รู้หรือไม คนจีนสมัยโบราณเคยเข้าใจผิดว่า “ยีราฟ” คือ “กิเลน” สัตว์ในตำนานความเชื่อของจีน
ความเข้าใจผิดผสมกับความเชื่อและจินตนาการเลยทำให้คิดว่าตัวยีราฟคือตัวกิเลนสัตว์ในความเชื่อในตำนานโบร่ำโบราณของจีน
รู้ไหม คนจีนสมัยโบราณเคยเข้าใจผิดว่า “ยีราฟ” คือ “กิเลน” สัตว์ในตำนานความเชื่อที่ของจีน
👉🏿 ในยุคราชวงศ์หมิงของจีน (1368-1644) สมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ (Yongle) พระองค์ได้สั่งการให้ส่งกองเรือสำเภาขนาดใหญ่ เพื่อออกเดินทางสำรวจ และทำการค้ากับดินแดนต่าง ๆ ที่อยู่รายรอบจีน
⛵โดยกองเรือสำเภานี้ ได้มีผู้นำซึ่งเป็นขุนนางและขันทีนามว่า เจิ้งเหอ (Zheng He) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ 'ซำปอกง' ⛵โดยกองเรือสำเภาของเจิ้งเหอได้ถูกขนานนามว่า 'กองเรือมหาสมบัติ' (Treasure Voyages) อันเนื่องมาจากความยิ่งใหญ่ของทรัพย์สมบัติที่ถูกบรรทุกอยู่บนเรือ กำลังทหารและลูกเรือที่ออกเดินทาง รวมถึงขนาดของเรือสำเภาแต่ละลำที่มีขนาดใหญ่มโหฬาร
⛵กองเรือมหาสมบัติประกอบไปด้วยเรือมากกว่า 200 ลำ กำลังทหารพร้อมลูกเรือกว่า 28,000 คน และเรือแต่ละลำก็มีขนาดความยาวตั้งแต่ 170 จนถึง 440 ฟุต ซึ่งถือว่ามีขนาดที่ใหญ่ยักษ์เป็นอย่างมาก กองเรือได้ออกเดินทางตั้งแต่ปี 1405 จนถึง 1433 โดยเป็นการเดินทางรวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง
⛵กองเรือมหาสมบัติออกสำรวจและทำการค้ากับชาติต่างๆ กว่า 25 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย เปอร์เซีย ตะวันออกกลาง ไปจนถึงแอฟริกาตะวันออก ซึ่งอาณาจักรอยุธยาของไทย ก็เป็นหนึ่งในเส้นทางของเจิ้งเหอเช่นกัน
👉🏿มีเกร็ดน่าสนใจคือ ระหว่างการเดินทาง เจิ้งเหอยังได้นำสัตว์ชนิดหนึ่งกลับมาที่จีนด้วย ซึ่งสัตว์ที่ว่านี้ก็คือยีราฟ
ในปี 1414 ตอนที่กองเรือเดินทางมาถึงเบงกอล เจิ้งเหอมีโอกาสได้เจอกับทูตชาวเคนยาจากเมืองมาลินดี (Malindi)
🧔โดยทูตเคนยาก็ได้มอบยีราฟที่เขานำมาที่เบงกอล มอบให้กับเจิ้งเหอเพื่อเป็นบรรณาการถวายแก่จักรพรรดิหย่งเล่อ หลังจากนั้นเจิ้งเหอพร้อมกองเรือมหาสมบัติ ก็ได้เดินทางออกจากเบงกอลกลับไปที่จีน
👉🏿โดยนอกจากยีราฟที่เจิ้งเหอนำมาถวายแก่จักรพรรดิหย่งเล่อแล้ว ยังมีสัตว์จำพวกสิงโต, เสือดาว, ม้าลาย รวมไปถึงสัตว์แปลก ๆ อีกมากมาย ที่เจิ้งเหอนำมาถวายแก่องค์จักรพรรดิหย่งเล่อ
👉🏿แต่หลังจากที่จักรพรรดิหย่งเล่อสวรรคตในปี 1424 ก็ไม่ได้มีบันทึกอีกเลยว่า ยีราฟรวมไปถึงสัตว์ต่าง ๆ ที่เจิ้งเหอนำมาถวายกับจักรพรรดิหย่งเล่อนั้น มีชะตากรรมอย่างไรต่อไป
🦒ข้อมูลเพิ่มเติม
Zielinski เขียนไว้ว่า ยีราฟมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์หลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับqilin(กิเลน)คือ มันมีเขาที่ปกคลุมด้วยผิวหนัง (สมมุติว่าqilinมีเขาเดียว) ร่างกายเหมือนกวางที่มีเท้าเป็นกีบแยก และมีขนสีสดใส
👉🏿ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนสำหรับเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการตีความนี้
เขียน ยีราฟถูกนำเสนอต่อจักรพรรดิในฐานะกิเลนเขาเขียน แต่เขาคงไม่ถูกหลอกให้คิดว่ามันเป็นกิเลนจริงๆ
“การละทิ้งความสัมพันธ์ระหว่างยีราฟกับกิเลนเขาได้กล่าวถึงมุมมองของขงจื๊อดั้งเดิมว่า การรักษาการปกครองที่ดีนั้นสำคัญกว่าการกังวลกับสัญญาณเหนือธรรมชาติ”
👉🏿แต่กิเลนเป็นสัญญาณมงคล ดังนั้นแม้ว่าจักรพรรดิจะมองข้ามศักยภาพของกิเลน และมียีราฟตัวที่สองที่เข้าร่วม
ในปีต่อมา แต่พระองค์ก็ไม่ได้ปิดข่าวลือทั้งหมด และเรื่องราวยีราฟกับกิเลนก็ค่อยๆจางหายไปกลายเป็นตำนานความเชื่อนั่นเอง
“การสำรวจของจีนสิ้นสุดลงในปี 1433 เก้าปีหลังจากการเสียชีวิตของหย่งเล่อ เมื่อลัทธิโดดเดี่ยวเข้าครอบงำนโยบายของจีนอีกครั้ง” ซีลิงซีเขียน ไม่มีข่าวว่าเกิดอะไรขึ้นกับยีราฟ แต่หวังว่ามันจะจบลงด้วยดี
ที่มา: smithsonianmag,google และ YouTube