💀ความเชื่อ "แวมไพร์" ในยุคกลาง ยุโรป เรื่องแวมไพร์ ตายละฟื้น การฝังศพ.!!
💀 ความเชื่อในยุคกลาง ยุโรป เรื่องแวมไพร์ ตายละฟื้น การฝังศพ "แวมไพร์" แพร่หลายไปทั่วยุโรปตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 14 จนถึงศตวรรษที่ 17 (คศ 1300 - 1700 )
การระบาดของ "แวมไพร์" มักเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่ผู้คนกำลังจะตายจากสาเหตุที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ในยุคนั้น เช่น โรคระบาดหรือโรคพิษร้ายแรง
💀ในปี 2016 ค้นพบแวมไพร์ที่เวนิส อิตาลี นักโบราณคดีด้านนิติเวช นักมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยฟรอเรนซ์ ระบุว่า ขุดพบศพหญิง ซึ่งคาดว่าจะมีอายุศตวรรษที่ 16 และถูกนำอิฐวางขวางขากรรไกร อุดปากเอาไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เชื่อว่า เธอถูกฝังโดยพิธีกรรมที่คนสมัยนั้นเชื่อว่าเธอเป็นแวมไพร์ โครงกระดูกถูกพบในหลุมฝังศพที่เต็มไปด้วยผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของโรคระบาดสมัยนั้น ร่างกายมีหินวางอย่างระมัดระวังในปาก หลักฐานพิธีกรรมที่ใช้ปราบแวมไพร์ โดยผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ตำนานผีดูดเลือดนี้เป็นส่วนผสมของความเชื่องมงายของคนในยุคนั้นเรื่องโรคที่แพร่ระบาด และสิ่งที่เกิดขึ้นกับศพ หลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว ความเชื่อชาวเยอรมัน นัคเซห์เรอร์เป็นแวมไพร์ชนิดหนึ่ง ความเชื่อในเวลานั้นคือผู้คนสามารถกลายเป็นนัคเซห์เรอร์ แวมไพร์ฟื้นขึ้นมาจากความตายเพื่อกัดคนเป็นและแพร่กระจายโรคระบาด ต่อมาเมื่อตำนานพัฒนาต่อเติม ผู้คนเชื่อว่าแวมไพร์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาจากความตายและบีบคอผู้คนในตอนกลางคืน อาจเป็นวิธีอธิบายอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในยุโรปในเวลานั้น( วัณโรค ) เฉพาะในยุควิกตอเรียนเท่านั้นที่ว่ากันว่าแวมไพร์กัดคอและดูดเลือด ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในหนังสือในสมัยนั้นว่าเป็น เรื่องแต่งเติมขึ้นมา
💀มีความเชื่อโชคลางมากมายเกี่ยวกับความตายในยุโรปในเวลานั้น และไม่ใช่ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับแวมไพร์ มีการพบศพถูกขังไว้ในที่พำนักแห่งสุดท้ายของพวกเขา ถูกตอกตะปูที่ก้นหลุมศพ ใช้ก้อนหินถ่วงเท้า หรือมัดด้วยหนามของดอกกุหลาบบนหลุมฝังศพทั้งหมดนี้เป็นวิธีป้องกันไม่ให้ร่างลุกฟื้นคืนชีพขึ้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการเป็นผีดูดเลือดทั้งหมดตามความเชื่อ
#ยุโรปในศตวรรษ คศ 1300-1700
#ซึ่งบางกรณียังมีให้เห็นในประเทศอาเซียน