ประโยชน์ของขี้เหล็กไม่ธรรมดา
ผักขี้เหล็ก โดยมีชื่อด้านวิทยาศาสตร์ว่า Senna siamea (Lam.) H.S.Irwin & Barneby มีคุณค่าทางโภชนาการที่อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ ใบขี้เหล็กเป็นแหล่งของธาตุเหล็ก และดอกขี้เหล็กเป็นแหล่งที่ดีของ provitamin A vitamin C เบตา-แคโรทีน บำรุงสายตา ผิวพรรณ ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค ทำให้แผลหายเร็วขึ้น มีฤทธ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง มีเส้นใยอาหารช่วยในการขับถ่าย ในใบขี้เหล็กยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง แก้เครียด สงบประสาทได้ดี ช่วยให้นอนหลับสบาย และระงับอาการตื่นตัวทางประสาทได้
โดยใบขี้เหล็ก 100 กรัมจะมีเบต้าแคโรทีน 1.4 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 156 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 190 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 5.8 มิลลิกรัม, เส้นใยอาหาร 5.6 กรัม, โปรตีน 7.7 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 10.9 กรัม, พลังงาน 87 กิโลแคลอรี
ส่วนที่ใช้ : ดอก ราก ลำต้นและกิ่ง ทั้งต้น เปลือกต้น แก่น ใบ ฝัก เปลือกฝัก ใบแก่
สรรพคุณ :
“ดอก”
– รักษาโรคเส้นประสาท นอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย
– รักษาหืด รักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ
– รักษารังแค ขับพยาธิ
“ราก”
– รักษาไข้ รักษาโรคเหน็บขา ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ให้หย่อน แก้ฟกช้ำ แก้ไข้บำรุงธาตุ ไข้ผิดสำแดง
“ลำต้นและกิ่ง”
– เป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว
“ทั้งต้น”
– แก้กระษัย ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ รักษาโรคหนองใน รักษาอาการตัวเหลือง เป็นยาระบาย บำรุงน้ำดี ทำให้เส้นเอ็นหย่อน
“เปลือกต้น”
– รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคหิด แก้กระษัย ใช้เป็นยาระบาย
“แก่น”
– รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคหนองใน ใช้เป็นยาระบาย
– รักษาวัณโรค รักษามะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร
“ใบ”
– รักษาโรคบิด โรคเบาหวาน แก้ร้อนใน รักษาฝีมะม่วง
– รักษาโรคเหน็บชา ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ เป็นยาระบาย
– รักษาอาการนอนไม่หลับ
“ฝัก”
– แก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้ระส่ำระสายในท้อง
“เปลือกฝัก”
– แก้เส้นเอ็นพิการ
“ใบแก่”
– ใช้ทำปุ๋ยหมัก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้อาการนอนไม่หลับ กังวล เบื่ออาหาร
ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใบสดหนัก 50 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า (ใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ไว้ 7 วัน คนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ กรองกากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก) ดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชา ก่อนนอน
แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ยาถ่าย
ใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นขนาดประมาณ 2 องคุลี ใช้ 3-4 ชิ้น ใช้ใบอ่อนหรือแก่ต้มกับน้ำ 1-1½ ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มเมื่อตื่นนอนเช้า หรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว