ไขปริศนา!! เข้าวัดชอบเอามือไปลูบฆ้องให้เกิดเสียง แล้วเสียงมันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เข้าวัดทีไรชอบเอามือไปลูบฆ้องให้เกิดเสียง
แล้วเสียงมันเกิดขึ้นได้อย่างไร
ให้นึกถึงการเล่นดนตรีจากการเอานิ้วลูบที่ปากแก้ว
ก็คือวิธีการเดียวกัน
โดยต้นกำเนิดของเสียงดนตรีนั้นมีอยู่ ๔ แบบ
คือ การตี หรือ การเคาะกระทบ
การดีด เครื่องสาย
การเป่า คือการพ่นลมผ่านท่อ ด้วยกลวิธีต่าง ๆ
และสุดท้ายคือการเสียดสี
โดยทั้งหมดนี้จะทำให้ดังก้องกังวานได้
ต้องมี วัตถุซึ่งสามารถสะท้อนเสียงให้ก้องกังวาน
เป็นการขยายเสียงนั้นได้
การเกิดเสียงของฆ้องเกิดจากการสั่นตัวของฆ้อง ที่นักฟิสิกส์เรียกว่าการ กำทอนเสียง (Resonance)
เช่น รางระนาด หรือ ตัวกลอง
สำหรับเครื่องตี
กล่องของตัวกีต้าร์ หรือ จะเข้
สำหรับเครื่องดีด
และ กะโหลกซอ หรือกล่องลำตัวของไวโอลิน
สำหรับเครื่องสี
แต่การถูที่จะทำให้ฆ้องเกิดเสียงได้ ต้องเป็นการถูที่เป็นจังหวะ เพราะจังหวะของการสั่นสะเทือนจะไปสอดคล้องกับความถี่ทางธรรมชาติของฆ้อง ที่จะทำให้เกิดปรากฏการณ์การกำทอนเกิดขึ้น เมื่อการกำทอนเกิดขึ้นก็จะทำให้เสียงดังขึ้น เช่นเดียวกับการเกิดเสียงของกีต้าร์ ที่ถ้าหากเราดีดเส้นลวดกีต้าร์ธรรมดาจะไม่เกิดเสียง แต่ถ้าเอาเส้นลวดไปวางไว้บนคานหรือกล่องกีต้าร์จะทำให้การสั่นสะเทือน ไปพ้องกับความถี่ทางธรรมชาติของกล่องกีต้าร์ซึ่งทำให้เกิดเสียงกีตาร์ขึ้นได้
“กระบวนการนี้เป็นเพียงกระบวนการของการสั่นสะเทือนที่ไปสอดคล้อง ไปพ้องกับความถี่ทางธรรมชาติ ของวัสดุที่ทำให้เกิดเสียงเท่านั้น เป็นเรื่องของความเชื่อที่อธิบายได้ ไม่ใช่เรื่องของการมีบุญ ไม่มีบุญ เพราะมันเกิดในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แต่จำเป็นต้องมีเทคนิค วิธีการให้เกิดความสั่นพ้องขึ้น ใครลูบเป็นจังหวะก็จะมีเสียง ใครลูบไม่เป็นจังหวะก็จะไม่เกิดเสียงดัง