ทำไม 'เพรตเซล' ต้องทำเป็นรูปคล้ายๆ ผีเสื้อ
รูปทรงของเพรตเซลมีความหมายแทนวงแขนของเด็กๆ ที่คล้องไขว้ประสานกัน ส่วนวงกลม 3 วง ที่
เกิดจากไขว้กันนั้นก็คือตัวแทนของ "พระบิดา พระบุตร และพระจิต" ตามหลัก 'ตรีเอกนุภาพ'
ถึงแม้ว่าขนมเพรตเซลจะเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในชาติตะวันตกมานานนมแล้ว แต่
สำหรับคนไทยอย่างเราๆ หลายคนคงเพิ่งทำความรู้จักกับขนมที่มีกลิ่นหอมเย้ายวนใจชนิดนี้มาได้ไม่
นานนี้เอง
ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่า ขนมเพรตเซลมีต้นกำเนิดจากที่ใดกันแน่ บ้างก็ว่ามันมีต้นกำเนิดมา
จากเมือง 'เบรตเซล' (bretzel) ทางตอนใต้ของเยอรมนี บ้างก็ว่ามาจากแคว้นอัลซาซ์ ทาง
ตอนใต้ของฝรั่งเศสที่มีพรมแดนติดกับเยอรมนี
ขณะที่บางคนเชื่อว่า ต้นกำเนิดของเพรตเซลเริ่มขึ้นในยุคกลาง แต่บางคนก็บอกว่า ต้น
กำเนิดของเพรตเซลมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน
แต่ทฤษฎีหนึ่งที่หลายๆ คนเชื่อกันระบุว่า เพรตเซลเริ่มมีปรากฏให้เห็นตั้งแต่ ปี ค.ศ.
610 ในทางตอนใต้ของฝรั่งเศส และทางตอนเหนือของอิตาลี คิดค้นขึ้นโดยเหล่าบาทหลวงที่ทำการ
สอนเรื่องราวเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา
เพรตเซลถูกนำมาใช้เป็นรางวัลให้แก่เด็กๆ ที่สามารถท่องบทสวดในพระคัมภีร์ได้ เดิมที
เหล่าบาทหลวงจะเรียกเจ้าขนมชนิดนี้ว่า 'เปรติโอลา' (Pretiola) ซึ่งเป็นภาษาละตินแปลว่า
"รางวัลเล็กๆ น้อยๆ" ต่อมามีการนำไปแปลเป็นภาษาอิตาลีว่า 'บราชิโอลา' (brachiola) ซึ่งมี
ความหมายว่า "แขนเล็กๆ"
การทำเพรตเซลออกมาเป็นรูปทรงอย่างที่เห็นกันว่ามีลักษณะคล้ายผีเสื้อนั้น หาใช่เป็น
ผีเสื้ออย่างที่เราเข้าใจไม่ หากแต่รูปทรงที่ปรากฏนั้นมีความหมายเชิงสัญลักษณ์แทนวงแขนของเด็กๆ
ที่คล้องไขว้ประสานกัน ส่วนวงกลม 3 วง ที่เกิดจากไขว้กันนั้นก็คือตัวแทนของ "พระบิดา พระบุตร
และพระจิต" ตามหลัก 'ตรีเอกานุภาพ' ของศาสนาคริสต์ นั่นเอง
ทั้งนี้ หลายคนอาจคงยังไม่ทราบว่า ในสมัยก่อนนั้นเพรตเซลถือเป็นขนมมงคลของ
ชาวตะวันตกเลยทีเดียว ในหลายๆ ประเทศใช้มันเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายดีๆ ตัวอย่างเช่น ใน
เยอรมนี ชาวบ้านจะกินเพรตเซลกับไข่ต้มในมื้อเย็นของวัน 'กูดฟรายเดย์' (วันที่พระเยซูถูกตรึงบน
ไม้กางเขนก่อนที่จะฟื้นคืนชีพขึ้นอีกครั้งในวันอาทิตย์ หรือวัน 'อีสเตอร์ซันเดย์') โดยเชื่อกันว่า เพ
รตเซล คือ สัญลักษณ์ของชีวิตที่ยืนยาวชั่วกัลปาวสาน ในขณะที่ไข่ต้มเป็นตัวแทนของการฟืนคืนชีพของ
พระเยซูในวันอีสเตอร์
นอกจากนี้ ในวันขึ้นปีใหม่ เด็กๆ ชาวเยอรมนียังมีการห้อยเพรตเซลไว้ที่คอเพื่อความเป็น
สิริมงคลด้วย โดยถือเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความโชคดีมีชัย
ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพรตเซลถูกนำมาใช้ในพิธีมงคลสมรสเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทน
ความผูกพันและความสุขสมหวังของคู่บ่าวสาว โดยธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในราวปี
1614 ในงานอภิเษกสมรสของเชื้อพระวงศ์ในราชสำนัก
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงบางส่วนของความหมายดีๆ ที่สื่อผ่านขนมเพรตเซล ทว่า ตาม
ตำนานตะวันตกนั้นยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นสิริมงคลของเจ้าขนมชนิดนี้อยู่มากมาย...