Big Ben หอนาฬิกา เป็นหอนาฬิกา 4 หน้าปัดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
วันนี้ก็จะมานำเสนอที่สุดในโลกนะครับแต่มันจะเป็นหอนาฬิกาที่มนุษย์สร้างและใหญ่ที่สุดในโลกเป็นหอนาฬิกา 4 หน้าปัด
เรามาดูกันเลยนะครับว่ามันจะเป็นอย่างไร
Big Ben หอนาฬิกา เป็นหอนาฬิกา 4 หน้าปัดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
หอนาฬิกาบิ๊กเบน (Big Ben) หนึ่งในนาฬิกาที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก สัญลักษณ์สำคัญของทั้งกรุงลอนดอนและสหราชอาณาจักร รวมถึงปรากฎอยู่ในงานศิลปะ หนังสือ ภาพยนตร์ และโทรทัศน์มากมาย ในบทความนี้พาไปติดตามข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับประวัติของหอนาฬิกาบิ๊กเบน เช่น บิ๊กเบนไม่ใช่ชื่อหอนาฬิกา การออกแบบและก่อสร้างหอนาฬิกาบิ๊กเบน และความเที่ยงตรงและแม่นยำของนาฬิกาบิ๊กเบน
นาฬิกาบิ๊กเบน ออกแบบโดย Edmund Beckett Denison ร่วมกับ Sir George Airy และ Edward Dent ในช่วงประมาณปี 1851-52 ใช้เวลา 2 ปี ในการสร้างกลไกนาฬิกาให้เสร็จสมบูรณ์และมีราคา 2,500 ปอนด์ (เทียบเท่ากับ 285,000 ปอนด์ในปัจจุบัน) มีการออกแบบให้เข็มนาฬิกาขนาดใหญ่ไม่เสี่ยงจากแรงกดดันจากภายนอก เช่น นก หรือ ลมกระโชกแรง ที่อาจรบกวนการแกว่งของลูกตุ้มของนาฬิกาซึ่งส่งผลต่อความเที่ยงตรงแม่นยำของนาฬิกา เรียกว่า Double Three-legged Gravity Escapement
บิ๊กเบน ไม่ใช่ชื่อหอนาฬิกา แต่ว่ากันว่าเป็นชื่อระฆังใบใหญ่ที่สุด หนัก 15.1 ตัน ซึ่งแขวนไว้บริเวณช่องลมเหนือหน้าปัดนาฬิกา ทั้งนี้มีระฆังรวมทั้งสิ้น 5 ใบ โดย 4 ใบจะถูกตีเป็นทำนอง ส่วนระฆังใบใหญ่ที่สุดจะถูกตีบอกชั่วโมงตามตัวเลขที่เข็มสั้นชี้บนหน้าปัดนาฬิกา ขณะที่นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่าชื่อ บิ๊กเบน นี้เป็นชื่อเล่นของ Sir Benjamin Hall ผู้รับหน้าที่เป็นผู้บัญชาการคนแรกของการทำงาน เพราะเขาเป็นคนรูปร่างสูง
นาฬิกาบิ๊กเบน เป็นนาฬิกา 4 หน้าปัดที่ตีบอกเวลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ละหน้าปัดทำจากแก้วโอปอล 324 ชิ้นในกรอบเหล็กหล่อ หน้าปัดมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 เมตร เข็มนาทีทำจากแผ่นทองแดง ยาว 4.3 เมตร ส่วนเข็มชั่วโมงทำจากโลหะปืน ยาว 2.7 เมตร นาฬิกาบิ๊กเบน จะตีระฆังทุกๆ ชั่วโมง และระฆังขนาดเล็กที่อยู่รอบๆ 4 ใบจะตีระฆังทุกๆ 15 นาที นาฬิกาและระฆังถูกติดตั้งพร้อมกันในเดือนเมษายนปี 1859 และเริ่มบอกเวลาในวันที่ 31 พฤษภาคม ปี 1859 มีการทดสอบที่ซับซ้อนเพื่อให้แน่ใจว่านาฬิกามีความแม่นยำ
โดยที่ หอดูดาวแห่งกรีนิช หรือ Royal Observatory Greenwich ซึ่งเป็นโครโนมิเตอร์ (chronometer) มาตรเวลาที่แม่นยำที่สุดของประเทศ มีการใช้สายโทรเลขเพื่อส่งเวลาบนโครโนมิเตอร์ จาก Royal Observatory ไปยังพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องนาฬิกา ผ่านการทดสอบและบอกเวลาที่ถูกต้องได้แน่นอน
หอนาฬิกาบิ๊กเบนมีความสำคัญมากเพราะหอดูดาวแห่งกรีนิช หรือ Royal Observatory Greenwich ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมเวลามาตรฐานของโลกใช้เป็นเครื่องบอกเวลามาตรฐาน
สถานีวิทยุ BBC ออกอากาศเสียงตีระฆังของบิ๊กเบนไปยังสหราชอาณาจักรครั้งแรกในวันส่งท้ายปีเก่า ปี 1923
บิ๊กเบนเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ หอเซนต์สตีเฟน (St Stephen’s Tower) จนถึงปี 2012 เปลี่ยนชื่อเป็นหอเอลิซาเบธ (Elizabeth Tower) ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แต่คนจำนวนมากรู้จักและคุ้นเคยในชื่อ บิ๊กเบน หรือ หอนาฬิกาบิ๊กเบน
สามารถเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน มาลงได้ที่สถานี Westminster