ปวดคอ บ่า ไหล่ มาเข้าใจอาการเหล่านี้และวิธีการรักษาอย่างถูกวิธี
การประสบปัญหาอาการปวดคอ บ่า ไหลเป็นบริเวณที่คนมักจะปวดกันอยู่บ่อยๆ และเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้ๆกัน ซึ่งอาจทำให้ผู้ประสบปัญหามีการสับสนอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาการปวดเหล่านี้หากเราสังเกตอาการและสามารถแยกจุดปวดเมื่อยได้ว่าเป็นอาการปวดส่วนไหน เราก็สามารถรักษาได้ถูกจุดและถูกวิธี โดยวันนี้เราจะมาศึกษาและสังเกตอาการปวดต้นคอ บ่า ไหลกันว่ามีวิธีการรักษาแบบใดบ้าง เป็นวิธีแก้ปัญหาก่อนเกิดอาการลุกลามจนเป็นอาการปวดเรื้อรัง
ปวดคอ บ่า ไหล่ (Neck and Shoulder Pain)
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดหัว ถึงแม้จะอยู่ใกล้กันและสามารถสังเกตอาการได้ยากหากขาดความเข้าใจในอาการของท่าน โดยในช่วงนี้เราจะมาทำความเข้าใจในอาการปวดตึงคอ บ่า ไหล่กันว่าปัญหาที่ท่านกำลังเผชิญเป็นปัญหาประเภทใด เพื่อให้ท่านได้เข้าใจและแยกแยะอาการปวดคอ บ่า ไหล่ได้ถูกต้อง โดยเราจะลิสเป็นข้อแต่ละประเภท เพื่อให้ท่านเข้าใจถึงปัญหาที่ถูกต้อง โดยท่านสามารถอ่านต่อได้ดังนี้
ปวดคอ
อาการของการปวดคอจะเริ่มมีอาการตั้งแต่บริเวณท้ายทอย ต้นคอ และสิ้นสุดที่ก่อนถึงบริเวณบ่า ซึ่งการปวดบริเวณนี้ อาจมีได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปวดเมื่อยคอธรรมดา การปวดเกร็งคอจนขยับเคลื่อนไหวคอได้ลำบาก สาเหตุของอาการปวดคออาจที่ผลมาจากการนอนตกหมอน หรือการใช้คอในการก้มๆเงยๆเป็นประจำอันเนื่องมาจากกิจวัตรประจำวันและงานของท่าน
โดยอาการปวดคอส่วนใหญ่ล้วนปวดมาจากกล้ามเนื้อเป็นอาการปวดชั่วคราว ท่านสามารถรักษาโดยการนวด ทำท่าบริหารกล้ามเนื้อคอหรือหยุดพักจากพฤติกรรมที่ท่านอยู่เป็นประจำที่อาจเป็นสาเหตุของการปวดคอ ก็จะสามารถบรรเทาหรือหยุดอาการปวดคอได้
ปวดบ่า
อาการของการปวดบ่า อาการเหล่านี้จะเป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างคอกับไหล่ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย ปวดเกร็ง และตึงบริเวณบ่า อันมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเช่นการยกของหนักๆ จากความเครียด จากการใช้งานกล้ามเนื้อที่ไม่ถูกต้องหรือมากเกินไป ซึ่งหากท่านสามารถหยุดหรือปรับเปลี่ยนท่าให้ถูกต้องตามหลักสรีรวิทยา อาการปวดเหล่านี้จะค่อยๆบรรเทาและหายไปในที่สุด
ปวดไหล่
อาการของการปวดไหล อาการของการปวดไหล่จะเกิดการปวดบริเวณช่วงโค้งของไหล่หรือการปวดส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างลำตัวกับแขน ซึ่งอาการปวดไหล่เหล่านี้มักจะปวดเมื่อย เจ็บแปลบ ขยับเขยื้อนไหล่ลำบาก และมีอาการตึงบริเวณไหล่ โดยอาการปวดไหล่ส่วนใหญ่มาจากการเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้องตามหลักสรีรวิทยาเช่น ยกของหนักผิดท่า และการเล่นกีฬาเป็นต้น
ทำความรู้จักอาการปวดคอ บ่า ไหล่
เมื่อท่านทำความเข้าอาการปวดคอ บ่า ไหลอย่างถูกต้องและสามารถแยกแยะอาการต่างๆของท่านแล้ว สิ่งที่ควรรู้ต่อมาก็คือ ขนาดของปัญหาของอาการปวดคอ บ่า ไหล โดยเราสามารถแบ่งอาการปวดคอ บ่า ไหลได้สองประเภทคือ อาการปวดคอ บ่า ไหล่แบบเฉียบพลัน และ อาการปวดคอ บ่า ไหล่แบบเรื้อรัง ซึ่งอาการเหล่านี้จะมีความแตกต่างกัน หากท่านสนใจแล้วก็สามารถอ่านต่อได้เลยครับ
ปวดคอ บ่า ไหล่ เฉียบพลัน
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ เฉียบพลันเป็นอาการที่มักพบได้บ่อยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการทำงาน และการใช้กล้ามเนื้อที่ผิดวิธี หรืออาการอาจเกิดจากการนอนตกหมอน ก็จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอมีความเกร็งไม่สามารถหันหน้าหรือเอียงคอได้อย่างที่เคยทำ
อาการเหล่านี้สามารถหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป รวมไปถึงการบริหารบริเวณที่เกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เฉียบพลันก็สามารถบรรเทาอาการได้เช่นกันหากเรียนวิธีรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ด้วยตนเองอย่างถูกวิธี
ปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ แบบเรื้อรัง ผู้ปวดจะมีอาการปวดเป็นครั้งคราว พอหายแล้วก็สามารถกลับมาปวดต้นคอ บ่า ไหล่เหมือนเดิม ระยะเวลาที่ประสบปัญหาอาการปวดเป็นช่วงเวลาที่นาน โดยอาการปวดแบบนี้จะเรียกว่าอาการปวดแบบเรื้อรังกลุ่มที่มีกประสบปัญหาประเภทนี้มักเกิดจากกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง
รวมไปจนถึงการใช้งานบริเวณส่วนนั้นๆนานและหนักจนเกินไปจนเกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง หากปล่อยอาการเหล่านี้ทิ้งไว้นานๆ อาการปวดคอ บ่า ไหล่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไหล่ติด หากท่านประสบปัญหาเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์โดยทันที
สาเหตุอาการปวดคอ บ่า ไหล่
สาเหตุของอาการปวดคอ บ่า ไหล่มีได้หลากสาเหตุโดยคนไข่แต่ละคนมีการใช้ชีวิตประจำวันไม่เหมือนกันอย่างเช่นลักษณะการทำงาน การออกกำลังกาย ท่าทางการนอนหลับ สาเหตุเหล่านี้สามารถแก้ไขได้อย่างเช่นการเรียนรู้การใช้กล้ามเนื้อที่ถูกวิธีรวมไปถึงการปรับเปลี่ยนท่าทางการนอนเหมือนเปลี่ยนมาใช้หมอนหรือที่นอนใหม่ก็สามารถบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ได้
1. พฤติกรรมการดำเนินชีวิต
สาเหตุของอาการปวดคอ บ่า ไหล่อันเนื่องมาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นการทำงานที่ต้องใช้แรงงาน การขยับกล้ามเนื้อที่ไม่ถูกวิธี สาเหตุเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการเกร็งหรือปวดคอ บ่า ไหล่เป็นระยะๆ สาเหตุเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการปรับการวิธีการทำงาน หรือการเรียนรู้การขยับกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธีก็สามารถบรรเทาอาการของการปวดคอ บ่า ไหล่ได้
2. สรีระร่างกายมีปัญหา
สาเหตุของอาการปวดต้นคอและไหล่จากสรีระร่างกายมีปัญหา อันอาจมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ อักเสบ การใช้ชีวิตประจำวันไม่ถูกต้องหรือการประสบอุบัติเหตุร่วมด้วย การมีสรีระร่างกายที่ผิดปกติควรปรึกษาแพทย์โดยทันทีเพื่อป้องกันอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง
3. ภาวะกระดูกคอเสื่อม
สาเหตุของอาการปวดคอ บ่า ไหล่จากภาวะกระดูกคอเสื่อม โดยภาวะกระดูกคอเสื่อมอันมีสาเหตุมาจากอายุ หรือการขาดวิตามินเฉพาะ จึงทำให้กล้ามเนื้อใช้งานมากเกินกว่าปกติ วิธีการรักษาคือจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เรื่องอาการกระดูกเสื่อมเสียก่อนหรือทานวิตามินที่เสริมสร้างกระดูกและฟันก็สามารถบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ได้
4. การเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
การเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บอันอาจเกิดปัญหาปวดคอ บ่า ไหล่ได้อาจเป็นสาเหตุมาจากภาวะกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทหากมีอาการรุนแรงและอาการปวดคอ บ่า ไหล่เป็นเวลานานควรปรึกษาแพทย์โดยด่วนเพื่อทำการรักษา
5. ผลข้างเคียงจากโรคอื่น
สาเหตุของอาการปวดคอ บ่า ไหล่จากโรคข้างเคียงเช่นหมอนรองกระดูกคอเสื่อม หรือภาวะกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทโดยอาการปวดคอ บ่า ไหล่จะมีการรักษาแตกต่างกันออกไปตามการวินิจฉัยของแพทย์เช่น สามารถบรรเทาอาการปวดจากการทานยา ทำกายภาพบำบัด การใช้คลื่นความร้อน หรือฉีดยาเข้าไปเหนือเส้นประสาท
ปวดคอ บ่า ไหล่ แบบไหนควรพบแพทย์
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ที่ควรไปพบแพทย์ส่วนใหญ่มักจะมีเป็นอาการปวดแบบเรื้อรังหรือหากมีอาการปวดมากๆจนทนไม่ไหวก็สามารถเข้าพบปรึกษาแพทย์ได้เลย โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่ควรมาพบแพทย์คืออาการปวดคอ บ่า ไหล่จากภาวะกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท การปวดเรื้อรังหรือเป็นระยะเวลานาน หมอนรองกระดูกคอเสื่อม หรือการปวดคอ บ่า ไหล่จากอุบัติเหตุ
การวินิจฉัยอาการปวดคอ บ่า ไหล่
อาการปวดคอ บ่า ไหล่จะมีวิธีการวินิจฉัยอาการโดยแพทย์จะตรวจร่างกายคุณและซักประวัติทางการแพทย์ พวกเขาจะต้องการทราบว่าความเจ็บปวดของคุณเริ่มต้นเมื่อใดและคุณมีอาการอย่างไรบ้าง การตรวจอาการปวดคอ บ่า ไหล่อาจรวมถึงการทดสอบการบีบแขนเพื่อตรวจสอบที่มาของความเจ็บปวด
นอกจากนี้แพทย์ทดสอบระยะการเคลื่อนไหวของคุณโดยการขยับแขน ไหล่ และคอ ซึ่งแพทย์บางท่านอาจมีการวินิจฉัยอาการปวดคอ บ่า ไหล่โดยมีวิธีการดังนี้
- การตรวจเลือด
- ใช้รังสีเอกซเรย์ (X-rays)
- การสแกน CT และ MRI
- Electromyography (EMG) ซึ่งใช้อิเล็กโทรดเพื่อวัดกระแสไฟฟ้าใบเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ
- สุดท้ายหากแพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยอาการปวดคอ บ่า ไหล่ แพทย์อาจจะเจาะกระดูกสันหลังหากสงสัยว่ามีการติดเชื้อ
ท่านไม่ต้องกังวลไปเพราะการวินิจฉัยอาการปวดคอ บ่า ไหล่ของแพทย์โดยส่วนใหญ่เพียงแค่ขยับส่วนต่างๆที่มีอาการปวดและสอบถามประวัติต่างๆกับคนไข้ก็สามารถวินิจฉัยได้แล้ว ซึ่งการตรวจแบบการตรวจเลือด ใช้รังสีเอกซเรย์(X-rays) การสแกน CT MRI Electromyography (EMG) และการเจาะกระดูกสันหลังจะเป็นการวินิจฉัยอาการปวดคอ บ่า ไหล่สำหรับผู้ที่มีอาการปวดที่ผิดปกติและการวินิจฉัยแบบธรรมดาไม่ได้ผล
วิธีรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่
การรักษาแบบประคับประคองอาการ
การรักษาแบบประคับประคองอาการ โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงจะประเมินระดับความรุนแรงของอาการปวดเป็นหลัก ในกรณีที่อาการปวดไม่รุนแรงนัก แพทย์จะจ่ายยาบรรเทาอาการปวด ในกรณีที่อาการปวดรุนแรง แพทย์จะจ่ายยาแก้อักเสบ
การรักษาสำหรับผู้ป่วยอาการเรื้อรัง
การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง รักษาแบบประคองอาการแล้วไม่หายขาด ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำให้เข้าโปรแกรมกายภาพบำบัด โดยอาจใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย หากกายภาพบำบัดแล้วยังไม่ดีขึัน แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัด
ป้องกันอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ได้อย่างไร
แนวทางการป้องกันอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ได้แก่
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- ยืดกล้ามเนื้อระหว่างวัน
- ไม่เกร็งคอเป็นเวลานาน
- เปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงาน
- นวดแก้ปวดคอ บ่า ไหล่
- ยืดบริหารร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการนอนหมอนสูง
ข้อสรุป
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ โดยมากเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลให้ช่วงบ่าผิดสรีระร่างกาย จนทำให้เกิดอาการเกร็ง และปวด คอ บ่า ไหล่ตามมา นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้จากอุบัติเหตุหรือผลข้างเคียงของโรคอื่นๆ ได้ หากพบอาการปวด ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะอาจจะส่งผลให้ปวดรุนแรงจนไปถึงขั้นเรื้อรังได้ เพราะฉะนั้น หากมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ควรรีบเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือพบแพทย์เพื่อรักษาอาการ