โคฟุงสุสานทรงรูปรูกุญแจ ลึกลับและ สุสานจักรพรรดินินโตกุ โคฟุงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
โคฟุงสุสานทรงรูปรูกุญแจ ลึกลับและ สุสานจักรพรรดินินโตกุ โคฟุงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
ไดเซ็งโคฟุง (สุสานจักรพรรดินินโตกุ)
หมู่สุสานโมซุ (ญี่ปุ่น: 百舌鳥古墳群; โรมาจิ: Mozu Kofungun) เป็นกลุ่มของสุสานเมกะลิทในซาไก จังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมประกอบด้วยสุสาน 100 แห่ง
แต่ปัจจุบันสุสานทรงรูปรูกุญแจ กลมโค้ง และสี่เหลี่ยมคงเหลืออยู่น้อยกว่า 50%
เชื่อกันว่า สุสานจักรพรรดินินโตกุ (大仙陵古墳, Daisenryō Kofun)[3] โคฟุงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ใช้เวลาสร้างขึ้นกว่า 20 ปีในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ในยุคโคฟุง สุสานนี้ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าสร้างขึ้นเพื่อจักรพรรดินินโตกุแม้ไม่มีการยืนยันอย่างแม่นยำ
หมู่สุสานโมซุ百舌鳥古墳群ซาไก จังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น
บริเวณหมู่สุสานโมซุ
สร้างโดยอิงจากแผนที่ของภาพถ่ายทางอากาศจากองค์การภูมิสารสนเทศญี่ปุ่น กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว และบริการค้นหารูปถ่ายทางอากาศ
หมู่สุสานโมซุ 百舌鳥古墳群
พิกัด34°33′50″N 135°29′13″E / 34.564°N 135.487°Eข้อมูลเจ้าของสำนักพระราชวังหลวงสภาพสภาพปกติประวัติศาสตร์สร้างคริสต์ศตววรษที่ 3 ถึง 6
มรดกโลกโดยยูเนสโก
เกณฑ์การคัดเลือกวัฒนธรรม: ข้อ 3, 4อ้างอิง1593จารึก2019 (คณะกรรมการสมัยที่ 43)พื้นที่166.6 เฮกตาร์เขตบัฟเฟอร์890 เฮกตาร์
โบราณสถานแห่งชาติของญี่ปุ่น
บนหมู่เกาะญี่ปุ่น มีสุสานโบราณ (โคฟุง) มากกว่า 20,000 แห่งซึ่งเป็นมูนดินและหินตั้งอยู่เหนือหลุมศพของชนชั้นปกครอง ถูกสร้างขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึง 6
พวกมันเป็นตัวแทนของประเพณีทางวัฒนธรรมที่แสดงถึง "รูปร่างและการออกแบบของโคฟุง" ของลำดับทางสังคมการเมืองแบบขั้นบันได (sociopolitical hierarchical order) สุสานจักรพรรดิที่โดดเด่นที่สุดในหมู่สุสานนี้คือของจักรพรรดินินโตกุ และ จักรพรรดิริจู
ใน ค.ศ. 2010 รัฐบาลญี่ปุ่นเสนอชื่อให้สุสานจักรพรรดินินโตกุ หมู่สุสานโมซุ และหมู่สุสานฟูรูอิจิเป็นแหล่งมรดกโลก9 ปีถัดมาในวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 ทั้งสามได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกภายใต้เกณฑ์การคัดเลือก: แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมข้อ 3 และ 4 ในชื่อ "กลุ่มโคฟุงโมซุ-ฟูรูอิจิ: สุสานมูนดินของญี่ปุ่นโบราณ"
อ้างอิงจาก: th.m.wikipedia.org/wiki/,"Seven cultural sites inscribed on UNESCO's World Heritage List". UNESCO,youtube