Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน กินอะไรดี
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

อดีตแห่ถอนเงินในไทย!!! เมื่อ Bank Run ก็เคยเกิดขึ้นในไทย

โพสท์โดย unboxyourthinking

ในช่วงเวลานี้คงไม่มีข่าวไหนกระเทือนการโลกการเงินเท่าธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ล่มสลายในเวลาเพียง 48 ชั่วโมงเนื่องจากคนแห่ถอนเงิน แต่ทราบหรือไม่ว่าประเทศไทยก็เคยเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้แล้วในในปี พ.ศ. 2540 จนก่อให้เกิดเป็นวิกฤติต้มยำกุ้งลุกล่มไปทั่วโลก ประเทศไทยประสบปัญหาได้อย่างไร เรามาดูกันครับ

 

สรุปสาเหตุการล่มสลายของ SVB โดยย่อ

 

ธนาคาร SVB เป็นธนาคารขนาดยักษ์ในประเทศอเมริกาโดยมีเงินฝากถึง 6 ล้านล้านบาทด้วยกัน เรียกได้ว่าใหญ่กว่าจำนวนเงินฝากของธนาคารกสิกรประมาณ 2 เท่าได้ แต่การมีเงินฝากเท่ากับมีรายจ่ายเป็นดอกเบี้ยให้ผู้ฝากเงิน ซึ่ง SVB ที่มีเงินฝากมหาศาลจำเป็นต้องนำเงินไปปล่อยสินเชื่อ (Loan) หรือไปซื้อพันธบัตร (Bond) หรือหุ้นกู้ (Debenture) เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าดอกเบี้ยดังกล่าว

 

แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ต้องการจะสู้อัตราเงินเฟ้อโดยขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ซึ่งกระทบต่อดอกเบี้ยเงินฝากของ SVB ทำให้รายจ่ายสูงขึ้นมากแต่ความสามารถในการหารายได้โดยการปล่อยสินเชื่อกลับไม่มากตามไปด้วย อาจเป็นเพราะดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต้องปรับสูงขึ้นหรือสาเหตุอื่นๆ แต่หากธนาคารสามารถประคองตัวไปได้จนเศรษฐกิจพลิกฟื้นก็จะเข้าสู่สภาวะปกติในที่สุด

 

แต่ปัญหาสำคัญเกิดขึ้นเมื่อผู้ฝากรู้สึกไม่สบายใจหรือวิตกกังวลในความมั่นคงของธนาคาร ทางผู้ฝากหลายๆ คนจึงแห่ถอนเงินของตนออกมา (Bank run) และเมื่อมีผู้ถอนมากขึ้นข่าวลือเรื่องธนาคารอาจไม่มีเงินก็กระจายเป็นวงกว้างก็ทำให้คนมาถอนเงินเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ธนาคารจำเป็นที่จะต้องสำรองเงินให้พอกับระลอกมหาชนที่มาถอนเงิน

 

เมื่อไม่มีเงิน SVB จำเป็นต้องขาย Bond ในราคาต่ำเพื่อให้มีเงินมากพอ (นึกภาพถึงราคาไฟไหม้ ที่ยอมขายขาดทุนหรือกำไรแทบไม่มีเพื่อหาทางเอาเงินมาพยุงกิจการ) แต่การขายที่ราคาต่ำหมายถึงรายได้ที่อาจไม่พอจะจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก สถานการณ์ยิ่งย่ำแย่ และเมื่อธนาคารไม่สามารถหาเงินได้ทัน การดำเนินการทั้งหมดหยุดชะงักและธนาคารก็ล่มสลายไปในที่สุด

  

วิกฤตการณ์คนแห่ถอนเงินจาก SVB สู่ประเทศไทย

 

เหตุการณ์ Bank Run ที่เกิดขึ้นกับ SVB ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีวิกฤติทางการเงินเกิดขึ้น ประเทศไทยเองก็เคยประสบกับวิกฤตการณ์ทางการเงินอย่างรุนแรงซึ่งนำไปสู่การดำเนินการของธนาคารและความตื่นตระหนกอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้ฝากเงินเช่นกัน

 

แต่เดิมประเทศไทยดำเนินนโยบายตรึงค่าเงินบาทกับดอลล่าสหรัฐไว้ที่ 25 บาทต่อดอลล่าสหรัฐ ข้อดีของการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนคือความเสถียรในการประกอบธุรกิจ การกู้ยืมเงินโดยใช้ค่าเงินต่างชาติทำได้ง่ายและไม่ผันผวน ส่งผลให้มีการขยายธุรกิจกันอย่างมากมาย แต่ข้อเสียอย่างร้ายกาจคือธนาคารแห่งประเทศไทยต้องหาเงินต่างชาติมาซื้อหรือขายเพื่อคงค่าเงินไว้ตามที่กำหนด

 

วิกฤตการณ์ทางการเงินของไทยเริ่มขึ้นในกลางปี 2540 เมื่อผลประกอบการของภาคธุรกิจโดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์เริ่มชะลอตัว เจ้าของกิจการเริ่มจะหาเงินมาจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ทัน สิ่งนี้ก่อให้เกิดกระแสความตื่นตระหนกในหมู่นักลงทุนต่างชาติ ซึ่งเริ่มถอนการลงทุนออกจากประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชีย การนำเงินออกจากประเทศคือการแลกเงินไทยเป็นค่าเงินอื่น ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างรุนแรง

 

นอกจากประเทศไทยต้องหาเงินมาพยุงค่าเงินให้อยู่ที่อัตตรา 25 บาทต่อดอลล่าแล้ว การถอนเงินทุนต่างประเทศยังสร้างแรงกดดันต่อธนาคารไทยซึ่งต้องกู้ยืมเงินตราต่างประเทศจำนวนมากเพื่อใช้ในการดำเนินงาน เป็นผลให้ธนาคารหลายแห่งพบว่าตัวเองขาดเงินทุนและไม่สามารถตอบสนองความต้องการถอนเงินจากผู้ฝากได้

 

สิ่งนี้นำไปสู่การดำเนินการของธนาคารโดยผู้ฝากรีบถอนเงินออกจากธนาคารเป็นจำนวนมาก สถานการณ์เลวร้ายลงด้วยข่าวลือและข้อมูลที่ผิดซึ่งแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านสื่ออื่นๆ รัฐบาลไทยถูกบังคับให้เข้าแทรกแซง โดยใช้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพื่อพยุงค่าเงินบาทและค้ำประกันเงินฝากในระบบธนาคาร นอกจากนี้ยังใช้มาตรการหลายอย่างเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นในภาคการเงิน รวมถึงการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินใหม่และการจัดตั้งกองทุนเพื่อค้ำประกันเงินฝากธนาคาร แต่วิกฤตินั้นยากเกินกว่าที่จะเยียวยาได้เกิดหายนะทางเศรษฐกิจและการล่มสลายของธนาคารหลายๆ แห่ง

 

บทสรุปของ Bank Run

แม้ว่าสาเหตุของการล่มสลายของ SVB กับวิกฤตต้มยำกุ้งจะต่างกัน แต่ท้ายสุดจะเกิดปัญหาที่ “ความเชื่อมั่น” ในตัวสถาบันการเงิน และหากสถาบันการเงินไม่สามารถรักษาความเชื่อมั่นได้ การแห่ถอนเงินและการขายสิททรัพย์ในราคาที่ถูกเพื่อเอาเงินมาประคองกิจการย่อมจะเกิดขึ้นและการล่มสลายก็จะตามมาในที่สุด

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
unboxyourthinking's profile


โพสท์โดย: unboxyourthinking
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: unboxyourthinking
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รวมภาพตลกๆ เรียกเสียงหัวเราะประจำวัน 25/05/68 ช่วงสายไฟจ้า
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
ทำไม Zelensky ไม่สามารถและจะไม่ยอมแพ้ไครเมียผู้บริหาร "แลมป์ตั้น" เตือนภัยผู้บริโภค ระวังสินค้าหลอดไฟปลอม อ้างชื่อแบรนด์-สวม มอก.สุดเศร้า! "ตาทองเลื่อน" ร่ำไห้ หลังทราบข่าวลูกเมียหลาน 8 ชีวิต ในอุบัติเหตุมอเตอร์เวย์สาย 7จีนหยุดส่งออก “ธาตุหายาก” แล้วใครจะขึ้นมาแทน? ออสเตรเลียพร้อมหรือยัง?
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง