ทำไมถึงชื่อ ถนนดินสอ ถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์..
ทำไมถึงชื่อ ถนนดินสอ ถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์...และนี่คือที่มาของชื่อถนนดินสอ
วันนี้เราจะพาไปเดินเที่ยวแถวถนนดินสอกันนะครับ..ถนนดินสอมีที่มาที่ไปอย่างไรแล้วทำไมถึงมีชื่อว่าถนนดินสอ เรามีบทความมานำเสนอครับ
ถนนดินสอ (อักษรโรมัน: Thanon Dinso) ถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
มีจุดเริ่มต้นที่วงเวียนเสาชิงช้าที่ถนนบำรุงเมือง บริเวณหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ และทอดยาวออกไปยังถนนราชดำเนินกลางผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปสิ้นสุดลงที่แยกสะพานวันชาติ เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ โดยเป็นถนนที่เป็นเส้นตรงตลอดทั้งสาย มีความยาวทั้งสิ้น 850 เมตร
ถนนดินสอบริเวณเทวสถานโบสถ์พราหมณ์
ถนนดินสอ เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เหตุที่ได้ชื่อว่า "ดินสอ" เนื่องจากแถบนี้ในช่วงกรุงศรีอยุธยา
ที่มาของชื่อถนนดินสอ
👉🏿ผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่มีอาชีพทำดินสอและกระดาษ จนได้ชื่อว่า "ย่านป่าดินสอ" ปรากฏเป็นหลักฐานในเอกสารจากหอหลวง เรื่องคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ ความว่า "ย่านป่าดินสอ ริมวัดพระงาม มีร้ายขายดินสอศิลาอ่อนแก่ แลดินสอขาวเหลือง ดินสอดำ ชื่อตลาดบ้านดินสอ"
👉🏿จนล่วงมาถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาชีพทำดินสอของผู้คนแถบนี้ก็ยังคงอยู่ และถูกเรียกว่า "ย่านดินสอ" หรือ "บ้านดินสอ" ต่อมามีการสร้างถนนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2441 เพื่อขยายเส้นทางสัญจรในพื้นที่พระนคร จึงได้ชื่อว่า "ถนนดินสอ" ตราบจนปัจจุบัน แต่อาชีพทำดินสอไม่หลงเหลืออยู่อีกแล้ว
🖼️ย้อนอดีตยามเช้า ถนนดินสอ กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2497 @ บรรยากาศยามเช้าในกรุงเทพฯ เมื่ออดีต เรื่องราวแห่งยุคสมัย สิ่งต่างๆ ในอดีต ที่ไม่มีให้เห็นอีกแล้วในปัจจุบัน ผ่านมุมมองของนักท่องเทียวที่เข้ามาเมืองไทยในยุคนั้น
👉🏿ถนนดินสอ ในปัจจุบัน เป็นแหล่งรวมร้านอาหารที่ขึ้นชื่อหลายร้านเช่นเดียวกับถนนที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ถนนตะนาว, ถนนมหรรณพ, ถนนแพร่งภูธร, ถนนแพร่งนรา มีอาหารหลากหลายชนิด เช่น อาหารตามสั่ง, อาหารไทย, ข้าวแกง, โจ๊ก, นมสดและขนมปังปิ้ง, ข้าวมันไก่, เป็ดย่าง, เย็นตาโฟ, ขนมหวาน, ถั่วคั่ว, โบ๊กเกี้ย และขนมไทย เป็นต้น
อ้างอิงจาก: google วิกิพีเดีย ถนนดินสอ และ YouTube