ทีมสำรวจพบ 3 ปลาสายพันธุ์ใหม่ใต้ทะเลลึกมาก หากนำขึ้นบก ตัวจะละลายกลายเป็นวุ้นเยลลี่เหลวๆในทันที
ทีมสำรวจพบ 3 ปลาสายพันธุ์ใหม่ใต้ทะเลลึกมาก หากนำขึ้นบก ตัวจะละลายกลายเป็นวุ้นเยลลี่ในทันที
นักสำรวจ พบ 3 ปลาสายพันธุ์ใหม่ใต้ทะเลลึก หนึ่งในจุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก อาศัยอยู่ใต้แรงดัน 7,500 เมตร และอุณหภูมิหนาวเย็นยะเยือก หากนำขึ้นบก ตัวจะลายกลายเป็นวุ้นเยลลี่เหลวๆในทันที
ทีมนักสำรวจค้นพบปลาสายพันธุ์ใหม่ใต้ท้องทะเลลึก 3 ชนิด ที่บริเวณร่องลึกเปรู-ชิลี หรือร่องลึกอาทากามา ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของประเทศเปรูและประเทศชิลี ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในส่วนที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก
โดยทีมนักสำรวจใช้กล้องบันทึกภาพใต้น้ำเทคโนโลยีสูงหย่อนลงไปที่ความลึกประมาณ 7,500 เมตร กระทั่งพบอยู่อาศัยของปลาสายพันธุ์ใหม่ทั้ง 3 ชนิดในตระกูลสเนลฟิช (Snailfish) โดยให้ชื่อว่า อาทากามา สเนลฟิช (Atacama snailfish) ลักษณะมีสีขาว ลำตัวบางโปร่งใสจนเห็นภายใน
พวกมันสามารถปรับตัวอยู่ในสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย ทนต่อแรงบีบอัดมหาศาลที่ใต้ทะเลลึก และอุณหภูมิของน้ำเย็นยะเยือกได้อย่างน่าทึ่ง
ดร.โธมัส ลินลีย์ หนึ่งในทีมสำรวจจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล กล่าวว่า ที่ความลึกของใต้ทะเลนั้น ปลาอาทากามา สเนลฟิช สามารถอาศัยอยู่ได้โดยปลอดภัยจากบรรดานักล่า และพวกมันอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี ในสภาวะแวดล้อมเช่นนั้น
โดยทางทีมสำรวจตั้งชื่อเล่นให้มันตามสีว่า อาทากามา สเนลฟิช สีชมพู, อาทากามา สเนลฟิช สีฟ้า และ อาทากามา สเนลฟิช สีม่วง
"โครงสร้างทางกายภาพของพวกมันที่มีลักษณะตัวบางใสคล้ายวุ้น เอื้ออำนวยให้พวกมันสามารถอาศัยอยู่ภายใต้ความกดอากาศสูงนี้ได้ และส่วนที่แข็งที่สุดในตัวมัน คือฟัน และกระดูกใหญ่บริเวณหัว ทำให้มันสามารถทรงตัวอยู่ได้ ซึ่งหากปราศจากแรงกดอากาศสูง และน้ำที่อุณหภูมิต่ำมากดังกล่าว ก็จะทำให้ปลาพวกนี้บอบบางมาก และมันจะละลายอย่างรวดเร็วเมื่อถูกนำขึ้นมาบนผิวน้ำ" ดร.โธมัส กล่าว
ทั้งนี้ สำหรับซากปลา อาทากามา สเนลฟิช ตัวหนึ่งที่ถูกนำขึ้นมาบนผิวน้ำ แล้วเกิดการละลายไปเหลือเพียงชิ้นส่วนกระดูกนั้น ทางทีมวิจัยจะนำกลับไปเก็บรักษาไว้เพื่อทำการศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างต่อไป
ที่มา: independent.co.uk/, Google และ YouTube