🍂🐉นางพญาเหนือบัลลังก์มังกร "บูเช็กเทียน"
🐉🍂🐉
นางพญาเหนือบัลลังก์มังกร"บูเช็กเทียน" ตอนที่6 "6ปีที่ผาสุขและ7ปีที่ทุกข์ระทม"
ปี ค.ศ. 683 อู่เม่ยเหนียง อดีตนางสนมชั้นปลายแถวของพระเจ้าถังไท่จงจักรพรรดิองค์ก่อนและเป็นพระมเหสีเอกของพระเจ้าถังเกาจง กลายเป็นผู้ดูแลราชสำนักโดยปลดพระเจ้าจงจง (หลีเสี่ยน) ลงจากตำแหน่งแล้วแต่งตั้งให้พระเจ้าลุ่ยจง (หลี่ตั้ง) ขึ้นเป็นจักรพรรดิที่อยู่เพียงแค่ในตำหนักไม่อาจที่จะเข้าร่วมกิจการของรัฐ มีเพียงพระนางที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระสวามีที่จากไปในฐานะอู่ไทเฮา (พระมารดาขององค์จักรพรรดิ)แม้ว่าพระโอรสองค์สุดท้ายของพระพันปีบูเช็กเทียน เจ้าชายหลี่ตั้น จะทรงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิถังรุ่ยจงแล้วก็ตาม พระนางบูเช็กเทียนก็ยังเป็นผู้บริหารราชการที่แท้จริงทั้งในด้านสาระการทำงานและภาพลักษณ์ที่ปรากฏ พระนางมิได้ปรารถนาจะดำเนินตามขนบธรรมเนียมดั้งเดิมที่จะต้องบริหารงานผ่านหลังม่านโดยการกระซิบบอกกล่าวแก่ผู้ปกครองพระองค์จริงที่จะเป็นผู้มีพระราชดำรัสแจ้งแก่คณะขุนนางอย่างเป็นทางการต่อ จักรพรรดิรุ่งจงทรงมิเคยได้เสด็จประทับในเขตที่ประทับขององค์จักรพรรดิ หรือปรากฏกายในงานพระราชพิธีของราชสำนักแม้แต่น้อย แต่กลับถูกกักบริเวณอยู่เพียงที่ประทับฝ่ายในเท่านั้น ข้าราชการในราชสำนักมิเคยได้รับพระราชานุญาตให้เข้าเฝ้าจักรพรรดิรุ่ยจงเลยแม้แต่น้อย และพระองค์ก็ไม่ได้รับราชานุญาตจากพระนางบูเช็กเทียนให้ว่าราชการใด ๆ เนื่องจากพระนางเป็นผู้บริหารราชการต่าง ๆ ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น นอกจากนั้นด้วยคำแนะนำของพระราชนัดดาของพระนาง คือ อู่ เฉิงซื่อ พระนางจึงบูชาบรรพบุรุษโดยทรงยกย่องเกียรติภูมิของตระกูลอู๋ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพระนางให้สูงส่งมากขึ้น
ในปี ค.ศ. 686 พระพันปีบูเช็กเทียนได้เสนอที่จะคืนพระราชอำนาจในการบริหารราชการให้แก่สมเด็จพระจักรพรรดิรุ่ยจง แต่จักรพรรดิรุ่ยจงทรงทราบดีว่าพระนางมิได้มีพระราชประสงค์เช่นนั้นโดยแท้ พระองค์จึงทรงปฏิเสธพระพันปีบูเช็กเทียนไป พระนางจึงบริหารราชการแผ่นดินต่อไปแม้ว่าจะทรงอยู่ในฐานะพระพันปี
ในปี ค.ศ. 690 ขณะที่พระนางบูเช็กเทียนมีพระชนมายุได้ 67 พรรษา พระนางได้ทรงดำเนินการขั้นสุดท้ายในการขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินี หรือ หวงตี้ พร้อมทั้งทรงบังคับให้จักรพรรดิรุ่ยจงสละราชบัลลังก์ให้แก่พระนางและตั้งเป็นราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์โจว โดยพระนางบูเช็กเทียนทรงเป็นผู้ครองราชย์บัลลังก์เองในฐานะกษัตริย์ (หวงตี้ หรือ huangdi)
อู่ไทเฮาขึ้นครองราชสมบัติเป็นจักรพรรดินีอู่เจอเทียน (บูเช็กเทียน) พร้อมกับสถาปนาราชวงศ์ขึ้นใหม่จากเดิมคือราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์โจวในวันที่ 9 เดือน 9 นับเป็นการขึ้นสู่อำนาจสูงสุดอย่างเป็นทางการของจักรพรรดินีพระองค์แรกและองค์เดียวแห่งประวัติศาสตร์แดนมังกร ถือเป็นจุดเริ่มต้นการปกครองแผ่นดินโดยราชวงศ์โจวการขึ้นสู่อำนาจของพระนางในฐานะองค์จักรพรรดินีช่วงต้นของการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดินีบูเช็กเทียนนั้น
จากกฏมณเฑียรบาลจีนในสมัยนั้นไม่อนุญาตให้ผู้หญิงสืบทอดตำแหน่งในราชบัลลังก์ (คล้ายกับกฎหมายแซลิกในประเทศทางยุโรป) แต่พระนางบูเช็กเทียนนั้นทรงตั้งใจที่จะล้มล้างประเพณีนี้ นอกจากนั้นการใช้วิธีสืบสวนลับก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ระบบการรับข้าราชการพลเรือนในยุคของพระนางนั้นมีความบกพร่องและหละหลวมมากในการเลื่อนขั้นและปรับตำแหน่ง อย่างไรก็ตามพระนางบูเช็กเทียนนั้นถือว่ามีความสามารถในการประเมิณความสามารถของเหล่าขุนนางและข้าราชการได้เป็นอย่างดีเมื่อบุคคลเหล่านี้ได้เข้ามารับใช้พระองค์ ดังที่ซือหม่ากวง นักประวัติศาสตร์ในยุคราชวงศ์ซ่งได้ระบุไว้ในหนังสือจือจื้อทงเจี้ยน แปลตามตัวอักษรว่า "กระจกที่ครอบคลุมเพื่อช่วยร้ฐบาล ที่เขาเขียนไว้ โดยมีข้อความว่า
แม้ว่าพระพันปีหรือฮองไทเฮาจะทรงใช้ยศฐาบรรดาศักดิ์และตำแหน่งทางราชการเพื่อให้เหล่าเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ยอมเป็นพวกรับใช้ให้กับพระนาง แต่หากพระนางเห็นบุคคลใดไร้ความสามารถจะทรงสั่งปลดหรือแม้กระทั่งประหารชีวิตโดยทันที พระนางทรงรักษาไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมราชสำนักและอาณาจักรด้วยการให้รางวัลและบทลงโทษไปพร้อม ๆ กัน ทั้งยังใช้วิจารณญาณของพระนางเองในการตัดสินใจและกำหนดนโยบายต่าง ๆ ด้วยการสังเกตและตัดสินอย่างรอบคอบ ดังนั้นข้าราชการผู้มีความสามารถจึงยอมเป็นข้ารับใช้พระนางอย่างเต็มใจ
ขุนนางคนใกล้ชิดของพระนางบูเช็กเทียนถวายคัมภรีร์ต้าอวิ๋นจิง ให้แก่พระนางและกล่าวว่าพระนางบูเช็กเทียนทรงเป็นสังขจายจุตติมาประสูติ จึงควรที่จะได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ต่อมาฟูโหยวอี้ ขุนนางตำแหน่งซื่ออวี้สื่อ พาผู้คนจำนวน 900 คนมาเสนอเปลี่ยนราชวงศ์จากชื่อราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์โจว ในครั้งแรกพระนางบูเช็กเทียนทรงทำทีไม่อนุญาต แต่ก็ตอบแทนแก่ฟูโหยวอี้โดยการเลื่อนตำแหน่งให้แก่เขา หลังจากนั้นจึงมีเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการในราชสำนัก และประชาชนจำนวนกว่า 60,000 คน พากันมาขอให้พระนางทรงเปลี่ยนราชวงศ์อีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ เดือน พระนางบูเช็กเทียนจึงประกาศให้เปลี่ยนจากราชวงศ์ถังมาเป็นราชวงศ์โจว และจัดพระราชพิธีสถาปนาราชวงศ์ใหม่อย่างยิ่งใหญ่ ให้ตั้งเมืองลั่วหยางเป็นเมืองหลวง และเมืองฉางอันเป็นเมืองหลวงรอง รวมทั้งยกย่องบรรพบุรุษตระกูลอู่ (หรือบู ในสำเนียงฮกเกี้ยน) ของพระนางเป็นตระกูลแห่งจักรพรรดิ
เส้นทางการขึ้นสู่พระราชอำนาจและราชบัลลังก์ของพระนางบูเช็กเทียน หรือสมเด็จพระจักรพรรดินีบูเช็กเทียนเพื่อเป็นกษัตริย์หญิงพระองค์แรกและพระองค์เดียวแห่งแผ่นดินจีนนั้น ผ่านอุปสรรคขวากหนามและทั้งยังเต็มไปด้วยเล่ห์กลอุบาย การใส่ร้ายป้ายสี ลอบทำร้าย ลอบสังหารอยู่หลายครา ก่อนที่พระนางจะสามารถสถาปนาราชวงศ์โจวของพระองค์ได้ เรื่องราวประวัติศาสตร์นี้ หลินยู่ถัง นักประพันธ์ชื่อดังของจีน ได้ระบุไว้ในหนังสือ “ประวัติบูเช็กเทียน” ถึงสถิติการวางแผนการสังหารบุคคลที่ขัดขวางเส้นทางของพระนางว่า ทรงสังหารลูก หลาน และเชื้อพระวงศ์ที่ใกล้ชิดรวม 23 พระองค์ สังหารเจ้าชายในรางวงศ์ถังแซ่หลี่ 50 พระองค์ เสนาบดีและขุนผลฝีมือดีอีก 36 คน รวมทั้งหมด 109 คน
เมื่อการปกครองเริ่มต้นด้วยความหวั่นกลัวของเหล่าข้าราชการในหน่วยสืบสวนลับที่ทรงตั้งขึ้นในระยะเวลาหลายปี อย่างไรก็ตามพระนางก็ได้รับการยอมรับและยกย่องจากนักประวัติศาสตร์ที่ชื่นชอบพระองค์ว่าเป็นผู้ปกครองที่บริหารราชการด้วยพระปรีชาสามารถและเอาใจใส่ในการบริหารราชการ นอกจากนั้นพระนางยังทรงได้รับการยกย่องในเรื่องการจัดระบบการคัดเลือกข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถเพื่อเข้ารับราชการในราชสำนัก (การสอบขุนนาง) ในตลอดช่วงเวลาของราชวงศ์ถังและส่งผลในราชวงศ์ต่อมาอีกหลายราชวงศ์ ในแง่หนึ่งพระนางได้ทำนุบำรุงพุทธศาสนาและให้ความสำคัญมากกว่าลัทธิเต๋า ให้ความสำคัญในราชกิจโดยการคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถเข้ารับราชการมากกว่าการรับบุตรหลานในตระกูลขุนนางเก่า ส่งผลให้เศรษฐกิจการเมืองในรัชสมัยของพระนางนับว่าพัฒนาไปมาก แต่หากมองในทางประวัติศาสตร์ ด้วยสายตาของนักประวัติศาสตร์ยุคใหม่ ต่างยอมรับกันแล้วว่าพระนางคือยอดสตรีที่เก่งกาจและมีคุณสมบัติผู้นำที่ก้าวเข้ามากลายเป็นจักรพรรดินีคนแรกและคนเดียวใยประวัติศาสตร์สี่พันปีของจีน นางเป็นผู้ที่ช่วยพยุงบัลลังก์ที่อาจจะง่อนแง่นจากความอ่อนแอของฮ่องเต้วัยเยาว์ ทำให้บัลลังก์ยังสามารถสืบทอดอยู่ในตระกูลหลี่มาได้หลังจากที่นางสิ้นลง และคนเก่งๆในยุคนี้ที่แม้จะมีพื้นเพสามัญก็ได้รับการผลักดันให้ขึ้นมาทำงานเพื่อชาติ หากจะว่าไปแล้วนางคือผู้สืบทอดแนวคิดการปกครองอันยอดเยี่ยมต่อมาจากพระเจ้าถังไท่จงได่อย่างยอดเยี่ยม ในขณะที่เชื้อสายตระกูลหลี่ไม่มีผู้ใดที่ทำได้เท่าเทียมพระนาง ส่วนความเด็ดขาดต่างๆของพระนางก็ล้วนเกิดขึ้นเพราะความจำเป็นในการรักษาอำนาจเอาไว้ ซึ่งไม่มีอะไรรับประกันว่าหากผู้อื่นได้ไปแล้วจะทำได้ดีเท่าพระนาง (จุดนี้อาจจะนับว่าเป็นข้ออ้างเดียวกับการฆ่าพี่น้องชิงบัลลังก์ของหลี่ซื่อหมิน แต่กลับไม่มีใครตำหนิเขา เพราะหลังจากขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าถังไท่จงแล้ว บ้านเมืองราชวงศ์ถังก็ขยายแผ่ศาลไปไกลและรุ่งเรืองสุดขีดเกินกว่าราชวงศ์ใดๆ)
จักรพรรดินีบูเช็กเทียน ทรงเปิดโอกาสให้ผู้คนได้แสดงความคิดเห็นหรือพูดกันอย่างกว้างขวาง พร้อมกับรับฟังในความคิดเห็นเหล่านั้น ให้ความสำคัญในการพัฒนาการเกษตร ทั้งยังสืบสานนโยบายจากรัชกาลก่อนโดยการลดความเข้มงวดการเกณฑ์แรงงาน การเก็บภาษี รวมทั้งการดำเนินนโยบายผ่อนปรนให้กับราษฎรทำให้แผ่นดินในรัชสมัยของพระนางมีความก้าวหน้าและเข้มแข็งแต่เบื้องหลังความเจริญรุ่งเรืองก็มีมุมมืด เป็นที่รู้กันว่าพระนางใช้อำนาจกระทำการอันสยดสยอง ขุนนางที่ขึ้นชื่อเรื่องความโหมเหี้ยมเข่นฆ่าผู้คนที่ไม่มีความผิดเป็นจำนวนมาก
อย่างเช่น ในการจลาจลในปี ค.ศ. 684
ไม่นานหลังจากนั้น หลี่จิ่งเย่ หรือผู้มีตำแหน่งเป็นอินเจินอู่กง ผู้เป็นหลานชายของหลี่ซื่อจี ซึ่งเขาไม่พอใจที่ตนเองถูกเนรเทศจึงเริ่มก่อการกบฏขึ้นที่หยางโจว , หรือในปัจจุบัยคือเมืองหยางโจว ในมณฑลเจียงซู) ในช่วงแรกนั้นได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมากจากผู้คนในถิ่นนั้น แต่หลี่จิ่งเย่ดำเนินการไปอย่างเชื่องช้า และยังมิได้ใช้ประโยชน์จากมวลชนที่สนับสนุนการกบฏนี้นัก ในขณะเดียวกันนั้นเผยหยานได้กราบทุลเสนอให้พระนางบูเช็กเทียนคืนอำนาจในราชสำนักให้แก่จักรพรรดิรุ่ยจงเสีย โดยกล่าวว่าการกระทำเช่นนี้จะทำให้การก่อการกบฏนั้นยุติลงไปได้เอง ซึ่งสิ่งที่เผยหยานกล่าวมานั้นทำให้พระนางไม่พอพระทัยเป็นอันมาก พระนางจึงตั้งข้อกล่าวหาแก่เผยหยานว่ามีส่วนร่วมรู้เป็นกับหลี่จิ่งเย่และสั่งประหารชีวิตเผยหยานทันที นอกจากนั้นพระนางยังทรงสั่งปลด เนรเทศ และประหารชีวิตเจ้าหน้าที่ที่พยายามแก้ต่างให้แก่เผยหยานอีกด้วย ต่อจากนั้นพระนางได้ส่งหลี่เสี้ยวอี้ ไปโจมตีหลี่จิ่งเย่ ซึ่งในครั้งแรกนั้นหลี่เสี้ยวอี้ดำเนินการไม่สำเร็จ จึงให้ผู้ช่วยของเขาคือ เว่ยเหยียนจง เข้าโจมตีจนสำเร็จในที่สุด ส่วนหลี่จิ่งเย่นั้นถูกสังหารในระหว่างการต่อสู้นี้เอง
ช่วงปี 686-691 โจวซิ่งและไหลจวิ้นเฉิน ขุนนางในรัชสมัยของพระนาง ได้สร้างหลักฐานเท็จโดยการทรมานผู้คนที่ถูกจับให้ยอมรับในข้อหาความผิดที่ทั้งคู่สร้างขึ้น ซึ่งสร้างความไม่พอใจและโกรธแค้นให้กับประชาชนเป็นอย่างยิ่ง กระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่มีคนกล่าวหาว่าโจวซิ่งร่วมสังหารองค์รัชทายาท
พระนางจึงให้ไหลจวิ้นเฉินไปทำการสอบสวน ทำให้โจวซิ่นพบกับจุดจบที่เพื่อนขุนนางด้วยกันหยิบยื่นให้ ภายหลังเสียชีวิต ไหลจวิ้นเฉินทะเยอทะยานในอำนาจสูงขึ้น คิดวิธีกำจัดเชื้อพระวงศ์แม้แต่พระธิดาของพระนางโดยการใส่ร้ายป้ายสี อู่เฉิงซื่อ พระนัดดาของพระนางผู้ที่เคยร่วมมือกับขุนนางโฉดผู้นี้ รู้ทันแผ่นการจึงได้จับตัวไหลจวิ้นเฉิน
ด้วยข้อร้องเรียนจากขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ขอให้ประหารชีวิต ทำให้พระนางจำต้องรับสั่งให้ประหาร โดยในวันประหาร ศพของขุนนางโฉดถูกย่ำยีจนป่นปี้แทบไม่มีชิ้นดีจากประชาชนที่โกรธแค้น
การปกครองที่เด็ดขาดในการกำจัดพวกที่ตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อราชสำนัก แลกมาด้วยการนองเลือด แต่นำมาซึ่งความอยู่เย็นเป็นสุขของพสกนิกรและความเจริญรุ่งเรืองของแผ่นดินต้าโจว
อ้างอิงจาก: Cr
https://www.silpa-mag.com/history/article_28241
Cr
https://th.wikipedia.org/wiki/บูเช็กเทียน