การขายฝากเป็นอย่างไร ? ส่งผลร้ายต่อประชาชนในด้านทรัพย์สินทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์อย่างไร ? กฎหมายใหม่เกี่ยวกับการขายฝากจะช่วยอะไรเราได้บ้าง ?
ดร.โสภณ พรโชคชัย กล่าวถึงการขายฝาก โดยอ้างอิงไว้ว่า
“ขายฝาก (repurchase, redemption หรือ sale with right of redemption) เป็นสัญญาซื้อขายรูปแบบหนึ่งซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้ออยู่ดังสัญญาซื้อขายทั่วไป แต่แตกต่างกันตรงที่ผู้ขายอาจไถ่ (repurchase, buy back หรือ redeem) ทรัพย์สินนั้นคืนไปได้ ที่ผู้คนเลือกขายฝากทรัพย์สินกันนั้น อาจเป็นเพราะเมื่อมีความจำเป็นทางการเงินและต้องกู้หนี้ยืมสินแล้ว ผู้ให้กู้มักเรียกให้นำทรัพย์สินหรือบุคคลมาประกันการชำระหนี้ด้วย กล่าวคือ ให้นำทรัพย์สินมาจำนองหรือจำนำ หรือนำบุคคลมาค้ำประกัน แต่บ่อยครั้งที่หลักประกันเหล่านี้ไม่ช่วยรับรองว่าผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้ดังใจ เพราะทรัพย์สินยังคงเป็นคงผู้จำนองหรือจำนำอยู่ กับทั้งตามกฎหมายแล้ว ผู้ค้ำประกันยังมีสิทธิอ้างด้วยประการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ให้กู้ไปเรียกชำระหนี้จากผู้กู้เสียก่อนได้ เป็นต้น”
นับตั้งแต่ปี 2562 ก็ได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดิน พ.ศ.2562 ที่ผ่านมาประชาชนเสียเปรียบในการขายฝากเป็นอันมาก โดย “ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ระบุว่า สถิติการขายฝากตั้งแต่ปี 2556-2560 การจดทะเบียนขายฝาก โดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 66,521 ราย โดยมีกรณีตัวอย่างการขายฝากที่ดินให้กับนายทุนเงินกู้ในหลายจังหวัด ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลพยายามแก้ไข โดยจัดให้มีกลไกการเจรจาไกล่เกลี่ยประนอมหนี้”
สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสตูลได้สรุป สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เทศบาลตำบลท่าช้างยังสรุปเพิ่มเติมว่า
ผู้สนใจขายฝากจึงควรศึกษากฎหมายให้ดี หรือสามารถเข้าร่วมงานสัมมนาในหัวข้อ “การขายฝากอสังหาริมทรัพย์” ที่ทางโรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้จัดขึ้น สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.trebs.ac.th/th/69/Real-Estate-Sale
สอบถามรายละเอียดได้ทาง
[Tag]: การขายฝาก , การลงทุน , ลงทุนอสังหาฯ , กลยุทธ์ขายฝาก , ขายฝากอสังหาฯ , ขายฝาก , ธุรกิจขายฝาก , Realestatesale