อะโวคาโด จากเม็กซิโกข้ามโลกมายังเมืองไทย!!
ไม่รู้จะเขียนอะไรดี เลยนึกถึงโฆษณาในระหว่างการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกของ กสทช ที่มีการอวด “อะโวคาโด” ที่สั่งจากสวนทางเหนือของประเทศไทย งั้นเอามาคุยเล่นทำความรู้จักกันเสียหน่อยดีไหม
อะโวคาโด (Avocado) หรือที่บางครั้งก็เรียกว่า “ลูกเนย” เป็นพืชจำพวกพืชดอกใบเลี้ยงคู่ ในอันดับอบเชย (Laurales) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Persea americana ต้นกำเนิดอยู่ที่แถบอเมริกากลาง โดยเฉพาะที่รัฐปวยบลา (Puebla) ตอนกลางของประเทศเม็กซิโก ชื่อของพืชชนิดนี้มาจากคำว่า Ahuacati ในภาษาของชาวอเมริกาพื้นเมืองก่อนยุคจักรวรรดิแอซเท็ก
มีหลักฐานว่าชาวพื้นเมืองในอเมริกากลางน่าจะรู้จักอะโวคาโดมานานกว่า 1 หมื่นปีแล้ว โดยมีการค้นพบเศษซากของอะโวคาโดในถ้ำ Coxcatlan ในรัฐปวยบลา มีอายุประมาณ 1 หมื่นปี ส่วนชาวยุโรปเริ่มรู้จักกับผลไม้ชนิดนี้เมื่อราวปี 1521 ก่อนจะมีการนำไปทดลองปลูกในพื้นที่อื่น สำหรับในประเทศไทย มีการนำอะโวคาโดมาทดลองปลูกครั้งแรกที่จังหวัดน่าน เมื่อราวร้อยปีที่ผ่านมา
อะโวคาโดเป็นพืชที่ขึ้นได้ในเขตร้อนหรือเขตอบอุ่นกึ่งร้อน แม้ว่าอะโวคาโดบางสายพันธุ์อาจจะอยู่ในสภาพที่อากาศเย็นจัดจนถึงจุดเยือกแข็งก็ตาม ขึ้นได้ดีในที่สูงและลมไม่แรงจัด อะโวคาโดเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ประมาณกันว่า การปลูกอะโวคาโดให้ติดผล 1 ลูก จะต้องใช้น้ำมากขึ้น 70 ลิตรเลยทีเดียว ต้นอะโวคาโดที่โตเต็มที่อาจจะมีลำต้นสูงได้ถึง 18 เมตร ใบเป็นรูปไข่มีขนาดประมาณ 12-25 เซนติเมตร ดอกมีสีเหลืองหรือเหลืองแกมเชียว ผลมีลักษณะคล้ายลูกแพร ความยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร หนักตั้งแต่ 100-1000 กรัม เมล็ดขนาดใหญ่ถึง 5-6.4 เซนติเมตร รสชาติมันคล้ายเนย
อะโวคาโดเป็นผลไม้ที่ไม่หวานจัด เป็นแหล่งของกรดไขมันชนิดดี วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อรองกาย เช่น โพแทสเซียม วิตามินอี อะโวคาโดมีสารลูทีน (Lutein) และซีแซนทิน (Zeaxanthin) ช่วยบำรุงสายตา บำรุงประสาทและสมอง ไฟเบอร์
ในอะโวคาโด มีสารลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin) มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อสุขภาพดวงตา ช่วยบำรุงประสาทและสมอง ไฟเบอร์ช่วยในการขับถ่าย ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การรับประทานอะโวคาโดมากเกินไปก็อาจจะทำให้บางคนเกิดอาการแพ้ที่เป็นอันตรายได้เช่นกัน จึงไม่ควรรับประทานมากเกิน โดยคำแนะนำแพทย์ระบุว่า ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 1 ผล