ขยะในประเทศไทยมีมากขนาดไหนกัน?
ประเทศไทยมีประชากรที่มากมาย ปัญหาหลักอีกเรื่องก็คือปัญหาขยะที่มีปริมาณมากมายมหาศาล ประเทศไทยมีการสร้างขยะพลาสติกต่อประชากรสูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก โดยมีปริมาณขยะพลาสติก 4,796,494 ตัน/ปี (หรือราว 69.54 กิโลกรัม/ปี/คน) และมีสัดส่วนขยะพลาสติกในขยะทั่วไปมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ปริมาณพลาสติกในประเทศไทย แบ่งเป็นประเภทถุงพลาสติก 1.11 ล้านตัน ขวดพลาสติก 0.40 ล้านตัน แก้ว กล่อง และถาดพลาสติก 0.23 ล้านตัน ตามลำดับ
ปี 2565 ตัวชี้วัดภาครัฐเข้ม ห้ามใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว-แก้วพลาสติกแบบบาง กล่องโฟม 100% และเชิญชวนเอกชนร่วม
การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 โดยให้มีการเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว 4 ชนิด ภายในปี 2565 เพื่อใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (1) ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบาง ความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน (2) กล่องโฟมบรรจุอาหาร (3) แก้วพลาสติก ความหนาน้อยกว่า 100 ไมครอน และ (4) หลอดพลาสติก รวมทั้งส่งเสริมให้มีการนำพลาสติกกลับมารีไซเคิล ได้แก่ (1) ถุงพลาสติกหูหิ้ว (2) บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว (3) ขวดพลาสติก (ทุกชนิด) (4) ฝาขวด (5) แก้วพลาสติก (6) ถาด/กล่องอาหารและ (7) ช้อน/ส้อม/มีด กลับไปใช้ประโยชน์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
นายอรรถพล กล่าวว่า ส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน Roadmap ทส. โดย คพ. ได้เสนอคณะรัฐมนตรีนำร่องโครงการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ ประกอบด้วย หน่วยงาน ระดับกระทรวง 19 กระทรวง ระดับกรม
152 กรม และระดับจังหวัด 76 จังหวัด ผลการดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2562 สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ส่งกำจัด 89,805 ตัน ลดจำนวนถุงพลาสติกหูหิ้ว 341 ล้านใบ ลดจำนวนแก้วพลาสติกใช้ครั้งเดียว 146 ล้านใบ และลดการใช้โฟมบรรจุอาหาร 194 ล้านใบ สำหรับในปี 2565 กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน ดังนี้ (1) ปริมาณขยะมูลฝอยที่ส่งกำจัดต้องลดลงอย่างน้อยร้อยละ 30 (2) จำนวนถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบางลดลงร้อยละ 100 (3) จำนวนแก้วพลาสติกใช้ครั้งเดียวลดลงร้อยละ 100 และ (4) ไม่มีการใช้โฟมบรรจุอาหารในหน่วยงาน
การลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจะทำให้ลดการสูญเสียทรัพยากรที่นำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ไฟฟ้า พลังงาน น้ำ และลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด การคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์จะยิ่งเกิดผลดี
เกิดความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรและยิ่งลดภาระในการนำขยะกำจัด จึงขอให้ทุกส่วนราชการเข้มข้นในการดำเนินงาน และขอเชิญชวนเอกชน บริษัท ห้างร้าน อาคาร สำนักงาน ร่วมดำเนินการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานโดยความสมัครใจ
นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มเติมในการคัดแยกพลาสติกเป้าหมายเป็นพลาสติกแข็งและพลาสติกยืด เพื่อนำไปบริจาคภายใต้โครงการ “เปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ” (เมื่อคุณหมุนเวียน) ซึ่งพลาสติกที่ได้รับการบริจาคจะถูกนำกลับไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เสื้อ ถุงผ้า จีวร กระเป๋าเป้ ฯลฯ เป็นการสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ (BCG Model) ของประเทศ