Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ขั้นตอนง่ายๆ การขอใช้ไฟฟ้าทางการเกษตร สำหรับเกษตรกรพี่น้องไทย

โพสท์โดย สินีนาท

สำหรับไฟฟ้าเกษตร แตกต่างจากไฟฟ้าปกติที่ใช้ในครัวเรือน เพราะไฟฟ้าเกษตรจะใช้เฉพาะกลุ่มที่มีการทำเกษตร   ซึ่งคนทั่วไปไม่สามารถใช้ได้ ดังนั้นคนที่จะขอใช้ได้ต้องเป็นชาวเกษตรที่มีพื้นที่สวนไร่นาเป็นของตัวเองพร้อมมีหลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าของสิทธิถึงจะทำเรื่องเข้าไปขอใช้ไฟเกษตรนี้ได้  และแน่นอนว่าการขอไฟฟ้าเกษตรเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงความสะดวกกับเครื่องทุ่นแรงที่ต้องใช้ไฟฟ้า แต่อีกนัยยะหนึ่งคือการลดรายจ่ายที่น้อยลง เพราะไฟฟ้าเกษตรจะมีราคาถูกกว่าไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือน

 

สำหรับขั้นตอนการขอใช้ไฟเกษตรมีขั้นตอนดังนี้ 

  1. ตรวจสอบให้แน่ชัดว่าพื้นที่ที่จะขอใช้ไฟไม่ได้เป็นพื้นที่หวงห้ามจากราชการ เพื่อที่จะได้รับการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ
  2. เส้นทางต้องเป็นสาธารณะและสามารถสัญจรได้อย่างสะดวก
  3. จุดที่ขอใช้ไฟฟ้าต้องสามารถเข้าถึงได้จากระบบจำหน่ายโดยวิธีปักเสาพาดสาย
  4. ได้รับการรับรองด้านขนาดพื้นที่และชนิดของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ
  5. ระบุแหล่งน้ำที่จะใช้ในการผลิตทางการเกษตรให้ชัดเจน เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ ชนิดไหน ผลผลิตคืออะไร 
  6. ที่ดินต้องต้องไม่ถูกถือครองโดยเอกชนรายใหญ่ และต้องมีเอกสาร/หลักฐานสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือหนังสือสัญญาเช่าที่ดินทำกินที่ถูกต้องตามกฎหมายของพื้นที่ทำการเกษตร
  7. เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ขอติดตั้งมิเตอร์ขนาดไม่เกิน 15(45) แอมป์ต่อ 1 ราย ซึ่งมีค่าธรรมเนียม ดังนี้

ติดตั้ง 5(15) แอมป์ ราคา 1,000 บาท

ติดตั้ง 15(45) แอมป์ 1 เฟส ราคา 6,450 บาท

ติดตั้ง 15(45) แอมป์ 3 เฟส ราคา 21,350 บาท

* หมายเหตุ * อ่านรายละเอียดความแตกต่างระหว่างไฟ 1 เฟส และ ไฟ 3 เฟส ได้ที่นี้

  1. ทั้งมิเตอร์เก่าและใหม่ต้องอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของการไฟฟ้าเดียวกัน และต้องสามารถออกใบแจ้งหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าของมิเตอร์ใหม่ โดยแจ้งเก็บเงินที่มิเตอร์เก่าได้
  2. ค่าใช้จ่ายในการขยายเขตต่อรายเฉลี่ยไม่เกิน 50,000 บาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับผิดชอบค่าใช้จ่าย

 

จากข้างต้นที่เป็นเกณฑ์ในการเข้าร่วมโครงการแล้ว ยังมีเอกสารเพิ่มเติมที่ผู้ขอยื่นเรื่องต้องเตรียมไว้ด้วย ดังนี้

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน
  2. สำเนาบัตรประชาชน
  3. สำเนาโฉนดที่ดิน
  4. เอกสารรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ

สำหรับอัตราค่าไฟที่ต่างออกไปจะไม่เหมือนค่าไฟในครัวเรือน 

โดยค่าไฟเกษตรมีอัตรา ดังนี้ อัตราปกติ (บาท / หน่วย)

– 100 หน่วยแรก (หน่วยที่ 0 – 100) 2.0889

– เกิน 100 หน่วยขึ้นไป (หน่วยที่ 101 เป็นต้นไป) 3.2405

ค่าบริการ 115.16

จากข้อมูลนี้เห็นได้ว่าเป็นข้อดีสำหรับพี่น้องชาวเกษตรกรไทยทุกท่าน ซึ่งยังคงมีอีกหลายท่านไม่ทราบว่าพื้นที่ ที่เราทำการเกษตรอยู่สามารถเข้าไปขอปรับเปลี่ยนการใช้ไฟฟ้าให้เป็นไฟฟ้าเกษตรได้ ซึ่งจะสามารถลดตันทุนในเรื่องค่าใช้จ่ายลงไปได้อีกหลายเท่าตัวเลย ซึ่งในอนาคต หากเรื่องนี้ไปสอดคล้องรับกับนโยบายของพรรคชาติไทยพัฒนา  ที่ให้ความสำคัญกับพี่น้องเกษตรกรไทยโดยการนำเสนอนโยบายขยายเขตไฟฟ้าการเกษตรทั่วประเทศหน่วยละ 2 บาท เท่านั้น ก็จะยิ่งช่วยให้พี่น้องเกษตรกรไทย มีเงินเหลือเก็บเหลือใช้ไว้มากขึ้น

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
สินีนาท's profile


โพสท์โดย: สินีนาท
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
25 VOTES (5/5 จาก 5 คน)
VOTED: หลานป้าพริก, ธรรมชาติบำบัด, กระทิบูด, แหวนดอกไม้วงนั้น, สินีนาท
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รัชกาลที่10 พัฒนาประเทศอาภัสรา หงสกุล – ความงามจากธรรมชาติที่โลกจารึก นางงามจักรวาลคนแรกของไทย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
แพนธีออน (Pantheon) กรุงโรมทำไมทุกคนควรเก็บเงินร้อนนี้ต้องรอด!แชร์ 7 เคล็ดลับเนรมิตบ้านให้เย็นลงได้ง่ายๆ สไตล์คนรู้จริงฝรั่งข้ามจากอีกฟากโลก สู่ข้าวผัดปูจานเด็ด ฝันเป็นจริงที่เมืองไทย
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง