"ไม้ปลุกสติ" ในหนังจีน เวลาท่านเปาตัดสินคดี มีการเคาะไม้ท่อนสี่เหลี่ยมกับโต๊ะ!!
ไม้ปลุกสติ #ยอดบุรุษพลิกคดี
ในหนังจีน เวลาท่านเปาตัดสินคดี มีการเคาะไม้ท่อนสี่เหลี่ยมกับโต๊ะเพื่อให้ในโถงศาลเงียบเสียง ท่านเปาตวาดว่า "บังอาจ ยังไม่รีบสารภาพมาอีก!"
ในเรื่อง #ยอดบุรุษพลิกคดี ก็มีหลายตอนที่ใช้ไม้นี้เคาะโป๊กๆ กับโต๊ะ
ตอนแรกก็มี "เถาโจวเฟิง" เสนาบดีกรมอาญาใช้ไม้เคาะโป๊กๆ ขณะว่าความคดีจางผิงและเฉินโฉวตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าฆาตกรรมนายท่านจิน เถ้าแก่คณะงิ้ว
ไม้นี้เรียกว่า "ไม้ปลุกสติ" (醒木 หรือ惊堂木)
เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยชุนชิวจั้นกั๋ว มีบันทึกใน "กั๋วอวี่-เยวี่ยอวี่"(国语·越语) ว่า "ไม้ปลุกสติ ยาวหกนิ้ว กว้างห้านิ้ว หนา2.8นิ้ว"
ก่อนสมัยราชวงศ์ถัง ไม้ปลุกสติไม่มีลวดลาย เพียงแต่มีความโค้งช่วงบน เพื่อสะดวกต่อการหยิบจับ
สมัยจักรพรรดิถังไท่จง(ค.ศ.627-650) เริ่มสลักลวดลายสัตว์วิเศษเช่นมังกร เสือ สิงโต
สมัยรัชศกหย่งชางของจักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน(ค.ศ.689) ราชสำนักกำหนดรูปแบบของไม้ปลุกสติให้ทำเป็นรูปมังกร ให้เป็นสัญลักษณ์แทนพระราชอำนาจ
สมัยราชวงศ์ซ่ง เป็นรูปมังกรหมอบ อ้าปากกางกรงเล็บ
สมัยราชวงศ์หยวนสลักมังกรให้กรงเล็บมี3หรือ4นิ้ว
สมัยราชวงศ์ชิง จักรพรรดิคังซี(ค.ศ.1662) เปลี่ยนให้สลักมังกรดูคล้ายมะเส็ง
ฐานะของผู้ใช้ไม้ปลุกสติก็ทำให้ชื่อเรียกของไม้แตกต่างออกไป
สำหรับจักรพรรดิเรียกว่า "สยบภูผาธารา"(镇山河)
สำหรับหวงโฮ่วเรียกว่า“หงส์จรัสแสง"(凤霞)
สำหรับอัครเสนาบดีเรียกว่า "ธำรงขื่อแป"(佐朝纲)
สำหรับแม่ทัพเรียกว่า"สะท้านพยัคฆ์หาญ"(惊虎胆)
สำหรับขุนนางทั่วไปถึงเรียกว่า "ไม้ปลุกสติ"
นำภาพไม้ปลุกสติมาให้ชมกัน
ภาพแรกก็ต้องท่านเปาบุ้นจิ้นของเราเลยต้นแบบในหัวของคนแปลตอนเคาะไม้ปลุกสติเลย
(ไม้นี้ถ้าทำจากไม้เนื้อดี น้ำหนักคงไม่เบาทีเดียว ใช้เป็นอาวุธเขวี้ยงใส่หัวคนได้เลย)
ภาพต่อไปก็เป็นไม้ปลุกสติในสมัยต่างๆ และรูปแบบต่างๆ แต่หนีไม่พ้นรูปทรงสี่เหลี่ยม เพียงแต่เพิ่มลวดลาย แกะสลักตัวอักษรเพิ่มเติม
Cr.หลินหยาง@ สยามอินเตอร์( คุณJoicenoi Ma B.Mason)
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/groups/1529218477415294/permalink/1832114430459029/