นักวิทยาศาสตร์ค้นพบบางสิ่ง แผ่รังสี ใส่โลกทุกๆ พันปี เพียงแต่เราไม่รู้ว่ามันคืออะไร อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้
🧟นักวิทยาศาสตร์ค้นพบบางสิ่ง แผ่รังสี ใส่โลกทุกๆ พันปี เพียงแต่เราไม่รู้ว่ามันคืออะไร อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้
👉🏿นับตั้งแต่ในอดีต นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อกันว่า "เปลวสุริยะ" หรือ "Solar flare" เป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการที่ "ระดับรังสีของโลก" ถีบตัวขึ้นในบางช่วงยุค
แต่ล่าสุดนี้เองจากงานวิจัยใหม่ของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ นักวิทยาศาสตร์กลับพบว่า การเพิ่มขึ้นของระดับรังสีของโลกที่กล่าวมานั้น จริงแล้วก็มีอยู่หลายครั้งที่อาจไม่ได้เกิดจาก Solar flare อย่างที่เราเคยคิด
👉🏿นั่นหมายความว่าที่จริงแล้ว มันยังอาจมี "บางสิ่ง" ที่แผ่รังสีใส่โลกทุกๆ พันปี เพียงแต่เราไม่รู้ว่ามันคืออะไรก็ได้ และเรื่องนี้ก็กำลังทำให้เหล่านักวิทยาศาสตร์กังวลกันพอสมควรเลย
💫"มันมีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์สุดโต่งแบบหนึ่งที่เราไม่เข้าใจอยู่ข้างนอกนั่น และมันก็อาจเป็นอันตรายต่อเราได้ด้วย" คุณ Benjamin Pope นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์หนึ่งในทีมวิจัยระบุ
👉🏿โดยนักวิทยาศาสตร์ทราบถึงความเป็นไปได้แปลกๆ นี้จากการตรวจสอบวงแหวนของต้นไม้เพื่อหาระดับการแผ่รังสีบนโลก ก่อนที่จะนำมันไปเทียบกับการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์
ซึ่งมันทำให้พวกเขา พบว่าในช่วง 10,000 ปีที่ผ่านมา เราจะมีการเพิ่มขึ้นของการแผ่รังสีบนโลก 6 ครั้ง ซึ่งไม่ตรงกับการแผ่รังสีใดๆ (ซึ่งเรียกว่า "Miyake events")
👥แน่นอนว่าในทางวิทยาศาสตร์ทีมวิจัยก็เชื่อว่าเหตุการณ์เช่นนี้คงไม่ได้จะเกิดจากสัตว์ประหลาดในอวกาศ แต่เป็นเพราะดาวดวงไหนสักดวงที่อยู่ห่างออกไปแผ่รังสีมายังโลก
🌟หรือไม่ก็ดวงอาทิตย์ของเราอาจมีการแผ่รังสีแบบติดๆ กัน จนตรวจจับภายหลังได้ยาก คล้ายอาฟเตอร์ช็อกของแผ่นดินไหวก็ได้
ไม่ว่าจะเป็นทางไหนเหตุการณ์เช่นนี้ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้า และหากการวิเคราะห์ของทีมวิจัยนี้ถูกต้อง มันก็จะมีโอกาสราวๆ 1% ได้ ที่มันจะเกิดขึ้นภายใน 10 ปีข้างหน้านี้เท่านั้นด้วย
สาระข้อมูลเพิ่มเติม
🔥เปลวสุริยะ (อังกฤษ: Solar flare) คือการระเบิดใหญ่ในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ที่ปลดปล่อยพลังงานออกมาถึง 6 × 1025 จูล (ประมาณ 1 ใน 6 ของพลังงานที่ปลดปล่อยจากดวงอาทิตย์ทุกวินาที) คำนี้สามารถใช้เรียกปรากฏการณ์ลักษณะเดียวกันที่เกิดขึ้นบนดาวฤกษ์อื่นๆ โดยจะเรียกว่า เปลวดาวฤกษ์ (stellar flare)
ภาพต่อเนื่อง 2 ภาพของปรากฏการณ์เปลวสุริยะที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ โดยตัดแผ่นจานดวงอาทิตย์ออกไปจากภาพเพื่อให้เห็นเปลวได้ชัดเจนขึ้น
เปลวสุริยะส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ทั้งหมด (โฟโตสเฟียร์, โครโมสเฟียร์, และโคโรนา) ทำให้พลาสมามีความร้อนถึงหลายสิบล้านเคลวิน และเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน โปรตอน และไอออนหนักจนเข้าใกล้ความเร็วแสง
เกิดการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านข้ามสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทุกช่วงความยาวคลื่น นับตั้งแต่คลื่นวิทยุไปจนถึงรังสีแกมมา เปลวสุริยะส่วนมากจะเกิดขึ้นในย่านแอ็กทีฟเช่น บริเวณจุดมืดดวงอาทิตย์ ซึ่งมีสนามแม่เหล็กกำลังแรง รังสีเอ็กซ์และการแผ่รังสีอุลตราไวโอเล็ตที่แผ่ออกมาโดยเปลวสุริยะสามารถส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศของโลก และทำลายการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุช่วงยาว การปะทะของคลื่นโดยตรงที่ความยาวคลื่นขนาดเดซิเมตรอาจรบกวนการทำงานของเรดาร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ทำงานในช่วงความถี่ดังกล่าว
อ้างอิงจาก: abc news/วิกิพีเดียSolar flare และ YouTube