User-generated content (UGC) คืออะไร ทำไมแบรนด์ถึงควรให้ความสำคัญ ?
ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของโซเชียลมีเดียและยุคการตลาด ทำให้มีในข้อมูลมากมายบนโลกออนไลน์ที่สามารถเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจในการบริโภคต่อแบรนด์ต่าง ๆ ได้ซึ่ง User generated content (UGC) นั่นเป็นสิ่งที่เรียกว่าสำคัญในยุคนี้ที่จะผลักดันแบรนด์ และ สินค้าต่าง ๆ ของเจ้าของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
โดยในบทความนี้จะมาอธิบายว่า User Generated Content คืออะไร ดีอย่างไร พร้อม User Generated Content ตัวอย่างของแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จมาให้ผู้อ่านรับชมกัน
User-generated content (UGC) คืออะไร
User-generated content หรือ UGC คือ เนื้อหา หรือ คอนเทนต์ที่คนทั่วไป กลุ่มผู้บริโภค หรือ กลุ่มลูกค้าตัวจริงที่ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับแบรนด์หรือกล่าวถึงแบรนด์นั้น ๆ โดยผู้บริโภคหรือลูกค้าที่มีความสนใจในตัวสินค้าหรือแบรนด์นั้น ๆ เอง โดยเป็นคอนเทนต์ที่ไม่ได้เกิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ไม่ได้รับผลประโยชน์จากทางแบรนด์ และทางแบรนด์ไม่ได้เสียเงินจ้างผู้ทำคอนเทนต์นั้น
โดยเนื้อหาแบบ User-generated content มีหลากหลายแบบตามสื่อต่าง ๆ เช่น วิดีโอ รูปภาพ บล็อก กระทู้พูดคุยแลก-เปลี่ยนข้อมูล แบบสำรวจ รวมถึง คอมเมนต์ต่าง ๆ ในสื่อโซเชียลมีเดีย นั่นเอง
ทำไมเราควรทำความรู้จัก User-generated content
ในปัจจุบันที่คอนเทนต์ต่าง ๆ ในโซเชียลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื้อหาหรือคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับแบรนด์ที่ผู้บริโภคนั้นสร้างขึ้นมาเองนั้น เริ่มเป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เป็นตัวเลือกในการตัดสินใจบริโภค มากกว่าคอนเทนต์ที่ตัวแบรนด์ผลิตขึ้นมาเอง ซึ่งคอนเทนต์แบบ User-generated content นั้น โดยผลสำรวจเผยว่าทำให้มีอิทธิพล และ สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการซื้อจริง มากกว่าคอนเทนต์ของแบรนด์เอง
โดยข้อมูลที่สามารถเห็นว่า UGC (User-generated content) ส่งผลต่อการตลาดของบริษัทมีดังนี้
- Authenticity (ความน่าเชื่อถือ) - ในพื้นที่ออนไลน์ที่มีการแข่งจันสูง แบรนด์ต่างๆจะได้รับประโยชน์จากบทวิจารณ์ ความรู้สึก และความสนใจที่ลูกค้าสร้าง UGC ขึ้น และ สามารถกระตุ้นการเข้าถึงของโซเชียลมีเดีย เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ยินดีที่จะยอมรับคำแนะนำสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการหากมีผู้บริโภคตัวจริงเป็นผู้สร้างขึ้นซึ่งตรงข้ามกับตัวแบรนด์เอง
- Brand Loyalty (ความภักดีต่อแบรนด์) – UGC ทำให้เกิดทัสนคติความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคที่สร้างคอนเทนต์และสามารถสื่อออกไปได้ในคอนเทนต์ที่สร้างขึ้น ซึ่งทำให้บริษัทต่าง ๆ สามารถได้รับความเชื่อถือจากลูกค้าได้โดยการให้ความสำคัญกับผู้ชมเป็นอันดับแรก และกระตุ้นให้พวกเขามีส่วนร่วมในการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์
- Cost-effectiveness (การลดค่าใช้จ่าย) – UGC เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการโฆษณาหรือโปรโมตแบรนด์โดยไม่ต้องเสียค่าจ้างและค่าโฆษณาตามช่องทางต่าง ๆ โดยทางฝั่งผู้บริโภคตัวจริงที่ทำคอนเทนต์จะสร้างความสนใจให้กับผู้บริโภคที่มีแนวคิดคล้าย ๆ กัน หรือ ผู้ที่สนใจในบางจุดของตัวสินค้าได้เอง
- SEO boost (เพิ่มยอดการค้นหา) – บทวิจารณ์หรือแบบสำรวจของผู้บริโภคในทางบวกจะสามารถเพิ่มยอดการค้นหาได้ เนื่องจากผู้บริโภคที่สร้าง UGC นั้นจะแนบลิงก์ย้อนกลับไปที่เว็บไซต์หรือที่มาของแบรนด์นั้น ๆ หรือมี keyword ทำให้ยอดการค้นหาเพิ่มมากขึ้น
ถึงแม้ว่า User-Generated content (UGC) มีประโยชน์มาก แต่ก็มีข้อเสีย เพราะทางแบรนด์จะไม่สามารถกำหนดเนื้อหาต่าง ๆ ในคอนเทนต์ได้มากนัก อาจทำให้เกิดคำที่ดูเกินจริง คำหยาบคาย หรือ โจมตีแบรนด์ต่าง ๆ ได้
คอนเทนต์ของ UGC มาจากใครบ้าง
โดยทั่วไปนั้น User-generated content มีมากมายทั่วโซเชียลมีเดียและตามสื่อต่างที่แพลตฟอร์มได้เตรียมพื้นที่ไว้ โดยเราสามารถแบ่งกลุ่มผู้บริโภคที่สร้างคอนเทนต์แบบ UGC หลัก ๆ ได้ดังนี้
Customer
กลุ่มลูกค้าที่บริโภคสินค้าหรือบริการแบรนด์นั้น ๆ และมาบอกเล่าประสบการณ์หรือข้อมูลต่าง ๆ เช่น คลิป unbox ที่เป็นที่นิยมในแพลตฟอร์ม TikTok หรือ story ใน Instagram เป็นการสร้าง UGC ที่ไม่ว่าจะเพราะทางแบรนด์เสนอหรือเพราะพวกเขาตัดสินใจแบ่งปันเนื้อหาเกี่ยวกับแบรนด์
Brand loyalists
ผู้บริโภคที่สนับสนุนและชื่นชอบในตัวของแบรนด์นั้น ๆ เป็นกลุ่มผู้ที่ติดตามข่าวสารของแบรนด์มากกว่ากลุ่มผู้บริโภคอื่น ๆ และทำคอนเทนต์ UGC ออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้คนรู้จักถึงแบรนด์หรือสินค้าที่ตนเองชื่นชอบ
Employees
เนื้อหาหรือคอนเทนต์ที่พนักงานสร้างขึ้น Employee-generated content หรือ (EGC) เพื่อแสดงให้เห็นถึงเรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังของแบรนด์ ที่มาที่ไป ขั้นตอนการทำงาน หรือ ความคิดเห็นที่พวกชอบทำงานให้กับแบรนด์ ช่วยสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์
UGC creators
ผู้สร้างคอนเทนต์ที่สร้างเนื้อหาเสมือน UGC เพื่อธุรกิจ ส่วนมากพวกเขาได้รับการสนับสนุนจากแบรนด์เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่เจาะจงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เจ้าของแบรนด์ต้องการ
รูปแบบของ User-generated content
คอนเทนต์แบบ UGC นั้นไม่ได้จำกัดอยู่ที่ขนาดของบริษัท หรือ ในอุตสาหกรรม หรือการนำเสนอผลิตภัณฑ์ เพียงเท่านั้น UGC นั้นสามารถใช้ได้กับทุกกลุ่มผู้บริโภคที่กำลังตัดสินใจหรือโน้มน้าวความสนใจในตัวแบรนด์นั้น ๆ อีกด้วย
โดยเราสามารถแบ่งประเภทของ User-generated content ได้หลัก ๆ ดังนี้
- Images (รูปภาพ) - รูปภาพของผู้บริโภคจริงที่โพสต์ตามโซเชียลมีเดีย บล็อก หรือ แพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ
- Videos and live streams (สื่อวิดีโอ และ สตรีมมิ่ง) - สื่อวิดีโอที่ผู้บริโภคถ่ายทำขึ้นเองและโพสตามโซเชียลมิเดียต่าง ๆ เช่น Youtube, Facebook, Stories Instagram และแพลตฟอร์มอื่น ๆ รวมถึงวิดีโอที่เป็นแนวการแกะกล่อง unbox หรือ การขนส่งผลิตภัณฑ์
- Social media content (เนื้อหาในโซเชียลมีเดีย) - โพสหรือข้อความในโซเชียลมีเดียใด ๆ ก็ตามที่ เกี่ยวกับแบรนด์ เช่น ทวีต โพส instagram หรือ Facebook
- Product reviews and testimonials (ความเห็นต่อสินค้า) - บทวิจารณ์ หรือ รีวิว จากลูกค้าในเว็บไซต์ของผลิตภัณฑ์หรือเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Google, Yelp, Tripadvisor และ G2
- Blog posts (โพสต์บล็อก) - โพสต์แนะนำสินค้าหรืออธิบายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่บล็อกเกอร์โพสบนบล็อกของตนโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนจากแบรนด์
- Q&A forum (กระทู้ถาม-ตอบ) - กระทู้ที่ผู้บริโภคสร้างขึ้นเพื่อถามความคิดเห็นหรือคำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้น ๆ
- Case studies (เนื้อหาไว้ศึกษา) - บทวิจารณ์จากผู้บริโภค โดยที่เจาะลึกถึงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ซึ่งจะอธิบายข้อดีหรือข้อเสียและความเป็นมาของผลิตภัณฑ์โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนจากแบรนด์
- Surveys (แบบสำรวจ) - มุมมองหรือความคิดเห็นของผู้บริโภคที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์หรือประสบการณ์การใช้งาน
การสร้าง UGC เพื่อเพิ่มยอดขาย
1.สร้างแคมเปญการแข่งขันหรือเข้าร่วม
เนื่องจากโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นชอบการแข่งขัน การถูกยอมรับ หรือ เข้าร่วม วิธีนี้จะถูกหยิบให้มาเป็นเทคนิคหนึ่ง ในการให้ลูกค้าได้มีการเข้าร่วมในการผลิต UGC ขึ้น วิธีนี้มักจะถูกใช้กับแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ หรือ สินค้าที่ให้ผู้บริโภคใช้งานจริง ๆ ตามจุดประสงค์ของสินค้านั้น ยกตัวอย่างเช่น GoPro แบรนด์ด้านกล้อง ที่นำภาพหรือวิดีโอจากผู้ใช้งานตัวกล้องของแบรนด์มาโพสนั่นเอง
2. สร้าง UGC โดยมีพื้นที่รีวิวและให้คะแนนจากลูกค้า
ในสมัยที่การริวิวสินค้าหรือบริการนั้นเป็นตัวเลือกในการช่วยตัดสินใจ สิ่งที่แบรนด์ควรทำนั้นคือ สนับสนุนให้ลูกค้ามได้มีพื้นที่แสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นทางเว็บไซด์ของตัวแบรนด์เอง หรือ ทางแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ รวมถึงช่องทางสาธารณะ วิธีนี้จะมีส่วนช่วยให้การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นั้นง่ายและรวดเร็วขึ้น
3.สร้างแฮชแท็ก
แฮชแท็กเป็นหนึ่งวิธีสำคัญในสมัยนี้เนื่องจากการค้นหาหรือแสดงแฮชแท็กที่ตรงกับความต้องการนั้นจะทำให้ผู้บริโภคสนใจและเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือตัวแบรนด์ได้ง่ายขึ้น ทางแบรนด์สร้างแฮชแท็กเฉพาะของแบรนด์คุณในกิจกรรมหรือสินค้าต่าง ๆ หรือเพื่อใช้กับแคมเปญได้ ทำให้เป็นแหล่ง UGC ที่ทุกคนสามารถค้นหาได้ง่ายนั่นเอง
4.มีรางวัลให้สำหรับผู้บริโภคที่ทำคอนเทนต์ UGC
ใช้รางวัลเป็นสิ่งใจจูงให้ผู้บริโภคจริงที่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการทำคอนเทนต์เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้น ๆ โดยรางวัลนั้นอาจจะใช้ยอดวิวหรือสุ่ม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ์แชร์คอนเทนต์หรือเพิ่มปริมาณ UGC ได้
5. ให้พนักงานของคุณมีส่วนร่วม
ไม่เพียงแต่ผู้บริโภคนั้นที่สร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ คุณยังสามารถเชิญชวนหรือให้พนักงานของคุณนั้นมีส่วนรวมในการสร้างคอนเทนต์ UGC ได้อีกด้วย เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และ ความจริงใจต่อผู้บริโภคมากขึ้น โดยเนื้อหานั้นเป็นได้ทั้ง วันทำงานประจำ หรือ เบื้องหลังการวางแผน และ สร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั่นเอง
ตัวอย่างการทำ UGC
UGC นั่นมีเนื้อหาที่หลากหลายตามประเภทสินค้าและรูปแบบการนำเสนอและมีหลายประเภทที่เป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน ในหัวข้อนี้เราจะยกตัวอย่างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการทำ User-generated content กัน
CLUSE - #CLUSEwatches
CLUSE คือแบรนด์นาฬิกาสำหรับผู้หญิงที่สร้างสรรค์ ความเรียบง่าย และ สง่างาม โดยกลยุทธ์ของ CLUSE นั้นได้สร้างและเชิญชวนผู้บริโภคให้ใช้แฮชแท็ก #CLUSE และ #CLUSEwatches เพื่อเป็นพื้นที่ให้ผู้บริโภคแสดงความคิดเห็น รูปภาพ วิดีโอของนาฬิกาได้โดยผ่านแฮชแท็กของ CLUSE จากนั้น CLUSE ได้รวมข้อมูล ความคิดเห็น ต่างๆในโซเชียลไว้บนเว็บไซต์หลักของ CLUSE และแสดงเป็น Lookbook เพื่อแสดงให้เห็นถึงผู้บริโภคที่ใช้งานจริงและความเอาใจใส่ในความคิดเห็นของผู้บริโภคอีกด้วย
ด้วยแคมเปญนี้ CLUSE ได้รับภาพถ่ายและวิดีโอ 19,000 รายการจากโซเชียลมีเดีย ซึ่งถือเป็นแหล่ง UGC ที่ดี และยอดการกล่าวถึงแบรนด์เพิ่มขึ้นถึง 19%
เทคนิคการทำ UGC ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
UGC นั้นมีข้อดีและมีเนื้อหาที่มากมาย แต่ไม่ใช่ทุกครั้งที่เจ้าของแบรนด์จะประสบความสำเร็จจากการใช้กลยุทธ์นี้ ในหัวข้อนี้จะสรุปเทคนิกการนำ UGC มาใช้อย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์ที่สุดกัน
- ขออณุญาตเจ้าของคอนเทนต์ทุกครั้ง - ควรถามเจ้าของเนื้อหาทุกครั้งก่อนนำไปเผยแพร่ซ้ำหรือใช้เนื้อหาในนั้นเสมอเมื่อทางแบรนด์ขออณุญาต นั่นแสดงถึงความชอบที่แบรนด์มีต่อเนื้อหาของพวกผู้บริโภคและให้เจ้าของเนื้อหานั้นเห็นถึงความเอาใจใส่ถึงผู้บริโภคและตื่นเต้นที่จะแบ่งปันเนื้อหากับทางแบรนด์ และควรระมัดระวังถึงเรื่องลิขสิทธิ์ด้วย
- ให้เครดิตแก่ผู้สร้างเนื้อหา - เมื่อนำข้อมูล UGC ของผู้บริโภคไปเผยแพร่ต่อหรือใช้เนื้อหานั้น ทางแบรนด์ควรให้เครดิตแก่ผู้ทำและที่มาของเนื้อหานั้นทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการกล่างถึงหรือการแท็กผู้สร้างโดยตรง
- ระบุให้ชัดเจนว่าต้องการเนื้อหาประเภทใด - เมื่อคุณสร้างแคมเปญหรือเชิญชวนให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมหรือทำคอนเทนต์ใด ๆ ก็ตาม ควรระบุให้ชัดเจนว่าเนื้อหาที่ต้องการหรือสินค้าประเภทใดที่คุณต้องให้เป็นเนื้อหา ซึ่งเมื่อระบุแล้วผู้สร้าง UGC จะสามารถสร้างเนื้อหาที่ตรงจุดและทางแบรนด์จะได้เนื้อหาที่ต้องการเช่นกัน
คำถามที่พบบ่อย
การทำ UGC เหมาะกับธุรกิจประเภทใด?
เรียกได้ว่า UGC นั้นเหมาะกับธุรกิจทุกประเภทที่ต้องการเพิ่มยอดขาย, ความน่าจดจำของแบรนด์, ลดค่าใช้จ่ายของการโปรโมตแบรนด์ และ สร้างความมั่นใจในตัวสินค้าและแบรนด์นั้น ๆ
ข้อสรุปของ UGC
User-generated content หรือ UGC นั้นเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้แบรนด์ต่างๆหันมาให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ด้วยเนื้อหาที่สร้างความั่นใจและความเชื่อมั่นรวมถึงช่องทางที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นในโซเชียลมีเดีย UGC นั่นจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีทีดีสำหรับแบรนด์ที่ต้องการกระตุ้นตลาดนั่นเอง