ไทหย่า ฮวาเยาไต่ คือใคร เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใด...
ไทหย่า ฮวาเยาไต่ คือใคร เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใด...
ไทหย่า
ฮวาเยาไต่ (จีน: 花腰傣) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาขร้า-ไท อาศัยอยู่ในอำเภอปกครองตนเองชนชาติอี๋และไท ซินผิง หรือเมืองขิ่น และอำเภอปกครองตนเองชนชาติฮาหนี อี๋ และไท ยเหฺวียนเจียง หรือเมืองจุ้ง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน และบางส่วนอาศัยอยู่ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
ชนกลุ่มนี้มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับไทลื้อ ไทยวน ไทเขิน ไทใหญ่ และไทดำ หากแต่ไม่ได้รับศาสนาพุทธและยังนับถือผีบรรพบุรุษ มีบางส่วนที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ และมีจำนวนไม่น้อยที่เปลี่ยนกลับไปนับถือผี เพียงแต่ไม่บูชาผีอื่นนอกจากวิญญาณบรรพชน และระลึกถึงคำสอนในพระคัมภีร์ไบเบิลบ้าง
เดียวกันนั้นเอง ก็มีชาวไทหย่าจำนวนสิบครอบครัวอพยพเข้าไปประเทศไทยเพื่อหนีความทุกข์ยากในประเทศจีน นำโดยเถ้าแก่นาคากับนายสามเปา (บิดาของเลาหยีใหญ่) ตั้งถิ่นฐานที่บ้านห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ต่อมา พ.ศ. 2476 มีคลื่นผู้อพยพชาวไทหย่าระลอกสองเพราะหนีการปฏิวัติและหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ไปรบ พวกเขาตั้งถิ่นฐานที่บ้านป่าสักขวาง ครั้น พ.ศ. 2484 ชาวไทหย่าสิบเก้าครอบครัวขยับขยายออกมาตั้งชุมชนใหม่ที่บ้านน้ำบ่อขาว ก่อนเริ่มขยายตัวเข้าสู่ตัวเมืองเชียงราย และกระจายตามที่ต่าง ๆ สืบปัจจุบัน แต่ปัจจุบันชาวไทหย่าในไทยกำลังเผชิญกับการสูญเสียอัตลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรม
ภาษา
ภาษาไทหย่ามีหน่วยเสียงพยัญชนะ 18 เสียง เสียงสระ 18 เสียง และวรรณยุกต์ 5 เสียง มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาไทลื้อและไทยอง รวมทั้งสามารถเข้าใจภาษาไทยถิ่นเหนือได้แม้จะมีบางคำที่ต่างกันบ้างก็ตาม
โดยภาษาไทหย่าจะออกเสียงพยัญชนะต่างจากภาษาไทยถิ่นเหนือ เช่น ด จะออกเสียง ล เช่น สีดำ เป็น สีลำ, ดอกไม้ เป็น ลอกไม้ ไม่มีคำควบกล้ำ เช่น ปลา เป็น ปา
ไม่มีสระประสม ได้แก่ สระเอีย สระเอือ และสระอัว แต่จะออกเสียงเป็น สระเอ สระเออ และสระไอไม้ม้วน เช่น เมีย เป็น เม, ดินเหนียว เป็น ลินเหนว, เรือน เป็น เฮอน, หัว เป็น โห และสระไอไม้ม้วนออกเสียงเป็นสระเออ เช่น ใหญ่ เป็น เหญ่อ, ใจ เป็น เจอ, ใน เป็น เนอ, ใคร เป็น เผอ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีคำที่ออกเสียงต่างออกไป เช่น วิญญาณ ว่า มิ่งคัน, รักษา ว่า ละคอมหา, มีเยอะ ว่า อู๋หลาย, ไปเที่ยว ว่า กาห่อน, ไปไหนมา ว่า กาสังม่า, มาเที่ยวหรือ ว่า ม่าห่อนว่อ, มีธุระอะไร ว่า หย่งโจ่วแทง และ มากี่คน ว่า มาจิก้อ เป็นต้น
ทั้งนี้ ฮวาเยาไต่ กลุ่มอื่น ๆ จะพูดภาษาใกล้เคียงกัน มีคำพูดผิดเพี้ยนกันเล็กน้อย เช่น กลุ่มไททรายจะพูดห้วนและเร็วกว่ากลุ่มไทหย่า และมีคำอุทานที่ต่างกัน
ภาษาไทหย่ามีเพียงภาษาพูดไม่มีระบบการเขียนเป็นของตัวเองต่างจากภาษาไทกลุ่มอื่น ๆ
ภาษาไทหย่าในประเทศไทยกำลังสูญหายเพราะชาวไทหย่าเปลี่ยนไปใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทยมาตรฐาน[17] ต่างจากชาวไทหย่าในประเทศจีนที่ยังมีแนวโน้มว่าลูกหลานจะยังคงใช้ภาษานี้ต่อไป
ศาสนา
ชาวไทหย่าแต่ดั้งเดิมนับถือผีบรรพชน เชื่อว่าพ่อมดและย่ามด (คือคนทรง) เป็นตัวกลางในการติดต่อกับผี และทุกเทศกาลจะต้องมีการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษก่อนการจัดพิธีเฉลิมฉลอง พวกเขาเชื่อว่าเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปก็จะกลายเป็นผี สามารถปกปักรักษาลูกหลานของตัวเองได้ ลูกหลานก็จะต้องเซ่นไหว้อาหารที่ดีที่สุดแก่ผีบรรพชน เพื่อให้พวกท่านพอใจ หากมีงานหรือเทศกาลใด ๆ จะต้องมีการบอกกล่าวและเลี้ยงผีบรรพชนทุกครั้ง รวมทั้งมีการบูชาผีดีอื่น ๆ ด้วย
นอกจากผีดีเหล่านี้แล้ว ยังมีผีร้ายที่ต้องเซ่นไหว้อาหารให้ คือ ผีปอบและผีกะ เพราะเป็นผีที่ไม่มีญาติพี่น้องดูแล มักทำร้ายผู้อื่น เพื่อให้ผู้นั้นทำอาหารเซ่นไหว้ให้
มีหากชาวไทหย่าเจ็บป่วยจะมีการสะเดาะเคราะห์ โดยจะให้แม่มดเฒ่าจำนวนสิบคนใช้ผ้าขาวคลุมหน้าผู้เจ็บป่วย เพราะเชื่อว่าผู้ป่วยกระทำการล่วงเกินต่อผีป่า ผีเสื้อบ้าน หรือผีบรรพชน จะต้องฆ่าหมู ฆ่าไก่ ทำพิธีบนบานและเรียกขวัญด้วยการผูกด้ายที่ข้อมือ หรืออาจใช้สมุนไพรหรือรากไม้ มาต้มหรือฝนดื่มเพื่อรักษาโรค
ครั้น พ.ศ. 2463 มีการเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์โดยคณะมิชชันนารีจากหลายประเทศ โดยเฉพาะการเผยแผ่โดยคณะเพรสไบทีเรียนของวิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์, ศาสนาจารย์เจไลอา บี.บี. และชาลส์ อาร์. คาเลนเดอร์ ซึ่งเผยแผ่ศาสนาในกลุ่มชนที่ใช้ภาษาไททางตอนเหนือของประเทศไทยมาก่อนแล้วทำให้ชาวไทหย่าบางส่วนเปลี่ยนจากนับถือผีไปนับถือศาสนาคริสต์ ถูกเรียกว่า "ไตหลั่งผี" หรือพวกไทไล่ผี
เบื้องต้นชาวไทหย่าเข้ารีตมักถูกเอารัดเอาเปรียบจากชาวจีนฮั่นมีการบังคับจ่ายภาษีโบสถ์ หรือถูกเจ้าหน้าที่รัฐและโจรบุกปล้นบ่อยครั้ง ประชากรบางส่วนไม่อาจยอมรับการข่มเหงคะเนงร้ายทางศาสนาได้ จึงอพยพเข้าสู่ประเทศไทย
เข้าไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านป่าสักขวางและบ้านน้ำบ่อขาว อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และผู้อพยพเหล่านี้เปลี่ยนไปเข้ารีตศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ทั้งหมู่บ้านแต่ยังมีความเชื่อเรื่องผีมดทำพิธี และมีการเซ่นไหว้ผีดีอยู่ เพื่อความสิริมงคล
ส่วนชาวไทหย่าที่ยังอยู่ในประเทศจีนหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ พวกเขาไม่สามารถนมัสการพระเจ้าที่โบสถ์ได้ มีการนมัสการที่บ้านเท่านั้น เพราะโบสถ์ถูกทางการเปลี่ยนเป็นค่ายทหาร ชาวไทหย่าเข้ารีตบางส่วนก็หวนกลับไปนับถือผีบรรพชน เพียงแต่ไม่บูชาหรือเซ่นสรวงผีอื่น ๆ
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย และ Google