ที่อาจเกิดในอนาคตมีดังนี้
1. หนี้ที่อาจเกิดขึ้นหากวิกฤตราคาพลังงานยืดเยื้อ 267,952.0 ล้านบาท
หลังจากเหตุการณ์รัสเซียบุกยูเครนเริ่มต้นขึ้น สิ่งที่ตามมาทันทีคือราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก หากปล่อยให้กลไกราคาเป็นไปอย่างเสรีย่อมส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มคนรายได้น้อยหรือคนที่อาศัยอยู่ชนบทเนื่องจากรับผลของเงินเฟ้อมากกว่ากลุ่มอื่น[9] ดังนั้นภาครัฐจึงมีกลไกการควบคุมราคาน้ำมันและก๊าซผ่านกองทุนน้ำมันฯ และควบคุมราคาไฟฟ้าผ่านการไฟฟ้าส่วนผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จากข้อมูลปี 2022 กองทุนน้ำมันมีหนี้สินสุทธิ 123,155 ล้านบาท[10] และ กฟผ. ขาดทุนจากการควบคุมค่าไฟ 144,797 ล้านบาท[11] รวม 267,952.0 ล้านบาท ท้ายที่สุดแล้ว รัฐอาจต้องตั้งงบประมาณเข้ามาชดเชยหากเกิดการอุดหนุนราคาพลังงานยาวนานจนกระทบต่อสภาพคล่องในการดำเนินงาน หรือหน่วยงานรัฐเหล่านี้อาจไปทำการกู้ยืมเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องเอง ดังที่ได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดช่องให้กองทุนน้ำมันสามารถกู้ยืมเงินเองได้ในวงเงินไม่เกิน 150,000 ล้านบาท[12]
2.อุดหนุนรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนสะสม 506,791.8 ล้านบาท
ปัจจุบันประเทศไทยมีรัฐวิสาหกิจ 57 แห่ง โดยมีรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 4 แห่ง (รวมการบินไทย แม้จะเพิ่งพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสหกิจ แต่หน่วยงานรัฐหลายส่วนก็ยังคงถือหุ้นข้างมาก[13])
รัฐวิสาหกิจที่มีฐานะทางการเงินแย่และพร้อมล้มละลายหากรัฐเลิกอุดหนุน มีรายชื่อและยอดขาดทุนสะสมดังนี้
รายชื่อรัฐวิสาหกิจ | ยอดขาดทุนสะสม (ล้านบาท) | ข้อมูลล่าสุด |
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) | 246,531.0 | สิ้นสุดปี 2021 |
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) | 134,392.2 | ไตรมาส 1 ปี 2022 |
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) | 115,325.3 | ไตรมาส 3 ปี 2022 |
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธสน.) | 10,547.7 | ไตรมาส 2 ปี 2022 |
รวม | 506,791.8 |
อ้างอิงจาก:
↑9 ฉัตร คำแสง. (2022a). Stagflation ของแพง-เศรษฐกิจแย่ ยิ่งจนยิ่งเจ็บ.
↑10 ข้อมูลล่าสุดคือ 29 มกราคม 2023 โดยยอดหนี้สินสุทธิลดเหลือ 113,434.0 ล้านบาท
↑11 ประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 25 ธันวาคม 2022 และงบการเงิน กฟผ. ไตรมาส 3 ปี 2022
↑12 พ.ร.ก. ผ่อนผันให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการชำระหนี้ของของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 มาตรา 3 ส่วนแผนการกู้เงินและชำระหนี้ของกองทุนน้ำมันฯ ที่ได้รับการเห็นชอบแล้ว ดูมติ ครม. วันที่ 25 ตุลาคม 2022
↑13 แม้ว่าในปัจจุบันการบินไทยจะไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจแล้วตามกฎหมาย เนื่องจากกระทรวงการคลังถือหุ้นน้อยกว่า 51% แต่ยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ นอกจากนั้นหากนับกองทุนของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันทางการเงินกับหุ้นที่รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินถือโดยตรง สัดส่วนการถือหุ้นจะเท่ากับ 58.5% หากอิงจากข้อมูลผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 26/01/2023 (กระทรวงการคลัง 47.9% กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 8.5% และธนาคารออมสิน 2.1%) โดยในทางปฏิบัติ หากการบินไทยล้ม ภาครัฐก็อาจเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านการเ