ระยะเวลาหลังการฉีดไขมันที่ต้องอยู่กับอาการบวม
ถือเป็นปัจจัยแรก ๆ ที่ การทำศัลยกรรมทุกสิ่งจะพบเรื่องของอาการบวม ที่หลายคนก็กังวลไม่น้อย ตั้งคำถาม จนบ้างก็จิตตกกับภาวะสภาพที่บวมใหญ่ บวมนาน เป็นภาพที่มองแล้วรู้สึกอึดอัดเมื่อไหร่จะหาย บวมแบบนี้ปกติหรือผิดปกติ เรียกได้ว่าร้อนรนกับภาวะอาการบวมนี้ วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบดูว่าระยะเวลาหลังการฉีดไขมันที่ต้องอยู่กับอาการบวม
การฉีดไขมันบวมกี่วันกันแน่
ขออธิบายว่าการบวมของแต่ละคนไม่เท่ากัน โดยค่าเฉลี่ยปกติแล้วบวมที่สุด คือ วันที่ได้ทำการฉีดไขมันหรือวันที่ทำหัตถการ ซึ่งจะเป็นการบวมที่มากที่สุดแล้ว โดยธรรมชาติของไขมันนั้นจะมีการหายไปอาจจะเติมไป 100% แต่ติดแค่ 70% เพราะฉะนั้นจะมีการเติมเผื่อไว้วันแรกจะบวมมากทั้งในเรื่องของยาชาการระบมจากเข็มรวมถึงการใส่ไขมันที่เยอะเข้าไปด้วย
วันที่ 0-3 จะบวมมากขึ้น
ที่สุดเลยคือปกติจะใช้ระยะเวลาประมาณ 72 ชั่วโมง เนื่องจากว่าบวมจากตัวไขมันและการอักเสบด้วยและบวมจากการระบมต่าง ๆ
ต่อมาวันที่ 3 จะบวมมากขึ้น(แต่ไม่ถึงกับว่าดูไม่ได้) ทั้งนี้ความบวมขึ้นอยู่กับคนไข้ที่ต้องการปริมาณไขมันด้วย
บางคนต้องการที่จะให้หน้ากลมแบบสาวเกาหลีตรงนี้จึงจำเป็นจะต้องเติมไขมันไปค่อนข้างเยอะเลย ซึ่งความบวมก็อาจจะมีมากหน่อย ส่วนบางคนที่ต้องการแบบธรรมชาติถ้าเติมแบบธรรมชาติแน่นอนว่าวันที่ 3 พักฟื้นนิดหน่อยก็สามารถไปทำงานได้เลย พอผ่านพ้นวันที่ 3 ไปแล้วไม่น่าจะเริ่มยุบบวมขึ้นเรื่อยๆ
จนถึงวันที่ 7
แต่วันที่ 7 นั้นก็ถือว่ายังคงมีอัตราการบวมอยู่โดยเฉพาะตำแหน่งใต้ตาจะเป็นตำแหน่ง 1 ที่ยุบบวมช้ากว่าตำแหน่งอื่น หลังจาก 8 -14 วันใบหน้าจะเริ่มยุบลงอย่างเห็นได้ชัดแต่บริเวณใต้ตาเท่านั้นที่ยังคงมีความบวมอยู่นิดหน่อย
หลังจาก 2 สัปดาห์- 1 เดือน
ตรงนี้จะเริ่มเข้ารูปอย่างเห็นได้ชัดแล้วแต่โดยค่าเฉลี่ยปกติบางคนจะบวมแล้วยุบลงช้าอาจจะอยู่ที่ประมาณ 3-4 สัปดาห์เลยก็ได้ แต่ค่าเฉลี่ยในการเข้ารูปของทุกคนจะอยู่ที่ 1 เดือนเท่ากันหลังจากนั้นก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติไม่มีอาการใด ๆแล้ว
อาหารที่มีผลต่อการบวม หรือแก๊สเยอะ
เป็นภาวะที่พบเจอได้บ่อยที่สุดที่เป็นภาวะบวมน้ำจากการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงเกินไปไม่ว่าจะเป็น
โซเดียม เกลือ อาหารจังค์ฟู้ดที่ให้รสชาติเค็มมีผลต่ออาการบวมน้ำ ถั่ว ชะอม สะตอ ฯลฯ
อาหารที่สามารถช่วยลดอาการบวมได้
ดื่มน้ำระหว่างวันให้มาก ๆ ผักผลไม้ที่เป็นตระกูลให้สารน้ำเยอะ เช่น แตงกวาที่มีสารโพลีฟีนอลที่จะไปช่วยขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้
ฝักผักอุ้มน้ำฉ่ำน้ำ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และช่วยลดอาการบวมน้ำ
คำถาม : อาการบวมจัดเป็นปัญหาหลักหรือไม่? แก้ไขอาการบวมที่เร่งด่วนได้อย่างไร?
คำตอบ : ภาวะหรืออาการบวมจากการฉีดไขมันไม่ใช่ปัญหาหลัก แต่เป็นผลข้างเคียงจากการฉีดไขมันมากกว่า รวมถึงบาดแผลจากเข็มฉีด แต่ผลข้างเคียงนี้ไม่ได้แก้ไขยากหรือต้องแก้ไขอะไรมากมาย เพียงแค่ต้องรอระยะเวลาที่เหมาะสม ร่วมกับการดูแลร่างกายร่วมด้วย ความเสี่ยงต่อการได้รับผลลัพธ์ที่ช้ามีผล
โดยเฉพาะ ความเครียด ความวิตกกังวล มีผลที่อาจไปทำให้อาการบวมหายนาน ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย บางคนไม่ได้กังวลแต่เน้นทำตามแพทย์แนะนำก็ไม่มีผล อาการบวมหรือความเจ็บปวดก็แทบไม่มี
คำถาม : หลังจากผ่านพ้นช่วงอาการบวมแล้วจะเข้าสู่ภาวะการหาย หรือเห็นผลลัพธ์เลยหรือไม่?
คำตอบ : ผลลัพธ์จะเริ่มเห็นชัดขึ้นตั้งแต่รอบสัปดาห์ไปจนถึงหลักเดือน เข้าที่จริง ๆ หรือถาวรเลย คือ 3 เดือน
คำถาม: อาการบวมกับการฉีดไขมันแล้วเป็นก้อน ต่างกันอย่างไร?
คำตอบ: อาการบวมเป็นผลข้างเคียงต่อการฉีดไขมันโดนเป็นปกติที่จะพบเจอ ส่วนการฉีดไขมันแล้วเป็นก้อน
อาจเกิดจากการที่แพทย์ใช้ไขมันที่เยอะเกินไป มีเซลล์บางส่วนที่ตายจากการที่เลือดเข้ามาไหลเวียนไม่ทัน เลยอาจทำให้มองเห็นว่าตำแหน่งหรือบริเวณที่ฉีดบวมที่เกิดจากการเป็นก้อน ข้อเสีย แก้ไขได้ยาก เพราะไม่มีตัวช่วยสลายออก
อย่างไรแล้วการกังวลใจของการทำศัลยกรรมก็ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับมือใหม่ทุก ๆ คน รวมถึงผู้ที่เคยผ่านการทำศัลยกรรมมาแล้วก็มี การจะบวมมากบวมน้อยต้องอาศัยร่างกายคนเราที่แตกต่างกัน ความเซ็นซิทีฟของผิวหนังที่อาจมีความบอบบางหรือความแข็งแรงด้วย ทั้งนี้ก็ยังสำคัญตรงที่การดูแลหลังออกจากสถานพยาบาล คนไข้รับประทานอาหารอย่างไร ถูกต้องตามที่ควรจะเป็นไหม รับประทานยาตามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไหม ซึ่งบางคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องของการบวมก็อาจมาจากการเข้าใจและยอมรับได้ว่าระบบร่างกายต้องเป็นไปแบบนี้ แต่หากกรณีที่ว่าบวมเกินไป บวมนาน แม้ทำตามทุกอย่างตามแพทย์แนะนำแล้ว อาการบวมไม่หายไปหรือหายช้ากว่าที่ควรแนะนำว่ากลับไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการรักษาให้ก็จะได้รับคำตอบและหาวิธีแก้ไขปัญหาได้นั่นเอง
Reference
- Fat Injection: A Systematic Review of Injection Volumes by Facial Subunit
Shirley Shue et al. Aesthetic Plast Surg. 2018 Oct.
- Asken S: Facial liposuction and microlipoinjection. J Dermatol Surg Oncol14:3, 1988
ญหาของการทำศัลยกรรมแน่นอนว่า จะต้องพบเจอแน่นอนคือเทคนิกของการผ่าตัดการเย็บแผลของผู้เชี่ยวชาญ และที่ชวนน่ากังวลของหลาย ๆ คนก็คือ การเกิดแผลหลังทำ โดยเฉพาะการทำงาน 2 ชั้น ที่ต้องคำนึงถึงหลายปัจจัยทั้งเทคนิกของแพทย์ การรับประทานอาหารของคนไข้เอง มีผลกระทบอยู่แล้ว
วันนี้เราจึงขอนำเสนอด้วยเรื่องแผลเป็นนูนหลังทำตาสองชั้นมาฝากกัน
แผลเป็นนูนหลังทําตาสองชั้น ทำตาสองชั้นในห้องแผลเป็นนูนต้องใช้ยาลดรอยแผลเป็น ต้องนวดแผล
ทำตาสองชั้นแล้วเป็นคีลอยด์ต้องฉีดยาลดคีรอยด์หรือไม่
หนึ่งในปัญหาของหลายๆคนที่กลัวและกังวลว่าจะเกิดขึ้นหลังทำตา 2 ชั้นก็คือเรื่องแผลเป็นที่เปลือกตานั่นเอง ซึ่งไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นอยู่แล้ว ให้เป็นที่ดูไม่สวยงามที่พบได้บ่อยๆก็มีทั้งแผลเป็นนูน แผลกว้าง แผลเป็นที่ลึกลงไปเป็นร่อง
และแผลเป็นนูนนั้นได้สร้างความกังวลใจให้กับคุณได้มากที่สุดแต่สิ่งที่เราเพลงได้ยินมากับเรื่องยาลดรอยแผลเป็น การนวดแผนทำเลเซอร์หรือฉีดยาคีลอยด์ส่วนตัวที่เคยได้รับการผ่าตัดมาเราไม่เคยได้ใช้วิธีดังกล่าวเลยและเมื่อฉันตาเข้าที่แล้วก็ไม่เคยพบปัญหาแผลเป็นนูนเลยในกรณีที่ใครได้แนะนำวิธีป้องกันหรือช่วยลดแผลเป็นนูนถ้าหากถามว่าสุดท้ายจะสามารถใช้ได้จริงไหม?
ซึ่งเราเองก็ไม่ทราบเลยเพราะไม่เคยทำหรือป้องกันด้วยวิธีนี้และเราก็ไม่เคยพบปัญหาแผลเป็นนูนแบบนี้เลย
คำถาม: คนที่ทำตาสองชั้นแล้วเป็นแผลนูนเกิดจากอะไร?
คำตอบ: เราต้องเข้าใจในกระบวนการหายของแผลและหลักการในการเย็บแผลให้สวยก่อน
ซึ่งกระบวนการหายของแผลจะเริ่มจากการอักเสบจากนั้นก็มีการสร้างเซลล์ คอลลาเจนที่จะมาสะสมที่แผลและจบลงด้วยการจัดเรียงตัวของคอลลาเจนให้เป็นระบบระเบียบกระบวนการทั้งหมดนี้ใช้เวลาราวๆ 3 เดือน
คำถาม: ในช่วงที่แผลเป็นอาจจะนูนขึ้นมาได้ ตรงนี้เราควรจะทำอย่างไร?
คำตอบ: ไม่ต้องทำอะไรเลย แค่รอเพราะเมื่อเข้าสู่กระบวนการสุดท้ายคอลลาเจนย่อมมีการเรียงตัวให้เป็นระเบียบแผลก็จะหายนูนไปเอง
คำถาม: แล้วถ้าเราแล้วแผลเป็นไม่หายงอนซักทีมันเป็นเพราะอะไรกัน?
คำตอบ:เป็นตีรอยหรือเปล่า คำว่าคีรอยเป็นสิ่งที่เข้าใจผิดกันมากที่สุดในตอนนี้
แผลเป็นนูนไม่ได้เป็นคีลอยด์ทุกแผลแต่โอกาสการพบเจอหรือการรักษาแผลคีลอยด์ก็มีค่อนข้างมากแต่แผลที่เราจะไม่เกิดขึ้นกับหนังตา
ขอย้ำว่าที่หนังตาจะไม่เป็นคีลอยด์แน่นอน
คำถาม: แล้วถ้าแผลเป็นนูนที่หนังตาไม่หายหลังรอแล้วไม่หายสักทีเกิดจากอะไร?
คำตอบ: เกิดจากเทคนิคการผ่าตัดไม่ดีเย็บแผลไม่ดี
ขั้นตอนการเย็บแผล
หลักการของการเย็บแผลให้สวย คือ เย็บแล้วมีแรงตึงผิวน้อยที่สุดและเย็บให้ขอบแผลชนสนิทกันพอดีไม่เคยกันหรือระดับของแผลไม่เท่ากันการเย็บให้มีแรงตึงที่แผลน้อยที่สุดต้องเริ่มตั้งแต่การยึดชั้นตาหัวใจของการทำตาสองชั้นไม่ว่าจะโดยวิธีกรีดยางหรือไม่กีดจะเป็นการเรียนแบบธรรมชาติของการเกิดชั้นตาด้วยการเย็บยึดชั้นตา
เนื่องจากหนังปลามีการขยับอยู่เกือบตลอดเวลาถ้ายึดยึดชั้นตากับโครงการที่ไม่แข็งแรงมากพอเมื่อมีการพับของหนังตาเช่น การขยับผิวตา การกระพริบตา แรงตึงก็จะถูกถ่ายเทไปที่ผิวหนังทำให้แผลเป็นไม่สวยได้
ดังนั้นการเย็บฉันตาที่ดีก็คือต้องมีการยึดเข้ากับโครงสร้างที่แข็งแรงนั่นก็คือกระดูกอ่อนของเปลือกตา
การลดแรงตึงอีกวิธีที่ต้องทำร่วมไปกับการเย็บยึดชั้นตานั่นก็คือการลงแผนแอลชั้นตาที่ไม่ฝืนธรรมชาติ อาจเข้าใจยากหน่อยแต่อธิบายง่ายๆก็คือการลงแผลที่พยายามยกให้หางตากระดกขึ้นหรือการฝืนแนวชั้นตาบริเวณหัวตาในคนที่มีหนังปิดหัวตา
การทําตาสองชั้นไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว ถ้าเข้าใจเรื่องกระบวนการหายของแผลคุณก็ไม่ต้องเสียเวลานั่งทายาลดรอยแผลเป็น นวดแผล หรือเสียเงินทำเลเซอร์อะไร แค่รอเวลาที่เหมาะสมและสิ่งที่สำคัญมากๆเลยก็คือเทคนิคการผ่าตัดซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่การวาดแนวชั้นตาที่จะทำด้วยความเข้าใจในโครงสร้างที่ลึกซึ้งมากพอ
ข้อมูลนี้เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาข้อมูลเรื่องการทำศัลยกรรมไม่ว่าจะเป็นเสริมจมูกทำตาสองชั้นยกคิ้ว ดึงหน้า ยุบโหนกแก้ม ตัดกราม
เรื่องของ”แผลเป็นและไข่” ควรรับประทานหรือไม่?
หลากคนต่างให้ความสำคัญที่ว่า การกินไข่หลังศัลยกรรมจะทำให้แผลที่เกิดขึ้นเป็นแผลนูน จนในที่สุดทางการแพทย์ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าตัวช่วยลดบวม หรือยาที่รับประทานบางชนิดมีส่วนผสมของไข่ขาวเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย ยาทาแผลเป็นที่ประกอบไปด้วยไข่ขาวทำให้แผลหายจริง หายเร็วและแผลสวยขึ้น
ฉะนั้นแล้วเรื่องแผลเป็นนูนหลังทำศัลยกรรมต้องอาศัยเทคนิกการชำนาญของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และการดูแลหลังรอพักฟื้นที่ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร หรือการทำตามคำสั่งของแพทย์ อย่างเคร่งครัดหรือไม่ หากบอกความนี้เป็นประโยชน์อย่าลืมแชร์ต่อเพื่อเป็นความรู้ให้คนรอบข้างของคุณด้วยนะ
Reference
1. Joshi AS, Janjanin S, Tanna N, Geist C, Lindsey WH. Does suture material and technique really matter? Lessons learned from 800 consecutive blepharoplasties [published correction appears in Laryngoscope. 2007 Aug;117(8):1510. Lindsey, Charlie [corrected to Lindsey, William H]]. Laryngoscope.
2. Moon KC, Yoon ES, Lee JM. Modified double-eyelid blepharoplasty using the single-knot continuous buried non-incisional technique. Arch Plast Surg 2013;40:409-13.
รูปภาพ: Pantip