ตำนาน อภินิหารพระแก้วมรกต
ตำนานพระแก้วมรกต
วันนี้ผมขออณุญาตินำเรื่องราวและความเป็นมาของ'พระแก้วมรกต' ที่หลายคนยังไม่รู้ และผมเองก็ไม่เคยรู้มาก่อนจนกระทั่งมาอบรมมัคคุเทศก์ที่มหาวิทยาลับศิลปากร และท่านอาจารย์ ศาตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ (ต่อไปนี้ ผมขออณุญาติเรียกท่านสั้นๆว่า'อาจารย์หม่อม'นะครับ) ท่านได้เล่าถึงประวัติ ความเป็นมา ก่อนที่จะมาประดิษฐานที่วัดพระแก้ว ในพระบรมมหาราชวังนั้น ท่านได้ถูกค้นพบที่ไหน? ถูกค้นพบได้อย่างไร? และประดิษฐาน ณ.ที่ใดมาบ้าง? ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ ได้เรียบเรียงโดย ศาตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล และข้อมูลนี้ ยังได้ถูกบันทึกไว้ในคู่มือมัคคุเทศก์ มหาวิทยาลัยศิลปากรอีกด้วย
ประวัติพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร หรือ'พระแก้วมรกต'นั้น มีตำนานที่ควรเชื่อถือได้คือ ถูกค้นพบครั้งแรกที่ วัดป่าเยี๊ยะ (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว จ.เชียงราย) ในปี พ.ศ.1977 หรือเมื่อเกือบหกร้อยปีที่แล้ว 'พระแก้วมรกต' ถูกซ่อนอยู่ภายในเจดีย์ขนาดใหญ่ เมื่อเจดีย์องค์นั้นถูกฟ้าผ่าจนยอดหักลง ก็มีพระสงฆ์รูปหนึ่งพบพระพุทธรูปปิดทองซ่อนอยู่ภายในเจดีย์ปูนที่ถูกฟ้าผ่า พระในวัดนั้นคิดว่าเป็นเพียงแค่พระพุทธรูปที่สร้างจากหินธรรมดาทั่วไป จึงได้นำ'พระแก้วมรกต'มาประดิษฐานไว้ภายในวิหาร เรียงรายคู่กับพระพุทธรูปองค์อื่นๆ สองสามเดือนต่อมา ปูนที่ฉาบบริเวณปลายพระนาสิก (จมูก) ของ'พระแก้วมรกต' หลุดออกมา เจ้าอาวาสจึงสังเกตเห็นว่าแท้ที่จริงแล้วภายในเป็นพระพุทธรูปซึ่งแกะสลักจากหินสีเขียวงดงาม ดังนั้น เจ้าอาวาสจึงกะเทาะปูนทั้งหมดที่ฉาบทับอยู่ จึงเป็นที่ปรากฏต่อทุกสายตาว่าแท้ที่จริงพระพุทธรูปองค์นี้แกะสลักจากหยกเขียวบริสุทธิ์เพียงชิ้นเดียวทั้งองค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 48 ซม. ความสูงจากฐานถึงพระเศียร 66 ซม.
วันนี้ผมขออณุญาตินำเรื่องราวและความเป็นมาของ'พระแก้วมรกต' ที่หลายคนยังไม่รู้ และผมเองก็ไม่เคยรู้มาก่อนจนกระทั่งมาอบรมมัคคุเทศก์ที่มหาวิทยาลับศิลปากร และท่านอาจารย์ ศาตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ (ต่อไปนี้ ผมขออณุญาติเรียกท่านสั้นๆว่า'อาจารย์หม่อม'นะครับ) ท่านได้เล่าถึงประวัติ ความเป็นมา ก่อนที่จะมาประดิษฐานที่วัดพระแก้ว ในพระบรมมหาราชวังนั้น ท่านได้ถูกค้นพบที่ไหน? ถูกค้นพบได้อย่างไร? และประดิษฐาน ณ.ที่ใดมาบ้าง? ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ ได้เรียบเรียงโดย ศาตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล และข้อมูลนี้ ยังได้ถูกบันทึกไว้ในคู่มือมัคคุเทศก์ มหาวิทยาลัยศิลปากรอีกด้วย
ประวัติพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร หรือ'พระแก้วมรกต'นั้น มีตำนานที่ควรเชื่อถือได้คือ ถูกค้นพบครั้งแรกที่ วัดป่าเยี๊ยะ (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว จ.เชียงราย) ในปี พ.ศ.1977 หรือเมื่อเกือบหกร้อยปีที่แล้ว 'พระแก้วมรกต' ถูกซ่อนอยู่ภายในเจดีย์ขนาดใหญ่ เมื่อเจดีย์องค์นั้นถูกฟ้าผ่าจนยอดหักลง ก็มีพระสงฆ์รูปหนึ่งพบพระพุทธรูปปิดทองซ่อนอยู่ภายในเจดีย์ปูนที่ถูกฟ้าผ่า พระในวัดนั้นคิดว่าเป็นเพียงแค่พระพุทธรูปที่สร้างจากหินธรรมดาทั่วไป จึงได้นำ'พระแก้วมรกต'มาประดิษฐานไว้ภายในวิหาร เรียงรายคู่กับพระพุทธรูปองค์อื่นๆ สองสามเดือนต่อมา ปูนที่ฉาบบริเวณปลายพระนาสิก (จมูก) ของ'พระแก้วมรกต' หลุดออกมา เจ้าอาวาสจึงสังเกตเห็นว่าแท้ที่จริงแล้วภายในเป็นพระพุทธรูปซึ่งแกะสลักจากหินสีเขียวงดงาม ดังนั้น เจ้าอาวาสจึงกะเทาะปูนทั้งหมดที่ฉาบทับอยู่ จึงเป็นที่ปรากฏต่อทุกสายตาว่าแท้ที่จริงพระพุทธรูปองค์นี้แกะสลักจากหยกเขียวบริสุทธิ์เพียงชิ้นเดียวทั้งองค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 48 ซม. ความสูงจากฐานถึงพระเศียร 66 ซม.
'พระแก้วมรกต'ถูกสร้างมาโดยใครและเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้แน่ชัด แต่การถูกซ่อนไว้ในปูนและพระเจดีย์อีกทีหนึ่งน่าจะเป็นเพราะว่า ในพระพุทธศาสนา กล่าวไว้ว่าศาสนาพระพุทธ จะมีอายุอยู่เพียง 5,000 ปี ดังนั้น หลังจากหมดยุคนี้ไป การค้นพบ'พระแก้วมรกต'ในอนาคตจะทำให้ศาสนารุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง ตอนนี้เริ่มสงสัยกันแล้วใช่มั้ยครับว่า พระพุทธรูปทำมาจากหยก แล้วทำไมเรียกมรกต? ผมก็เคยสงสัยแบบนี้เหมือนกัน และผมก็ได้ถามท่านอาจารย์ 'คุณชาย' คำตอบง่ายๆก็คือ เพราะหยกที่สีเขียวเหมือนมรกต และอาจเป็นเพราะคนท้องถิ่นในสมัยนั้น เมื่อเห็นว่าเป็นหินสีเขียว จึงสัญนิษฐานว่าเป็นมรกต
เรื่องราวของ'พระแก้วมรกต' ถูกคนเผยแพร่ออกอย่างกว้างขวาง ทำให้ชาวบ้าน และผู้คนมากมายอยากเข้าไปกราบไหว้สักการะ สักครั้งหนึ่งในชีวิตเพื่อเป็นศิริมงคล จนกระทั่งในปี พ.ศ.1979 เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ขณะนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกน ได้จัดขบวนช้างไปอันเชิญ'พระแก้วมรกต'เพื่อมายังเมืองเชียงใหม่ แต่ระหว่างทาง ช้างที่อัญเชิญ เกิดตระหนกตกใจ วิ่งไปยังเมืองลำปาง ไม่ยอมมายังเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าสามฝั่งแกน ส่งช้างตัวใหม่ไป ผลกลับเป็นเช่นเดิม คือช้างที่อัญเชิญ จะเดินไปทางลำปางอย่างเดียว พระเจ้าสามฝั่งแกน ผู้เชื่อเรื่องพลังเหนือธรรมชาติ จึงทรงคิดว่า 'พระแก้วมรกต'คงมีความประสงค์ที่จะอยู่เมืองลำปาง และเมืองลำปางก็ไม่ห่างจากเชียงใหม่มาก จึงให้'พระแก้วมรกต'ประดิษฐานที่เมืองลำปาง โดยชาวลำปางต่างบริจาคเงินเพื่อสร้างวัดพระแก้วขึ้น (ปัจจุบันคือวัดพระแก้วดอนเต้า)