Affiliate Marketing คืออะไร ทำไมธุรกิจหันมาใช้กลยุทธ์นี้
ปัจจุบันหลายธุรกิจหันมาใช้กลยุทธ์การตลาดแบบ Affiliate Marketing มากขึ้น ทำให้หลายคนมีคำถามเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดนี้ บทความนี้ เราจะมาตอบคำถามที่หลายๆคนสงสัย รวมถึงทำความรู้จักกับ Affiliate Marketing กันว่า Affiliate Marketing คืออะไร , ทำไมถึงนิยมอย่างแพร่หลาย , รูปแบบรายได้ พร้อมตัวอย่างการทำ Affiliate จากแบรนด์ดัง ถ้าพร้อมแล้ว ไปลุยกันเลย!
Affiliate Marketing คืออะไร
ก่อนอื่น เราขอแทนธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์การตลาดนี้ว่า “Vendor” และผู้โปรโมทสินค้าคือ “ผู้โปรโมทสินค้า” (ทั้งบุคคลและบริษัท) เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า มีฝั่งหนึ่งเป็นเจ้าของสินค้า และอีกฝั่งหนึ่งคือผู้โปรโมทสินค้าเท่านั้น (เป็นได้ทั้งบริษัทและบุคคล)
Affiliate Marketing คือ กลยุทธ์การทำการตลาดรูปแบบหนึ่ง ที่บุคคลหรือบริษัท ได้ทำการโปรโมทสินค้าให้แก่บริษัท Vendor โดยผ่านช่องทางต่างๆของผู้โปรโมทสินค้าเอง ซึ่งผู้โปรโมทสินค้าได้รับผลตอบแทนเป็น Commission ซึ่งจากสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าการตลาดแบบ Affiliate MArketing มีการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้คนสนใจหันมาศึกษาและโปรโมทสินค้าต่างๆผ่านช่องทางของตนเอง บางเคสมีการตั้งบริษัทเพื่อทำ Affiliate Marketing โดยเฉพาะ ซึ่งในไทย ก็มีการทำเช่นเดียวกัน แต่การเติบโตอาจยังน้อยกว่าสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้รูปแบบรายได้ของการทำ Affiliate ก็มีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงกันระหว่าง Vendor และผู้โปรโมทสินค้า
Affiliate Marketing ทำงานอย่างไร
หลักการทำงานของ Affiliate Marketing เราขอแยกเป็น 2 มุมมอง คือทางฝั่ง Vendor และฝั่งผู้โปรโมทสินค้ารายบุคคลหรือรายบริษัท ดังนี้
Affiliate Marketing ในมุมของ Vendor
สำหรับในมุมของ Vendor การทำ Affiliate Marketing ถือเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ลงทุนน้อย แต่ได้ผลตอบแทนมาก เนื่องจาก มีผู้โปรโมทสินค้าให้ และเมื่อได้ Sale , Lead หรือ Click ค่อยจ่ายเงินออกไป ซึ่ง relate กับค่าใช้จ่ายที่จ่ายออกไป หากได้ยอดขายมาก ก็จ่ายมาก หากยอดขายน้อยก็จ่ายน้อย ไม่ว่าจะทางไหน ในมุมของ Vendor ก็ยังมีกำไร
Affiliate Marketing ในมุมของบุคคล
Affiliate Marketing ในมุมมองของบุคคล หรือผู้โปรโมทสินค้า คือ การทำการตลาดให้กับ Vendor แล้วได้ผลตอบแทนเป็นค่า Commissionเช่น ช่วยลูกค้าในการค้นหาสินค้า หรือการโปรโมทสินค้าเพื่อให้เกิดการซื้อขาย โดยเราอาจมีช่องทางการโปรโมทของตนเอง เช่น การโพสลงเพจ Facebook ของตนเอง , การลงคลิปแนะนำสินค้าเพื่อให้ผู้ซื้อคลิกลิงค์และซื้อสินค้าผ่านเรา เป็นต้น
ดังนั้นในส่วนนี้ สรุปได้ว่า ทั้ง Vendor และผู้โปร ก็ win-win ทั้งสองฝ่าย หากผู้โปรโมทสินค้าสามารถโปรโมทสินค้าจนมีผู้ซื้อสินค้าผ่านเขาได้มาก ผู้โปรโมทสินค้าก็จะได้เงินมาก ในขณะเดียวกัน Vendor ก็จะได้ยอดมากขึ้นเช่นเดียวกัน
องค์ประกอบของ Affiliate Marketing
องค์ประกอบของ Affiliate Marketing มี 3 องค์ประกอบ อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ว่ามีผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด 3 ส่วนคือ
- Seller and product creator : ผู้เกี่ยวข้องนี้ คือ Vendor ที่เรากล่าวมาข้างต้น เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการ หรือเป็นผู้ที่กำหนดเงื่อนไขของการทำ Affiliate Marketing ว่ามีเงื่อนไขใดบ้าง มีค่าตอบแทนคิดเป็นกี่เปอร์เซ็น
- The affiliate or publisher : ผู้เกี่ยวข้องที่ 2 คือ ผู้โปรโมทสินค้า ซึ่งอาเป็นบุคคลหรือบริษัทก็ได้ เป็นผู้ที่นำสินค้าของ Seller and product creator ไปโปรโมทในช่องทางต่างๆ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น Banner Ads , Post , Video
- Customer : ส่วนนี้ เป็นผู้ที่ติดตามช่องทางต่างๆของผู้โปรโมทหรือ Publisher ซึ่งจะมีการกระทำต่างๆ เช่น การคลิก , การกรอกข้อมูล หรือารซื้อสินค้า
ในการทำ Affiliate MArketing จะต้องมีให้ครบทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะเป็นการทำที่ไม่เกิดผลลัพธ์ เช่น หากไม่มี customer ไม่ว่าผู้โปรโมทสินค้าจะโปรโมทมากเพียงใด ก็จะไม่ได้ค่า Commission เนื่องจากไม่มีผู้ซื้อสินค้าหรือสนใจการโปรโมทของเขานั่นเอง
ประโยชน์และข้อจำกัดของการทำ Affiliate Marketing
สำหรับผู้ที่สนใจทำ Affiliate Marketing เรามาดูกันดีกว่าว่า Affiliate MArketing มีประโยชน์และข้อจำกัดอย่างไรบ้าง
ประโยชน์ของการทำ Affiliate Marketing
- ใช้ต้นทุนต่ำ หรือบางครั้งไม่มีต้นทุนในการโปรโมทสินค้าเลย เนื่องจาก การโปรโมทสินค้า สามารถเกิดจากการโพสเนื้อหาเกี่ยวกับสินค้า เพื่อชักจูงให้ผู้คนซื้อสินค้าผ่านเราจากการคลิกลิงค์ หรือกรอกโค้ดของเรา ซึ่งส่วนนี้ หากเรามี Social Media หรือช่องทางที่ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ ก็ถือว่าไม่มีต้นทุนหรือต้นทุนต่ำ
- ความเสี่ยงต่ำ เนื่องจาก เราไม่จำเป็นต้องสต็อกสินค้าด้วยตนเอง เนื่องจากสินค้าก็อยู่ที่ Vendor เรามีหน้าที่เพียงโปรโมทสินค้าเท่านั้น
- การทำ Affiliate หากทำ content ที่สามารถนำมาใช้ได้เรื่อยๆ เช่น การทำ content ผ่าน website ซึ่งหากเราทำ content ได้ดี ติดอันดับที่ดีใน Google เมื่อคนเข้ามาเสิร์ชหาสินค้าก็จะเจอเราอยู่เรื่อยๆ จนเราได้เงินแบบ passive income
- มีความยืดหยุ่นในการทำงาน เนื่องจาก การโปรโมทสินค้า เราสามารถทำเวลาไหนก็ได้ หรือสามารถจัดตารางของตัวเอง ในการโปรโมทสินค้า เช่น เราสามารถทำงานประจำ และเมื่อถึงเวลาพัก ก็มาโปรโมทสินค้าช่องทางของตัวเอง เป็นต้น
ข้อจำกัดของ Affiliate Marketing
- ควบคุมรายได้ได้ยาก เนื่องจาก ในแต่ละเดือน คนเข้าถึงช่องทางการโปรโมทสินค้าของเรา มีไม่เท่ากัน บางเดือนอาจเข้าถึงได้มาก และ บางเดือนอาจเข้าถึงได้น้อย ทำให้การทำ Affiliate Marketing สำหรับหลายๆคนมองว่าเป็นการหารายได้อีกช่องทางหนึ่งรองจากงานหลัก แต่สำหรับบางคน ก็สามารถทำเป็นรายได้หลักเช่นเดียวกัน ซึ่งหากมองว่าเป็นรายได้หลัก จะต้องมีการวางแผนที่ชัดเจน กำหนดเป้าหมายในแต่ละส่วน และมีการวัดผลในหลายๆส่วนได้
รูปแบบรายได้ของ Affiliate Marketing
รูปแบบหลายได้ของการทำการตลาด Affiliate Marketing สำหรับผู้โปรโมทสินค้า มีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเจ้าของสินค้านั้นๆ โดยเราแบ่งรูปแบบรายได้การทำ Affiliate Marketing เป็น 3 รูปแบบดังนี้
- Pay per Sale (PPS) : สำหรับรายได้แบบ PPS คือการได้ค่า Commission หลังจากที่ทำการปิดการขายได้ หรือ มีการซื้อสินค้าและบริการ โดยค่า Commission คิดเป็น เปอร์เซ็นต์ตามราคาของสินค้าและบริการที่เราขายได้ โดยจำนวนเปอร์เซ็นขึ้นอยู่กับการตกลงของผู้โปรโฒทและเจ้าของสินค้า
- Pay per Lead (PPL) : รายได้แบบ PPL คือรายได้ที่เกิดจากการเก็บ Lead ที่เป็นรูปแบบของการที่ลูกค้ากรอกข้อมูลของตนเองหรือมีการสมัครสมาชิก เป็นต้น
- Pay per Click (PPC) : รายได้แบบ PPC คือการที่เราได้ค่าตอบแทนจากการที่มีผู้คนเข้ามาคลิกโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มนั้นๆ ซึ่ง PPC ไม่กำหนดว่า ผู้คลิกจะซื้อสินค้าหรือไม่ รูปแบบนี้มักเป็นการคลิกแบนเนอร์ ในเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง
ทั้ง 3 รูปแบบ มีวิธีการโปรโมทที่แตกต่างกัน ดังนั้น ก่อนที่คุณจะเลือกทำ Affiliate รูปแบบใด คุณควรคำนึงถึงช่องทางของคุณด้วย ว่าเหมาะกับการทำ Affiliate Marketing โดยได้รายได้รูปแบบไหน
ตัวอย่างการทำ Affiliate Marketing
ตัวอย่างการทำ Affiliate Marketing ของแบรนด์ดังอย่าง Ebay ที่มีการจ่ายค่า Commission สำหรับผู้ที่มีการโปรโมทสินค้า และมีการซื้อขายสินค้าทันทีหรือภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งจะมีการจ่ายค่าคอมมิชชั่นภายใน 10 วันหลังจากวันที่มีการโปรโมท ส่วนเปอร์เซ็นของผลตอบแทนที่ผู้โปรโมทสินค้าได้ จะขึ้นอยู่กับ หมวดหมู่สินค้านั้นๆที่ขายได้ อยู่ที่ 1%-4% โดยจ่ายไม่เกิน 550 ดอลลาร์
คำถามที่เกี่ยวข้องในการทำ Affiliate Marketing
เริ่มต้นการทำ Affiliate Marketing อย่างไรดี
สำหรับการเริ่มต้นทำ Affiliate Marketing สำหรับผู้โปรโฒทสินค้า เราแนะนำให้คุณเริ่มจาก “สินค้าที่คุณใช้เองและคุณชอบ” โดยเริ่มจากการรีวิวสินค้าที่ใช้งานเป็นประจำ รู้ถึงข้อดี ข้อเสียของสินค้านั้นๆ และลงโปรโมทผ่านช่องทางของตนเอง เมื่อคุณมีความเชี่ยวชาญแล้ว คุณค่อยดูว่าคุณเหมาะกับการทำ Affiliate สินค้าประเภทใด และช่องทางไหน
สรุปหัวข้อ Affiliate Marketing
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการตลาด Affiliate Marketing เราขอแนะนำให้คุณศึกษาถึงรายละเอียดและขั้นตอนการทำการตลาดกลยุทธ์นี้ดีๆ แต่ละ Vendor มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง เราแนะนำให้คุณลองศึกษา case study ต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการเริ่มต้น และสิ่งที่สำคัญที่สุกคือการลงมือทำ เราหวังว่า บทความของเราจะมีประโยชน์สำหรับคุณ