ฟิลิปปินส์ฮือฮาพบปลาประหลาด ปลาฉลามหายาก ผู้เชี่ยวชาญชี้ปลาหายากไม่เจอมา 40 ปีแล้ว
🦈ฟิลิปปินส์ฮือฮาพบปลาประหลาด ปลาฉลามหายาก ผู้เชี่ยวชาญชี้ปลาหายากไม่เจอมา 40 ปีแล้ว
🦈ฟิลิปปินส์ฮือฮาพบปลาประหลาด
🙍♂️👉🏿🦈ผู้เชี่ยวชาญชี้ปลาหายากไม่เจอมา 40 ปีแล้ว
ชาวฟิลิปปินส์ได้แตกตื่นกันยกใหญ่หลังจากที่พบปลารูปร่างหลาดเกยตื้นที่ชายหาดในประเทศของพวกเขา
🕔ภายหลังเมื่อทราบพบว่าเป็นปลาน้ำลึกที่หาพบได้ยากและเคยปรากฏตัวสู่สายตาชาวโลกครั้งล่าสุดคือเมื่อ 40 ปีก่อน จนกระทั่งพวกเขามาพบอีกครั้ง
ปลาตัวดังกล่าวมีความยาว 4.5 เมตรถูกพบที่ชายหาดในพื้นที่ระหว่างจังหวัดอัลเบย์กับมาสบาเตเมื่อสัปดาห์ก่อน
🙍♂️นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่ามันคือปลา Megamouth Shark หรือถ้าแปลเป็นไทยก็ ปลาฉลามที่มีปากขนาดใหญ่ยักษ์ และถึงหน้าตามันจะน่ากลัวแต่ในความเป็นจริงแล้วมันกินแค่เพียงพวกแพลงก์ตอน กุ้งตัวเล็กๆเท่านั้น มีขนาดตัวโตเต็มที่ 5 เมตร และมีอายุประมาณ 100 ปี
🦈สาระข้อมูลเพิ่มเติมปลาฉลามเมกาเมาท์ (อังกฤษ: Megamouth shark; ชื่อวิทยาศาสตร์: Megachasma pelagios) เป็นปลาฉลามน้ำลึกขนาดใหญ่ที่พบได้ยากมาก หลังจากพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1976
จากการติดกับสมอของเรือรบ AFB 14 ของกองทัพเรือสหรัฐ เมื่อกว้านขึ้นมา พบเป็นซากปลาฉลามขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครรู้จักเหมือนสัตว์ประหลาดขนาดความยาวประมาณ 4.5 เมตร น้ำหนักราว 3-4 ตัน
👉🏿มีจุดเด่น คือ ปากที่กว้างใหญ่มากและฟันซี่แหลม ๆ เหมือนเข็มอยู่ทั้งหมด 7 แถว ซึ่งมีความยาวไม่เกิน 5 มิลลิเมตร นักวิทยาศาสตร์เมื่อได้ศึกษาแล้วพบว่าเป็นปลาชนิดใหม่ และมีจุดที่แตกต่างไปจากปลาฉลามทั่วไป จึงจัดให้อยู่ในสกุล Megachasma และวงศ์ Megachasmidae ซึ่งยังมีเพียงชนิดนี้ชนิดเดียวเท่านั้น
☑️ข้อมูลเบื้องต้น ปลาฉลามเมกาเมาท์, สถานะการอนุรักษ์ ...
👉🏿ปัจจุบัน เป็นปลาที่ยังพบได้น้อย โดยมีรายงานการพบเห็นและเก็บตัวอย่าง 39 ครั้ง และมีการบันทึกภาพไว้ได้ 3 ครั้ง (ตามข้อมูลเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007) โดย 1 ใน 3 ของการพบตัวอย่างปรากฏในเขตน่านน้ำญี่ปุ่น
👉🏿🦈ปลาฉลามชนิดนี้กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารเหมือนปลาฉลามบาสกิ้น และปลาฉลามวาฬ โดยมีปากกว้างใหญ่เพื่อกลืนเอาน้ำเข้าไปมาก ๆ แล้วกรองน้ำออกให้เหลือแต่แพลงก์ตอนและแมงกะพรุน ส่วนหัวขนาดใหญ่และริมฝีปากเป็นผิวหนังเหนียวจัดเป็นลักษณะเด่นของปลาฉลามชนิดนี้
🙍♂️นอกจากนี้แล้ว จากการสังเกตของนักวิทยาศาสตร์ ดร.ลีห์ตัน อาร์. เทย์เลอร์ ซึ่งเป็นผู้ตรวจซากของปลาฉลามเมกาเมาท์ครั้งแรกที่ถูกพบในปี ค.ศ. 1976
👉🏿🦈พบว่าในเพดานปากกรามบนจะมีพื้นผิวสีเงินแวววาวและจะสะท้อนแสงให้สว่างได้มากยิ่งขึ้นเมื่อต้องกับแสง สันนิษฐานว่ามีไว้สำหรับเรืองแสงในน้ำลึกเพื่อล่อเหยื่อ ซึ่งได้แก่ แพลงก์ตอน และเคยชนิดต่าง ๆ ให้เข้ามาเล่นกับแสงและอ้าปากกินเป็นอาหาร ในเวลากลางคืนที่เมื่อเคยขึ้นมาใกล้ผิวน้ำในระดับความลึกไม่เกิน 20 เมตร เพื่อกินอาหาร ปลาฉลามเมกาเมาท์ก็จะว่ายตามขึ้นมาเพื่อกินเคยด้วย
Megamouth Shark...คลิปประกอบบทความ
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย blogger และ YouTube