หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ข้อเข่าเสื่อม ภัยร้ายที่อาจอันตรายได้ หากคุณไม่ระวัง

โพสท์โดย tothemoon555

เรามีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมไหม หากเป็นแล้วจะรักษาอย่างไร แค่ปรับพฤติกรรม กินยา จะรักษาหายไหม หรือต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเท่านั้น ข้อเข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่รับน้ำหนักและช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ดี ถ้าข้อเข่ามีปัญหาหรือมีอาการปวดเข่าจะทำให้เคลื่อนไหวลำบาก โดยเฉพาะอาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อมหากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจเดินไม่ได้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เรามาดูแลตนเองเพื่อที่จะไม่ให้เข่าเสื่อมกันเถอะ


ข้อเข่าเสื่อม 

โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) หมายถึง โรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมและอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้นตามลำดับ ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บทความ ข้อเข่าเสื่อม


สาเหตุข้อเข่าเสื่อม

สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อมอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งเราแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ ดังนี้

  1. สาเหตุจากความเสื่อมแบบปฐมภูมิ (primary knee osteoarthritis) หรือแบบไม่ทราบสาเหตุ เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย ไม่ว่าจะเป็นอายุที่เพิ่มมากขึ้น เพศ กรรมพันธุ์ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย เป็นต้น
  2. สาเหตุจากความเสื่อมแบบทุติยภูมิ (secondary knee osteoarthritis) เป็นความเสื่อมแบบที่ทราบสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุ ความอ้วน โรคข้ออักเสบ การใช้เข่าไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

นอกจากสาเหตุที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ยังมีปัจจัยสำคัญที่เสี่ยงต่อโรคข้อเข่าเสื่อมอีกหลายอย่าง โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้


ระดับความรุนแรงโรคข้อเข่าเสื่อม

ทางการแพทย์จัดแบ่งระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมออกเป็น 3 ระดับ ซึ่งในแต่ละระดับมีความรุนแรงและอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. ข้อเข่าเสื่อมระยะแรก

ข้อเข่าเสื่อมในระยะนี้ ข้อเข่าจะเริ่มสูญเสียกระดูกอ่อน 10% โดยระยะห่างระหว่างข้อต่อแคบลง กระดูกอ่อนเริ่มมีการแตกร้าว เริ่มมีการงอกของกระดูกผิดรูปเกิดขึ้น โดยมีอาการเริ่มปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่า อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อ ร่วมกับมีอาการข้อฝืดขัด โดยเฉพาะเมื่อหยุดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ

2. ข้อเข่าเสื่อมระยะปานกลาง

ระยะห่างระหว่างข้อต่อแคบมากขึ้น กระดูกอ่อนแตกร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ มีกระดูกงอกผิดรูปเพิ่มมากขึ้น โดยมีอาการปวดจะรุนแรงมากขึ้น บางครั้งปวดเวลากลางคืน อาจคลำส่วนกระดูกงอกได้บริเวณด้านข้างข้อ เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาเต็มที่จะมีอาการปวดหรือเสียวบริเวณกระดูกสะบ้า หากมีการอักเสบจะมีข้อบวม ร้อน และตรวจพบน้ำในช่องข้อ ในระยะนี้ของข้อเข่าเสื่อม

3. ข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง

ข้อเข่าเสื่อมในระยะรุนแรง พบว่า ระยะห่างระหว่างข้อต่อแคบลงอย่างมาก สูญเสียกระดูกอ่อนถึง 60% มีกระดูกงอกผิดรูปเป็นจำนวนมาก เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวม หรือบิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบาก หรือมีอาการขาโก่งได้ และมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับ 


กลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

จะเห็นได้ว่า ข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคนี้ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป เราลองมาดูกันว่า ใครบ้างที่เข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงนี้บ้าง

  1. อายุที่มากขึ้น มักพบในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปเนื่องจากอายุการใช้งานมาก เรียกได้ว่า เป็นข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
  2. พบในเพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย 2 เท่า เนื่องจากปัจจัยด้านฮอร์โมน กระดูก กล้ามเนื้อ 
  3. น้ำหนักตัวมาก ดัชนีมวลกาย BMI มากกว่า 23 มีโอกาสข้อเข่าเสื่อมได้มาก
  4. ใช้ข้อเข่ามาก โดยเฉพาะการนั่งยอง ๆ พับเพียบ คุกเข่านาน ๆ จะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว
  5. กล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรง
  6. กลุ่มคนที่เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อต่อมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายหรืออุบัติเหตุที่ข้อเข่า
  7. มีโรคประจำตัวเป็นโรคไขข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ หรือ เกาท์ เป็นต้น

การตรวจอาการข้อเข่าเสื่อม

ในการวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม แพทย์มีแนวทางในการวินิจฉัย ดังต่อไปนี้

  1. แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น โดยมีการทำแบบประเมินภาวะข้อเข่าเสื่อมเบื้องต้นสำหรับผู้รับบริการทั่วไป เช่น มีอาการเข่าติดในตอนเช้า เข่ามีเสียงกรอบแกรบ เข่าผิดรูป หรือไม่ รวมถึงการตรวจอาการ เช่น องศาการขยับของข้อเข่า ภาวะข้อหลวม เอ็นหุ้มข้อหลวม ลูกสะบ้าอักเสบ เป็นต้น
  2. การตรวจวินิจฉัยข้อเข่าของผู้ป่วย โดยการเอกซเรย์ เพื่อดูแนวกระดูกทรุดตัว ดูภาวะข้อกระดูกลูกสะบ้ากางออก ดูช่องว่างระหว่างกระดูกในข้อเข่า รวมถึงพื้นผิวกระดูก หรืออาจจะส่งทำ MRI เพิ่มเติม ในกรณีที่ต้องการภาพของกระดูก เนื้อเยื่อ และกระดูกอ่อนรอบข้อเข่าที่ชัดขึ้น เพื่อวินิจฉัยแยกโรคอื่น ๆ ออกไป รวมถึงการเจาะเลือด เพื่อาหสาเหตุอื่น ๆ เพิ่มเติม
  3. แพทย์จะประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้ป่วย โดยใช้ระบบการให้คะแนน (Scoring) ที่เหมาะสม เป็นเครื่องมือในการประเมิน
  4. แพทย์จะจัดการรักษาข้อเข่าเสื่อมที่เหมาะสมตามระดับความรุนแรง เช่น การออกกำลังกาย การรักษาทางชีวภาพ การใช้ยา การทำกายภาพบำบัด ตลอดจนการรักษาด้วยการผ่าตัด

วิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมเบื้องต้น

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมเบื้องต้น เมื่อแพทย์ทำการประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมแล้ว จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย โดยจะพิจารณาเริ่มการรักษาแตกต่างกันเป็นรายบุคคลเนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีข้อบ่งชี้และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน 

1. กายภาพบำบัดควบคู่กับการทานยา

นอกจากจะทานยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมแล้ว ควรทำกายภาพบำบัดเสริม เพื่อเป็นการสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อบริเวณรอบเข่า โดยตัวผู้ป่วยทำได้เองง่าย ๆ ที่บ้าน 4 วิธี คือ

  1. นอนหงายและกดเข่า นอนหงายกับพื้นโดยวางหมอนไว้บริเวณเข่า พร้อมกับกดเข่ายืดให้สุดทีละข้าง
  2. นอนคว่ำและงอเข่า นอนคว่ำหน้าลงกับพื้นขาเหยียดตรง งอเข่าเข้ามาหาตัวทีละข้างให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
  3. นั่งห้อยขาและเหยียดเข่า นั่งบนเก้าอี้ ใช้หลังพิงผนัก ยื่นขาออกมาข้างหน้าช้าๆ พร้อมกระดกข้อเท้า
  4. พิงฝาผนังและย่อตัว หลังพิงฝาผนังไว้ ให้เท้าห่างจากผนังประมาณ 1 ฟุต ค่อย ๆ เลื่อนตัวลงให้เข่างอเล็กน้อย

แต่ละท่าให้ทำค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้งต่อเซ็ท วันละ 3 รอบ และให้ทำหลังจากอาการปวดเข่าบรรเทาลง หรือทำท่าไหนแล้วมีอาการปวดมากขึ้น ให้ลดจำนวนครั้งลง หรือหยุดพักให้อาการดีขึ้นแล้วจึงเริ่มทำใหม่อีกครั้ง

2. การรักษาทางชีวภาพ หรือ Biological Therapy ฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าลดการเสียดสี

ซึ่งเป็นเทคนิคทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษาอาการผิดปกติของกระดูกอ่อนและน้ำเลี้ยงข้อเข่า เมื่อรักษาเบื้องต้นแล้วยังไม่ได้ผล แพทย์จะแนะนำให้ฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าสังเคราะห์ หรือ Hyaluronic Acid ส่วนมากผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม น้ำในข้อจะมีความหนืดทำให้เกิดการติดขัด จึงต้องฉีดน้ำเลี้ยงเข้าไปช่วยเสริมการหล่อลื่น ลดแรงเสียดทาน พร้อมทั้งกระตุ้นการสร้างน้ำเลี้ยงข้อเข่าใหม่ และยังช่วยลดอาการปวดลงได้ แพทย์จะฉีดน้ำเลี้ยงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 สัปดาห์ โดยการรักษาจะอยู่ได้ 6 เดือน – 1 ปี

3. ทำความสะอาดข้อด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง

วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะปานกลาง ที่มีอาการอักเสบมาเป็นเวลานาน และรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล เป็นส่องกล้องเข้าไปล้างทำความสะอาด เอาเศษกระดูกที่สึกหรอ หรือหลุดลอยอยู่ออก เพื่อลดการอักเสบ บวม และลดอาการปวด ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อเข่าสะดวกมากขึ้น โดยจะมีแผลเล็ก ๆ เพียงแค่ 0.5 - 2 เซนติเมตรเท่านั้น นอกจากจะช่วยให้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้รวดเร็วแล้ว ยังช่วยลดโอกาสการติดเชื้อจากการผ่าตัดได้อีกด้วย


วิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัด

นอกจากการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมเบื้องต้นแล้ว ก็ยังมีวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดอีกด้วย แต่ในการรักษาด้วยการผ่าตัดนั้นก็มีหลายแบบ เพื่อให้แพทย์และคนไข้สามารถประเมินอาการและเลือกแบบที่เหมาะสมกับคนไข้ได้ ดังต่อไปนี้

1. การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery)

 การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery) เหมาะสำหรับคนไข้โรคข้อเข่าเสื่อมที่เสื่อมไม่มาก หรือมีอาการของหมอนรองข้อเข่าฉีกขาด เอ็นข้อเข่าขาด หรือข้อเข่าล็อค เป็นต้น แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดใช้กล้องขนาดเล็กเจาะผ่านผิวหนังและสอดกล้องเข้าไป เพื่อมองสำรวจสภาพความผิดปกติภายในข้อเข่า เพื่อประเมินและทำการรักษา 

โดยการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ เทคนิคที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อทำการผ่าตัดรักษาโดยผ่านแผลเจาะเล็ก ๆ ขนาดน้อยกว่า 1 ซม. ผู้ป่วยจะมีแผลผ่าตัดเล็ก ๆ เพียง 2 - 3 แผล ทำให้อาการปวดแผลภายหลังผ่าตัดลดลงมากเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิมที่ใช้การเปิดแผลกว้าง ๆ ผู้ป่วยฟื้นตัวไว เข่ากลับไปใช้งานได้เร็วขึ้น ได้คุณภาพชีวิตคืนมาอย่างรวดเร็ว 

2. การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม (Arthroplasty) 

คือ การใส่ข้อเข่าเทียมเข้าแทนข้อที่เสื่อม ซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายปวด ผู้ป่วยใช้ ชีวิตได้ดีขึ้น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมวิธีนี้ เป็นวิธีผ่าตัดล่าสุดในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งต่างจากการผ่าตัดวิธีดั้งเดิม คือแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กลง จากเดิมแพทย์ต้องเปิดปากแผลยาวประมาณ 8 - 10 นิ้ว แต่วิธีใหม่จะทำให้แผลผ่าตัดยาวเพียง 4-6 นิ้ว 

ซึ่งกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อเช่าจะบอบช้ำน้อย เพราะเลี่ยงการผ่าผ่านกล้ามเนื้อและผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแผลจากการผ่าตัดน้อยลง ซึ่งจะเสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยด้วย รวมทั้งแผลเป็นก็จะมีขนาดเล็ก ส่งผล ให้ผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลสั้นลง และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้เร็วขึ้น ปัจจุบันการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมทำได้ 2 วิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อบ่งชี้และข้อจำกัดแตกต่างกันออกไป คือ

เป็นการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยการผ่าตัดเอาผิวข้อเข่าส่วนที่เสียหรือเสื่อมสภาพออกทั้งหมด ทั้งส่วนปลายของกระดูกต้นขา และส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง ทั้งด้านในและด้านนอก แทนที่ด้วยผิวข้อเข่าเทียมที่ทำจากโลหะอัลลอยด์ครอบหรือคลุมกระดูกส่วนที่เฉือนออกไป และมีแผ่นโพลีเอทิลีนชนิดพิเศษกั้น

เป็นการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยการผ่าตัดเอาผิวข้อเข่าเฉพาะส่วนที่เสียหายหรือเสื่อมสภาพออกคือเฉพาะด้านในหรือด้านนอกเพียงด้านเดียว ผิวข้อเข่าที่เสื่อมจะถูกแทนที่ด้วยผิวโลหะอัลลอยด์ โดยมีแผ่นโพลีเอทิลีนซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรองรับ แทนที่หมอนรองกระดูกเดิม กั้นระหว่างโลหะ ช่วยเก็บผิวข้อเข่ารวมถึงเอ็นและเนื้อเยื่อเดิมที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้เกิดความรู้สึก เสมือนธรรมชาติ หลังการผ่าตัด 


การป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม

แม้ว่า โรคนี้จะสามารถรักษาได้ แต่เราก็ควรจะดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดจะดีกว่า ซึ่งวิธีป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมเร็วก่อนวัย มีวิธีป้องกันหลายวิธีดังต่อไปนี้

  1. ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับอายุและอาชีพ เพื่อให้ข้อเข่ารับแรงกดน้อยลง
  2. หลีกเลี่ยงการนั่งราบบนพื้น นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่าให้ฝ่าเท้าวางราบกับพื้นพอดี
  3. หลีกเลี่ยงการยืนหรือการนั่งพับเพียบนาน ๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อเลี่ยงอาการข้อเข่าเสื่อม
  4. หลีกเลี่ยงการนอนพื้น เพราะต้องงอเข่ามาก เมื่อต้องการนอนแนะนำให้นอนเตียงแทนการนอนพื้นเพื่อไม่ต้องงอเข่ามาก
  5. การยืน ควรยืนตรงกางขาออกเล็กน้อยให้น้ำหนักลงที่เข่าทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน ไม่ควรยืนพักเข่าข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อลดโอกาสของข้อเข่าเสื่อม
  6. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่าสูง เช่น การยกของหนัก ๆ การกระโดด ควรออกกำลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนักที่ข้อเข่ามาก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน
  7. การเดิน ขึ้น-ลงบันได ให้ก้าวขาดีขึ้นแล้วตามด้วยขาที่เจ็บและตอนลงให้ก้าว ขาเจ็บลงแล้วตามด้วยขาดี (บนบันไดขั้นเดียวกัน) และขึ้นลงบันไดเท่าที่จำเป็น ผู้สูงอายุไม่ควรขึ้น-ลงบันได
  8. บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าให้แข็งแรง เพื่อช่วยพยุงและรองรับแรงกระแทกต่อข้อเข่า
  9. เลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับกิจกรรมแต่ละประเภท หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งจะทำให้เป็นข้อเข่าเสื่อมได้
  10. ระวังไม่ให้เกิดบาดเจ็บของข้อเข่า ถ้ามีการบาดเจ็บของข้อเข่าควรรีบรับการรักษาทันที ไม่ปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ ถ้ามีความผิดปกติของโครงสร้างเข่าและขา เช่น ขาโก่ง เข่าชิด ควรแก้ไขตั้งแต่อายุน้อย ๆ

ข้อสรุป

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการปวดเข่า โดยที่ไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้น ก็อย่าชะล่าใจ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย เพราะโรคข้อเข่าเสื่อมนี้ เกิดขึ้นได้จากทั้งอายุที่เพิ่มมากขึ้น อุบัติเหตุ รวมถึงพฤติกรรมในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ดังนั้น ถ้าหากเราตรวจพบเร็ว ก็จะยิ่งสามารถรักษาให้หายได้ไวขึ้นนั่นเอง


ข้อเข่าเสื่อม ภัยร้ายที่อาจอันตรายได้ หากคุณไม่ระวัง
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
tothemoon555's profile


โพสท์โดย: tothemoon555
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รัสเซียเปิดฉากยิงขีปนาวุธเทพใส่ยูเครนแล้ว"ฟิล์มแรปหลอมในอาหาร อันตรายหรือไม่? คำตอบจากบริษัทดัง!"นางเอกดังสุดเศร้า กับการสูญเสียครั้งใหญ่ โพสต์อาลัยรักสุดหัวใจเปิดตัวแฟชั่นทนายสายหยุด ที่มาพร้อมกับเครื่องประดับสุดหรู ราคาต่อชิ้นไม่ธรรมดารอยสัก Ta Moko : ศิลปะบนใบหน้าที่สะท้อนจิตวิญญาณของชนเผ่าเมารีอีกมุมของ "ยายสา" ตำนานแม่มดแห่งสมิหลา กับความลึกลับที่ไม่มีใครกล้าท้าทาย"ชายหาดในประเทศไทย ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดเลขเด็ด "เสือตกถัง พลังเงินดี" งวด 1 ธันวาคม 67..รีบเลย ช้าอดหวยหมดแน่!เศร้า นักท่องเที่ยวสาวต่างชาติ เสียชีวิตแล้วที่ไทย หลังดื่มเหล้าเถื่อนปลอมที่ลาว
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อีกมุมของ "ยายสา" ตำนานแม่มดแห่งสมิหลา กับความลึกลับที่ไม่มีใครกล้าท้าทาย"เศร้า นักท่องเที่ยวสาวต่างชาติ เสียชีวิตแล้วที่ไทย หลังดื่มเหล้าเถื่อนปลอมที่ลาววันนี้เป็นต้นไป ห้ามรถบรรทุก 10 ล้อ ขึ้นสะพานข้ามแยก 24 แห่ง"ตารางลดน้ำหนัก" ฉบับกินยังไงก็ผอมเลขเด็ด "เสือตกถัง พลังเงินดี" งวด 1 ธันวาคม 67..รีบเลย ช้าอดหวยหมดแน่!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด Variety
พ่อแม่อยากให้ลูกฟันสวย ฟันแข็งแรง ยิ้มมั่นใจความกังวลของคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่เมื่อกำลังจะมีลูกน้อยเพราะความก้าวหน้าทางการรักษาโรค ทำให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้นเมื่อเรามีวินัยและใจแน่วแน่ ก็สามารถลดความอ้วนได้
ตั้งกระทู้ใหม่