ประเพณีลอยกระทง ฉบับอินเดีย..!!
ในประเทศอินเดีย มีประเพณีการจุดประทีปในช่วงปลายฝนต้นฤดูหนาว คือช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ตามปฎิทินสากลเช่นกัน โดยเรียกเทศกาลนี้ว่า “เทศกาลทีปาวลี” ซึ่งไม่ใช่การจุดประทีปเพื่อเซ่นสังเวยหรืออุทิศส่วนกุศลตามความเชื่อผีฟ้า-ผีบรรพบุรุษ หรือตามความเชื่อทางพุทธศาสนาแต่อย่างใด แต่เป็นการจุดประทีปเพื่อประดับประดาเมือง เฉลิมฉลองการนิวัติกลับนครอโยธยาของพระรามและนางสีดา หลังจากที่ต้องรอนแรมในป่าเป็นเวลา 14 ปี และอีกคติหนึ่งเพื่อบูชาพระลักษมี เทวีแห่งความร่ำรวย สมบูรณ์ และโชคลาภ
โดยการจุดประทีป จะจุดในลักษณะของการวางประดับบน “ฆาฏ” (घाट / Ghat) หรือท่าน้ำที่มีลักษณะเป็นขั้นบันไดริมฝั่งแม่น้ำคงคา บางคนจะจุดประทีปใส่ลงไปในกระทงเล็ก ๆ ที่ทำจากใบไม้แห้ง ซึ่งเรียกว่า โดนา (दोना / Dona) ประดับด้วยดอกกุหลาบและดาวเรืองอย่างเรียบง่ายลอยลงไปในแม่น้ำคงคา โดยถือเป็นเครื่องสักการะบูชาเทพเจ้า อย่างไรก็ตามการลอยกระทงในแม่น้ำคงคาในเทศกาลเทวทีปาวลีนี้ ก็มิใช่ประเพณีเฉพาะแต่อย่างใด เนื่องจากตลอดทั้งปีผู้ที่เดินทางมาแสวงบุญยังท่าน้ำคงคาโดยทั่วไป นิยมบูชาแม่น้ำคงคาด้วยวิธีลอยกระทงแบบนี้อยู่แล้ว
บรรยากาศของประเทศอินเดียในวันลอยกระทงจะมีความคึกคักมาก ที่นี่จะนิยมใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือใบบัว หรืออะไรก็ได้ที่สามารถมาทำตัวกระทงเป็นรูปชาม เพื่อที่จะใส่น้ำมันลงไปภายในได้ นอกจากนี้ยังนิยมวางเชือกฝ้ายไว้ในน้ำมัน เพิ่มสีสัความสวยงามด้วยการประดับกลีบดอกไม้ลงไป เพียงเท่านี้ก็ถือว่าเป็นอันเสร็จสำหรับการทำกระทงไปลอยแล้วค่ะสำหรับชาวอินเดีย
ภาพประกอบจากซีรี่ส์ : สีดารามศึกรักมหาลงกา
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/100039677396371/posts/pfbid024AdKGLzJKYvVxMWLf5jRTzJHL5bvMaq5Z88boxKrFyvxyeS2gPET2BkLEB3e73L2l/