ประเทศที่ติดหนี้มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก
หนี้ต่างประเทศ หรือ Foreign debt คือยอดรวมหนี้สินของภาครัฐและเอกชน ที่ต้องชำระคืนแก่เจ้าหนี้ต่างชาติ ซึ่งตรงข้ามกับหนี้ภายในประเทศ ซึ่งเป็นหนี้สินที่มีเจ้าหนี้เป็นบุคคลในประเทศ ยิ่งประเทศมีหนี้ภายนอกคิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพี สูงมากเท่าใดก็ยิ่งมีความเสี่ยงทางการเงินมากขึ้นเท่านั้น
โดยทั่วไป หนี้ภายนอก(หรือหนี้ต่างประเทศ) สามารถจำแนกแยกย่อยออกเป็นสี่ประเภท ได้แก่ - หนี้สาธารณะและหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน - สินเชื่อปลอดค้ำประกันของภาคเอกชน - เงินรับฝากที่ธนาคารกลาง - หนี้ที่ติดค้างต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยในปัจจุบัน ประเทศที่มีหนี้ต่างประเทศมากที่สุดในโลก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีหนี้ประมาณ 24 ล้านล้านดอลลาร์ (คิดเป็น 96.06% ของ GDP) หรือคิดเป็นหนี้สินจำนวน 72,217 ดอลลาร์ต่อพลเมือง 1 คน
อันดับ 2 ได้แก่สหราชอาณาจักร ที่มีหนี้จากต่างประเทศประมาณ 8.73 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็น 273.06% ของ GDP และมีค่าเฉลี่ยหนี้สินต่อคน มากถึง 129,203 ดอลลาร์ (มีหนี้สินเฉลี่ยต่อคนมากเป็นอันดับที่ 8)
ส่วนอันดับที่ 3 ได้แก่ประเทศฝรั่งเศส ที่มีหนี้ต่างประเทศประมาณ 7.04 ล้านล้านดอลลาร์ คิดเป็น 253% ของ GDP และมีค่าเฉลี่ยหนี้ต่อคนอยู่ที่ 107,245 ดอลลาร์ ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก
ในขณะที่ประเทศไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 มีหนี้ต่างประเทศอยู่ที่ 187,878.05 ล้านดอลลาร์ (มากประมาณใน 50 อันดับแรก)